https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/issue/feed วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2024-06-07T12:00:23+07:00 Asst. Prof. Pirada Chairatana. Ph.D. fsocpdc@ku.ac.th Open Journal Systems <p><strong>ประกาศ: </strong><strong> ทางวารสารฯ เ<span style="text-decoration: underline;">ปิดรับบทความเพื่อตีพิมพ์วารสารฯ</span> ปีที่ 50 ฉบับที่ (กรกฎาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2567) เป็นต้นไป</strong></p> <p><strong>ออกใบตอบรับการตีพิมพ์ให้หลังผู้เขียนแก้ไขบทความที่ผ่านการ peer review (Double Blind Peer Review) หรือระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน</strong></p> <p><strong>วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์:</strong> จัดทำโดย<em> คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์</em></p> <p><strong>ISSN:</strong> 3056-946X (Print) 3056-9524 (Online)</p> <p><strong>กำหนดออกเผยแพร่:</strong> 2 ฉบับ/ปี (ฉบับที่1 มกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่2 กรกฎาคม-ธันวาคม)</p> <p><strong>ขอบเขตของเนื้อหา</strong>: บทความวิจัยและบทความวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้แก่ <em>สาขาจิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์</em> และสาขาสังคมศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>ประเภทบทความที่เปิดรับ:</strong> 1) บทความวิจัย 2) บทความวิชาการ 3) บทความพิเศษ และ 4) บทแนะนำหนังสือและบทวิจารณ์หนังสือ</p> <p><strong>ภาษา: </strong>ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ:</strong> 3 ท่าน/บทความ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> <br />1) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไป ได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัย <br />2) เป็นแหล่งในการเสนอผลงานรวมทั้ง แลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูล ความคิดเห็นทางวิชาการและวิจัย อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาและการวิจัยในสาขาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์</p> <p><strong>*ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์*</strong></p> https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/269097 การรับรู้ภาพลักษณ์ “การเป็นสังคมแห่งการให้และการแบ่งปัน” ของมหาวิทยาลัยรังสิตในทัศนะของประชากรจังหวัดปทุมธานี 2023-12-22T10:44:26+07:00 Kanyanee Kulkanok kanyanee.k@rsu.ac.th <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ภาพลักษณ์การเป็นสังคมแห่งการให้และการแบ่งปันของมหาวิทยาลัยรังสิต และเพื่อศึกษาภาพลักษณ์การเป็นสังคมแห่งการให้และการแบ่งปันของมหาวิทยาลัยรังสิตในทัศนะของประชากรจังหวัดปทุมธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาในการหาค่าร้อยล่ะ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้ภาพลักษณ์การเป็นสังคมแห่งการให้และการแบ่งปันของมหาวิทยาลัยรังสิตผ่านอัตลักษณ์ของธุรกิจโดยการจัดตั้งตำรวจมหาวิทยาลัย เพื่อตรวจตราและใส่ใจความปลอดภัยให้กับนักศึกษาและชุมชนโดยรอบมากที่สุด รองลงมาคือรับรู้ภาพลักษณ์ผ่านการสื่อสารผ่านบุคคล ถัดมาคือรับรู้ภาพลักษณ์ผ่านการประชาสัมพันธ์ และท้ายที่สุดคือรับรู้ภาพลักษณ์ผ่านการโฆษณา และภาพลักษณ์การเป็นสังคมแห่งการให้และการแบ่งปันของมหาวิทยาลัยรังสิตในทัศนะของประชากรจังหวัดปทุมธานี ซึ่งประชากรจังหวัดปทุมธานีมีความเห็นต่อภาพลักษณ์เชิงการกระทำมากที่สุด รองลงมาคือภาพลักษณ์เชิงความรู้สึก ถัดมาคือภาพลักษณ์เชิงความรู้ และท้ายที่สุดคือภาพลักษณ์เชิงการรับรู้ ตามลำดับ</p> 2024-06-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/268226 การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรโดยการแปรรูปเป็นขนมไทยเพื่อเป็นสินค้าวัฒนธรรม 2023-10-05T08:40:31+07:00 