@article{กาญจนวิสุทธิ์_2021, title={แนวทางการเสริมสร้างจิตสาธารณะของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์}, volume={47}, url={https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/248959}, abstractNote={<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับจิตสาธารณะ ของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับจิตสาธารณะ ของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำแนกตามเพศ ชั้นปี และกลุ่มสาขา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างจิตสาธารณะของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตปริญญาตรีจำนวน 417 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นเป็นสัดส่วน และกลุ่มเป้าหมายในการสนทนากลุ่มจำนวน 6 คน เครื่องมือคือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบบันทึก เอกสารและข้อคำถามในการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที <br>การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่านิสิตมีความคิดเห็นต่อจิตสาธารณะโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก นิสิตที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อจิตสาธารณะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ<br>ทางสถิติที่ระดับ 0.05 นิสิตที่เรียนอยู่ชั้นปี และกลุ่มสาขาต่างกันมีความคิดเห็นต่อจิตสาธารณะแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับแนวทางในการเสริมสร้างจิตสาธารณะนั้น ฝ่ายผู้บริหารควรกำหนดนโยบายการสร้างความเข็มแข็งจากภายในสู่ภายนอก อาทิ จัดตั้งศูนย์กิจกรรมและสร้างเครือข่ายทางสังคม ส่งเสริมการจัดกิจกรรมจิตสาธารณะ<br>ที่บูรณาการในรายวิชาต่าง รวมถึงการส่งเสริมการใช้ถุงผ้าเพื่อลดปริมาณขยะ ด้านอาจารย์ควรสอนนิสิตเกี่ยวกับแนวคิดและมุมมองต่อโลกและสังคม สร้างแรงจูงใจ ฝึกอบรมผ่านการเล่าประสบการณ์ และการสัมภาษณ์บุคคลที่เป็นแบบอย่าง ฝ่ายนิสิตควรมีโอกาสเรียนรู้ผ่านการกระทำ การระดมความคิดเห็นและเสนอแนะกิจกรรมจิตสาธารณะ สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น และปฏิบัติตามกฎระเบียบในสังคม และฝ่ายผู้ปกครองควรเลี้ยงดูลูกวัยรุ่นด้วยความรัก สอนบุตรหลานให้ใช้เหตุผล มีความรับผิดชอบ มุ่งอนาคต และร่วมกันเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายครอบครัว</p>}, number={1}, journal={วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์}, author={กาญจนวิสุทธิ์ จินตนา}, year={2021}, month={มิ.ย.}, pages={99–118} }