TY - JOUR AU - ซื่อตรง, ลภัสรดา AU - ธนัทรัชต์, กฤษิกร AU - ประกิระสา, กิตติชัย AU - มีสีห์ไชย, ปภันนันท์ AU - ปริญานุภาพ, ศุภรา AU - รักสัตย์, ดารวันต์ AU - ลี้ศัตรูพ่าย, ชัญญา PY - 2022/06/21 Y2 - 2024/03/29 TI - ความสัมพันธ์ระหว่างความเห็นอกเห็นใจลูก สัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่กับลูก ความคาดหวังในการเรียน และแรงจูงใจใฝ่อำนาจ กับเจตคติต่อการให้อิสระลูกในการเลือกเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาของพ่อแม่ JF - วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ JA - JSSH VL - 48 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/252399 SP - 85-100 AB - <p>งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาว่า ตัวแปรความเห็นอกเห็นใจลูก สัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่กับลูก ความคาดหวังในการเรียน และแรงจูงใจใฝ่อำนาจ มีอิทธิพลในการทำนายต่อเจตคติต่อการให้อิสระลูกในการเลือกเรียนระดับอุดมศึกษาของพ่อแม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ พ่อแม่ที่มีลูกกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2563 และลูกมีอายุตั้งแต่ 15-19 ปี จำนวน 154 คน ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ใช้การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเป็นขั้น (Stepwise)</p><p>ผลการวิจัย พบว่า ความเห็นอกเห็นใจลูก แรงจูงใจใฝ่อำนาจ  สัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่กับลูก และความคาดหวังในการเรียน มีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการให้อิสระลูกในการเลือกเรียนระดับอุดมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยความเห็นอกเห็นใจลูก และสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่กับลูก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับเจตคติต่อการให้อิสระลูกในการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาของพ่อแม่ ในขณะที่ความคาดหวังในการเรียน และแรงจูงใจใฝ่อำนาจ มีความสัมพันธ์ทางลบกับเจตคติต่อการให้อิสระลูกในการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาของพ่อแม่ นอกจากนี้ ความเห็นอกเห็นใจ แรงจูงใจใฝ่อำนาจ และความคาดหวังในการเรียน สามารถร่วมกันทำนายเจตคติต่อการให้อิสระลูกในการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาของพ่อแม่ ได้ร้อยละ 30.5 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลในการทำนายเจตคติต่อการให้อิสระลูกในการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาของพ่อแม่ได้ดีที่สุด คือ ความเห็นอกเห็นใจลูก (β = .033)</p> ER -