Nilobon Vongpattaranon niloboon.vo@gmail.com <p>บทความนี้เป็นการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพ (Research Synthesis) ที่เกี่ยวกับการสร้าง<br />มูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรโดยการแปรรูปเป็นขนมไทยเพื่อเป็นสินค้าวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555-2565<br />จ􀃎ำนวน 26 เรื่อง โดยใช้วิธีให้เหตุผลเชิงอุปมาน (Induction Reasoning) เพื่อหาข้อสรุปร่วมด้านผลการศึกษา (Meta Data Analysis) ผลการวิจัยพบว่า งานวิจัยในช่วงเวลาดังกล่าวมีการด􀃎ำเนินการสอดคล้องกับ<br />แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 และ 12 เมื่อบูรณาการข้อสรุปร่วมกับแนวคิด “ทุน” (Capital) ของบูร์ดิเยอ จะเกิดเป็นองค์ความรู้ต้นแบบในการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรให้เป็นสินค้าวัฒนธรรม<br />โดยใช้ “ทุนวัฒนธรรม” จากเอกลักษณ์ของผลผลิตทางการเกษตรและภูมิปัญญาในแต่ละท้องถิ่น และ<br />“ทุนทางสังคม” จากการรวมกลุ่มสร้างเครือข่ายของชุมชน สร้างขนมไทยให้เป็น “สินค้าวัฒนธรรม” เพื่อเพิ่ม “ทุนเศรษฐกิจ” และกลายเป็น “ทุน”</p> 2024-06-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/269258 การศึกษาความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษา ที่มีต่อสื่อการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิด ตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ในรายวิชาการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อการทำงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2024-01-03T09:44:01+07:00 ปริณุต ไชยนิชย์ parinut23@gmail.com สมพงษ์ พิพัฒน์เอกสกุล sompongek@gmail.com จักกเมธ พวงทอง p_jakkamate@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อสื่อการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานในรายวิชาการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อการทำงาน<br />ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานในรายวิชาการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อการทำงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน จำนวน 4 ห้อง ห้องละ 15 คน รวม 60 คน (2) อาจารย์ที่สอนในรายวิชาการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อการทำงาน จำนวน 4 คน<br />ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงจากพื้นที่การวิจัย โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบประเมินความพึงพอใจสำหรับนักศึกษา (2) แบบประเมินความพึงพอใจสำหรับอาจารย์ผู้สอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล<br />ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า อาจารย์ผู้สอนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.32 และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.64) ส่วนนักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากเช่นกัน (ค่าเฉลี่ย = 4.15 และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.68) ผลการศึกษานี้กระตุ้นเตือนให้คำนึงถึงเรื่องแรงจูงใจ<br />ของผู้ใช้งาน (ผู้สอนและผู้เรียน) เป็นสำคัญ แรงจูงใจทำให้เกิดแรงผลักดัน สามารถช่วยพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่สนับสนุนให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนเข้าถึงการเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่มีข้อจำกัดด้านค่าใช้จ่าย<br />เพิ่มทางเลือกให้ผู้เรียนสนใจ เข้าใจและเรียนรู้ สร้างศักยภาพสูงสุดสู่การพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อการทำงาน สามารถช่วยเหลือผู้สอนในการจัดกิจกรรม และเพิ่มทางเลือกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในที่ทุกเวลาได้จริง</p> 2024-06-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/268269 ความพึงพอใจของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบอีไฟล์ลิ่ง (e-filing) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประจำปีภาษี 2565 2023-10-16T10:01:49+07:00 Thanyatorn Thopuntanont thanyatorn.me@gmail.com เกวลิน ศีลพิพัฒน์ Kevalin.s@ku.th <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจและความคาดหวังของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบอีไฟล์ลิ่ง (e-Filing) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังของผู้เสียภาษีในการให้บริการของระบบอีไฟล์ลิ่ง (e-Filing) กับความพึงพอใจของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบอีไฟล์ลิ่ง (e-Filing) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3. เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบอีไฟล์ลิ่ง (e-Filing) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ใช้ระเบียบวิธีวิจัย<br />เชิงปริมาณ เก็บข้อมูลแบบออนไลน์โดยใช้แบบสอบถามผ่านทาง google form กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 426 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึง Paired - Sample T test, Independent - Sample T test และ One-Way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้เสียภาษีในการให้บริการของระบบอีไฟล์ลิ่ง (e-Filing) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความคาดหวังกับความพึงพอใจของผู้เสียภาษีในการให้บริการของระบบอีไฟล์ลิ่ง (e-Filing) ในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน ทั้งในด้านคุณภาพสารสนเทศ ด้านคุณภาพของระบบ และด้านคุณภาพการให้บริการ โดยมีความพึงพอใจต่ำกว่าความคาดหวัง ผู้เสียภาษีที่มีอายุและรายได้ที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> 2024-06-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/266050 แรงจูงใจในการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ และผลกระทบที่เกิดขึ้น 2023-07-17T09:42:33+07:00 Nasarapa Narmphring nasarapa2544@gmail.com ชวิศา กระท้อนกลาง chavisa.kr@ku.th พนมพร พุ่มจันทร์ panomporn.p@ku.th เอื้ออนุช ถนอมวงษ์ aeuranuch.t@ku.th สุชาดา สกลกิจรุ่งโรจน์ suchada.sako@ku.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวลูกบนสื่อสังคมออนไลน์และผลกระทบที่เกิดขึ้น ผู้เข้าร่วมวิจัยคือผู้ปกครองจำนวน 11 คน และลูกวัยรุ่นจำนวน 12 คน ที่เป็นครอบครัวเดียวกัน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจงร่วมกับแบบลูกโซ่ของผู้ให้ข้อมูล ใช้แบบสอบถามออนไลน์และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ คือ จำนวนและร้อยละ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้กระบวนการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า ทั้งผู้ปกครองและลูกมองว่าแรงจูงใจที่ส่งผลมากที่สุด คือ เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำ<br />นอกจากนี้จากการสัมภาษณ์มุมมองของลูกต่อการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ พบประเด็นหลัก<br />4 ประเด็น ดังนี้ 1) เหตุผลในการตัดสินใจเป็นเพื่อนกับพ่อแม่บนสื่อสังคมออนไลน์ 2) ความคิดและความรู้สึกของลูกเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ พบว่าลูกรู้สึกพึงพอใจที่จะให้พ่อแม่<br />เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของตนเองลงบนสื่อสังคมออนไลน์ หากว่าการกระทำนั้นสร้างความสุขให้กับพ่อแม่<br />หรือเป็นการเผยแพร่เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำและสร้างความประทับใจ รวมถึงรู้สึกดีเมื่อพ่อแม่<br />ขอความยินยอมก่อนที่จะนำข้อมูลส่วนตัวลูกไปเผยแพร่ แต่ก็มักเกิดความรู้สึกเขินหรืออับอาย และมีความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวของตนเอง และ 3) การตัดสินใจเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ในอนาคต</p> 2024-06-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/269575 วาทกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง 2024-01-05T13:43:25+07:00 