TY - JOUR AU - รัตนา, ภักดีกุล PY - 2022/06/21 Y2 - 2024/03/28 TI - การขัดเกลาทางสังคมของคุณลักษณะผู้หญิงในบริบทของล้านนา JF - วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ JA - JSSH VL - 48 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/251429 SP - 67-84 AB - <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงกระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของผู้หญิงภายใต้บริบทของอาณาจักรล้านนา ทั้งนี้การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อเปิดมิติทางความคิดและโลกทัศน์เกี่ยวกับการศึกษาผู้หญิงล้านนา การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเอกสาร โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือทบทวนเอกสาร ตำราวิชาการ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนำเสนอข้อมูลเชิงวิเคราะห์ในรูปแบบพรรณานา ผลการวิจัยพบว่า สังคมล้านนาในบริบทยุคจารีตมีผลอย่างสำคัญต่อการสร้างการขัดเกลาทางสังคมซึ่งเป็นกระบวนการทางสังคมที่ผู้คนเรียนรู้และซึมซับแบบแผนและรับเอาค่านิยมทางสังคมมาหล่อหลอมเป็นบุคลิกลักษณะของตนและเรียนรู้ในการปฏิบัติตนตามบทบาทและภาระหน้าที่ทางสังคม โดยคุณลักษณะของผู้หญิงล้านนาที่ถูกขัดเกลาทางสังคมจากการสั่งสอน บ่มเพาะและปลูกฝังตั้งแต่เล็กจนโตผ่านตัวแทนทางสังคมคือ สถาบันครอบครัว สถาบันทางสังคม เช่น ศาสนา จารีตประเพณี รวมถึงรูปแบบวิถีการดำเนินชีวิตที่สัมพันธ์กับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในช่วงเวลานั้น ๆ นำไปสู่การแสดงบทบาท หน้าที่ และพฤติกรรมทางสังคมของผู้หญิงล้านนาในทุกช่วงวัย คือ คุณลักษณะพรหมของบุตรในฐานะมารดา คุณลักษณะซื่อสัตย์ เคารพและเชื่อฟังสามี และแม่เจ้าเรือนในฐานะภรรยา และคุณลักษณะขยันหมั่นเพียรและรักนวลสงวนตัวในฐานะหญิงสาว</p> ER -