ชัยณรงค์ ศรีรักษ์ yaravee.add@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วาทกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ลุ่มน้ำ ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง โดยวิธีวิเคราะห์วาทกรรมตามกรอบคิดของ Fairclough (2010) รวบรวมข้อมูลภูมิสังคมและการวิเคราะห์เอกสารเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยว และรายงานวิจัยเชิงพื้นที่ สังเคราะห์และนำเสนอข้อค้นพบด้วยการตีความ พบว่า วาทกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวจำแนก<br />ตามอุดมการณ์การพัฒนา คือ (1) วาทกรรมการพัฒนากระแสหลัก เป็นการผลิตซ้ำเชิงอุดมการณ์ทุนนิยม<br />เพื่อพัฒนาด้านเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ มี 4 รูปแบบ ได้แก่ เขตพัฒนาการท่องเที่ยวพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนใต้ ชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน เมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” และเขตพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนใต้ และ (2) วาทกรรมการพัฒนากระแสรองที่ประกอบสร้างจากอุดมการณ์เพื่อสร้าง<br />ความมั่นคงของรัฐ มี 4 รูปแบบ ได้แก่ เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ เขตพัฒนากลุ่มจังหวัดชายแดนใต้<br />เขตปกครองพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยวาทกรรมการพัฒนาทั้งหมดล้วนถูกผลิตสร้างขึ้นจากองค์กรภาครัฐที่ใช้กลไกอ􀃎ำนาจ ความรู้ และยึดโยงกับพันธกิจองค์กร<br />ทำให้มีสนามทางวาทกรรมการพัฒนาที่ทับซ้อนกัน แฝงความแยบยลสำหรับฉกฉวยประโยชน์เชิงพื้นที่ลุ่มน้ำ<br />ที่เป็นสนามทางกายภาพเพื่อรองรับภาคปฏิบัติการทางวาทกรรมตามภารกิจองค์กร ขาดการบูรณาการร่วมกันจนเป็นเหตุแห่งกระบวนการกลายเป็นอื่นที่ผลลัพธ์ห่างจากเป้าหมาย “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”จากการพัฒนาแบบแยกส่วน ประชาชนเป็นเพียงหน่วยนับและเหยื่อของวาทกรรมการพัฒนา เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย<br />การพัฒนาเชิงพื้นที่ นโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวควรยึดกรอบคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานตามยุทธศาสตร์ชาติ<br />และนำข้อมูลภูมิสังคมและภูมินิเวศพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างเป็นฐานคิดในการออกแบบนโยบาย</p> 2024-10-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/264153 ความเหลื่อมล้ำทางโอกาสในการเข้าถึงวัคซีนคุณภาพ COVID-19 และการบริหารจัดสรรวัคซีน COVID-19 ของภาครัฐในราชอาณาจักรไทย 2023-02-27T15:17:42+07:00 Niti Nijnitikul leng2961@gmail.com <p style="font-weight: 400;">บทความนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงวัคซีนและการจัดสรรวัคซีน COVID-19 ของภาครัฐในประเทศไทย และบทความนี้เป็นบริบทครั้งแรกในสถานการณ์ปัจจุบัน ยังไม่มีผู้ใดศึกษามาก่อน ผู้ศึกษาเน้นเก็บข้อมูลผ่านแหล่งข่าวที่เป็นกระแสโลกปัจจุบัน ทั้งจากแหล่งข่าวภายในประเทศและจากต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการจัดการและการจัดสรรวัคซีนคุณภาพ COVID-19 ของภาครัฐ และ 2. เพื่อศึกษาความเหลื่อมล้ำทางโอกาสในการเข้าถึงวัคซีน COVID-19 ของประชาชน และยังเป็นที่วิพากษ์อยู่บนสื่อโซเชียลมีเดีย ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้ยกตัวอย่างสถานการณ์ COVID-19 ที่เป็นสถานการณ์โลกตั้งแต่แรกเริ่มการฉีดวัคซีนและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงวัคซีนของประเทศร่ำรวยหรือมีศักยภาพในการเข้าถึงได้ก่อนอย่างรวดเร็ว และประเทศที่ยากจนหรือประเทศที่มีศักยภาพต่ำในการเข้าถึงวัคซีน นอกจากนี้ยังได้ศึกษาการจัดสรรวัคซีนคุณภาพ COVID-19 ของภาครัฐไทยและการบริหารงานของภาครัฐที่ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำแก่ประชาชน ซึ่งประชาชนไม่มีโอกาสที่จะได้เลือกสรรวัคซีนฉีดเข้าสู่ร่างกายของตน อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงวัคซีนของภาครัฐอาจต้องใช้เวลาที่ยาวนาน วัคซีนไม่เพียงพอสำหรับประชาชน ล่าช้า ประชาชนจำนวนมากต้องยอมเสียเงินเพื่อเข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพ และการมีผลประโยชน์ทับซ้อนจากภาครัฐที่ประชาชนมิอาจตรวจสอบได้อย่างเที่ยงธรรมและตรงไปตรงมา</p> 2024-06-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/268094 บล็อกเชนกับการป้องกันการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในองค์กรรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานไทย 2023-09-29T09:45:59+07:00 SUTEEKARN SOMNUAL getwalk_2@hotmail.com ศิริรัตน์ แอดสกุล sirirath.a@chula.ac.th <p>บล็อกเชน เทคโนโลยีที่เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในการดำเนินธุรกรรมในปัจจุบันโดยเฉพาะธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งจุดเด่นของเทคโนโลยีบล็อกเชน คือการที่ไม่สามารถกลับไปแก้ไขธุรกรรมนั้นๆ ที่ได้รับการยืนยันความถูกต้องโดยผู้จัดทำมาแล้วได้ และไม่อาศัยคนกลางมาดำเนินการทางธุรกรรม ด้วยแนวคิดนี้จึงเป็นความน่าสนใจของบล็อกเชนที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างสำหรับองค์กรรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานไฟฟ้าของไทย ซึ่งปัจจุบันต้องยอมรับว่าพลังงานไฟฟ้าเข้ามามีบทบาทแทบทุกกิจวัตรของผู้คน อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ และอาคารบ้านเรือน ฉะนั้นส่งผลให้การดำเนินงานในองค์กรด้านพลังงานไฟฟ้าของรัฐมีแนวโน้มดำเนินการผลิตและส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ส่งผลให้การจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างมีความสำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบประมาณขององค์กร อาทิ งานก่อสร้าง งานจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อดำเนินในงานด้านผลิตและส่งจ่ายกระแสไฟฟ้า ฉะนั้น บล็อกเชนจึงเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจ ที่สามารถนำมาประยุกต์เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นด้านความโปร่งใส (Transparency) รวมถึงความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ ของข้อมูลการดำเนินงานให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐตลอดจนองค์กร และลดข้อกังขาหรือข้อพิพาทระหว่างองค์กรของรัฐและประชาชนในกรณีการทุจริต</p> <p>บทความวิชาการฉบับนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีบล็อกเชน มาประยุกต์เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์กรรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานไฟฟ้าของไทย โดยการนำแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ เพื่อเสนอแนะแนวทางความเป็นไปได้ต่อไป</p> 2024-06-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/267365 เยาวชนมาเลเซียและการเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยสื่อสังคม 2023-08-16T11:04:20+07:00 Suthida Pattanasrivichian pooksuthida@yahoo.com <p>บทความเรื่องนี้นำเสนอเนื้อหาการเคลื่อนไหวทางการเมืองของเยาวชนในประเทศมาเลเซีย โดยการใช้สื่อดิจิทัล โดยเฉพาะสื่อสังคมที่ได้รับความนิยมในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสาเหตุของความขัดแย้งมาจากนโยบายการปกครองสมัยอาณานิคม ที่แบ่งแยกกลุ่มเชื้อชาติต่างๆในมาเลเซียออกจากกัน จนนำมาสู่ความแตกแยก ในขณะที่กลุ่มเชื้อชาติมาเลย์มุสลิมกลายเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายของรัฐบาลมาเลเซียมากที่สุด ความไม่เท่าเทียมกันนี้ ทำให้เยาวชนมีการออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อมุ่งหวังการเปลี่ยนแปลง เมื่อเกิดสื่อออนไลน์ขึ้นมา เยาวชนมาเลเซียได้ใช้สื่อในการหาค้นข้อมูล แบ่งปัน และเผยแพร่ข่าวสาร โดยเฉพาะในยุคหลังปี 2007 ที่มีการใช้สื่อสังคมในการเคลื่อนไหวทางการเมือง ระดมพล และเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเยาวชนมักจะถูกจับกุมจากการชุมนุมดังกล่าว เมื่อเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 เยาวชนไม่พอใจที่รัฐบาลไม่สามารถบริหารจัดการได้ดีและยังมีการทุจริตโดยนักการเมืองระดับสูง สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้เยาวชนประสบปัญหาการไม่มีงานทำ ความไม่เท่าเทียม ความขัดแย้งจากเชื้อชาติ และอื่นๆ จนนำมาสู่การเคลื่อนไหวทางการเมืองในปี 2021 สำหรับรัฐบาลมาเลเซียชุดปัจจุบันได้ส่งเสริมให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศด้วยการใช้สื่อสังคม และยังมีการอบรมแนวทางการใช้สื่ออย่างรับผิดชอบผ่านโครงการของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ยังเป็นเรื่องที่ยากสำหรับเยาวชนที่จะออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองได้อย่างเสรี เนื่องจากยังมีประเด็นมี่อ่อนไหว เช่น เชื้อชาติ ศาสนาที่ไม่สามารถแตะต้องได้ และเยาวชนส่วนใหญ่ยังคงสนับสนุนนโยบายที่ให้ประโยชน์กับกลุ่มเชื้อชาติมาเลย์มุสลิม ทำให้การเคลื่อนไหวทางการเมืองของเยาวชนมาเลเซียยังคงไม่สามารถเรียกร้องให้เกิดความเท่าเทียมกันสำหรับชนกลุ่มน้อยในประเทศได้</p> 2024-06-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/263923 โลกาภิบาลการลดปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร 2023-02-14T14:54:40+07:00 ไพลิน กิตติเสรีชัย pailin.k@ku.th สุจิตรา ต้นบุญ sujrittar.t@ku.th <p>บทความวิชาการชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่ออธิบายกระบวนการโลกาภิบาลในการแก้ไขปัญหาการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญในระดับสากล ที่นอกจากจะส่งผลกระทบในประเด็นความมั่นคงด้านอาหารแล้วยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม&nbsp; กระบวนการโลกาภิบาลในประเด็นนี้จะแบ่งออกเป็นสามขั้นตอน ได้แก่ การจัดการความรู้และสร้างความตระหนักรู้&nbsp; การพัฒนาบรรทัดฐานและเผยแพร่ข้อแนะนำ และการทำให้บรรทัดฐานและข้อแนะนำดังกล่าวมีความเป็นสถาบัน ซึ่งในแต่ละกระบวนการประกอบไปด้วยตัวแสดงทั้งที่เป็นองค์การระหว่างประเทศ องค์กรภาครัฐและเอกชน ตลอดจนภาคประชาสังคม &nbsp;บทความนี้ ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการโลกาภิบาลได้ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศที่ทำให้เกิดมาตรวัดที่เป็นมาตรฐานในประเด็นนี้ และเกิดการแก้ไขปัญหาที่เปนไปในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน ปัญหาการสูญเสียอาหารและขยะอาหารยังไม่ได้หมดไป ดังนั้นแล้ว กระบวนการต่าง ๆ ของโลกาภิบาลในประเด็นนี้ยังคงต้องดำเนินต่อไป โดยจำเป็นต้องเน้นการสร้างเครือข่ายของตัวแทนที่จะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของแต่ละประเทศ เพื่อทำให้ข้อแนะนำ และเป้าหมายที่วางไว้ในระดับระหว่างประเทศ มีความเป็นสถาบัน อันจะทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาการสูญเสียอาหารและขยะอาหารที่ยั่งยืนต่อไป</p> 2024-06-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/272187 Soft Power: The INFLUENCER in the 20th and 21st Centuries 2024-04-29T13:41:12+07:00 สีดา สอนศรี sidapols@gmail.com <p>Technology could bring innovation opportunities into privates sectors interaction with government sectors, through the simplification of procedures and contribute to open the government. Tools such as services, design, and technology that can bring the innovation approaches of the Government. So, innovation is the new a process by which products, technologies, and services are renewed and brought up to date by applying and introducing new techniques, establishing successful ideas to create new values in everything things to what matters the other countries attract your country, (except military power) that is the Soft Power.</p> 2024-06-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024