วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku <p><strong>ประกาศ: </strong><strong> ทางวารสารฯ จะเ<span style="text-decoration: underline;">ปิดรับบทความเพื่อตีพิมพ์วารสารฯ</span> ปีที่ 51 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน พ.ศ. 2568) ในเดือนมกราคม 2568 เป็นต้นไป (รอประกาศวันที่อีกครั้งหนึ่ง)</strong></p> <p><strong>ออกใบตอบรับการตีพิมพ์ให้หลังผู้เขียนแก้ไขบทความที่ผ่านการ peer review (Double Blind Peer Review) หรือระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน</strong></p> <p><strong>วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์:</strong> จัดทำโดย<em> คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์</em></p> <p><strong>ISSN:</strong> 3056-946X (Print) 3056-9524 (Online)</p> <p><strong>กำหนดออกเผยแพร่:</strong> 2 ฉบับ/ปี (ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม)</p> <p><strong>ขอบเขตของเนื้อหา</strong>: บทความวิจัยและบทความวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้แก่ <em>สาขาจิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์</em> และสาขาสังคมศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>ประเภทบทความที่เปิดรับ:</strong> 1) บทความวิจัย 2) บทความวิชาการ 3) บทความพิเศษ และ 4) บทแนะนำหนังสือและบทวิจารณ์หนังสือ</p> <p><strong>ภาษา: </strong>ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ:</strong> 3 ท่าน/บทความ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> <br />1) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไป ได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัย <br />2) เป็นแหล่งในการเสนอผลงานรวมทั้ง แลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูล ความคิดเห็นทางวิชาการและวิจัย อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาและการวิจัยในสาขาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์</p> <p><strong>*ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์*</strong></p> th-TH fsocpdc@ku.ac.th (Asst. Prof. Pirada Chairatana. Ph.D.) sockujournal@gmail.com (นันท์นภัส อุดมละมุล) Fri, 20 Dec 2024 10:41:07 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 An acceptance by electronic communication of an offer in the United Kingdom and Thailand: a comparison https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/269434 <p>This article aims to analyze the development of electronic communication laws in the United Kingdom and Thailand, with a focus on the legal implications of electronic communications in the formation of contracts. Specifically, it examines the declaration of intention, the making of offers, and acceptance in relation to electronic communications. Furthermore, it discusses the judgments of British and Thai courts in cases involving the acceptance of offers through electronic communication, highlighting the evolution of legal principles concerning the formation of electronic contracts. Subsequently, the article analyzes the divergent outcomes of decisions reached by the British and Thai courts. This study employs a qualitative research approach, utilizing descriptive analysis methods to gather primary and secondary sources, including statutes, legislation, common law, case law, international agreements or treaties, as well as academic articles from law textbooks and legal journals. The findings demonstrate that the initiation of change in accepting offers through electronic communication shares a pivotal starting point in both the United Kingdom and Thailand, specifically the court's ruling on the sale of goods via telex. This legal principle has since undergone consistent development through numerous court cases. Finally, this article reveals that the unresolved issue of the timing of effective acceptance through email communication persists. Presently, no explicit rule addressing this matter has been established in current legislation or case law.</p> Suphat Phoophanichjaroenkul Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/269434 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 บทบาทของผู้หญิงและความเป็นหญิงในสื่อกระแสนิยมประเภทชายรักชาย ในซีรีส์และมังงะ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/270717 <p style="font-weight: 400;">ปรากฏการณ์วัฒนธรรมกระแสนิยมประเภทชายรักชายได้รับความนิยมและกลายเป็นความปกติใหม่ บนสื่อในสังคมไทย โดยเฉพาะมังงะวายและซีรีส์วายที่เกิดจากการสร้างสรรค์ผลงานชายรักชาย พื้นที่สื่อเหล่านี้ ถูกผลิตซ้ำตลอดมาเช่นเดียวกันกับการประกอบสร้างบทบาทตัวละคร ผลการศึกษาพบว่าตัวละครผู้หญิงนั้นถูก ลดบทบาทและถูกประกอบสร้างจนกลายเป็นตัวละครที่เรียบแบน มากไปกว่านั้นยังคงใช้รูปแบบความรักแบบ ชายหญิงในการดำเนินความสัมพันธ์ของตัวละครชายรักชายทำให้เกิดตัวละครชายที่มีความเป็นหญิง (femininity) สูง ซึ่งเรียกว่านายเอก ความนิยมในการสร้างความเป็นหญิงในตัวละครชายมีพัฒนาการมาจนถึงการเกิดเป็นผลงานชายรักชายแนวโอเมกาเวิร์ส (Omegaverse) และ Mpreg ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการและทัศนะของผู้ชมที่ยังคงยึดติดกับเพศสภาพและรูปแบบความรักแบบชายหญิง รวมไปถึงความคาดหวังให้ตัวละครนายเอกได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกันกับตัวละครเพศหญิง</p> <p> </p> <p> </p> Witchayaphon Suwanpakai, Putthida Kijdumnern Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/270717 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนจิตวิทยาในศตวรรษที่ 21 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/271112 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนจิตวิทยาในศตวรรษที่ 21 ที่อ้างอิงจากทักษะสำหรับผู้เรียนจิตวิทยาในการเตรียมพร้อมเพื่อความสำเร็จในการทำงานในศตวรรษที่ 21 ของสมาคมนักจิตวิทยาอเมริกา เพื่อนำข้อมูลไปเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบกิจกรรมนันทนาการและกีฬาเพื่อสุขภาพโดยใช้กระบวนการเกมิฟิเคชั่นในการเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตจิตวิทยาในศตวรรษที่ 21 โดยศึกษาจากสำรวจความคิดเห็นจากนิสิตจิตวิทยาและคณาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลิกภาพของนิสิตจิตวิทยาที่จัดโดยภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยใช้แบบสำรวจเกี่ยวกับคุณลักษณะนิสิตจิตวิทยาที่พึงประสงค์ จำนวน 195 คน พร้อมทั้งศึกษาเปรียบเทียบกับข้อมูลเก่าย้อนหลัง 1 ปี และสัมภาษณ์ผู้บริหาร คณบดี หัวหน้าภาควิชา และคณาจารย์ผู้สอนในสาขาวิชาจิตวิทยาจำนวน 5 คน ผลการศึกษาพบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนจิตวิทยาในศตวรรษที่ 21 ตามแนวทางของสมาคมนักจิตวิทยาอเมริกา (APA) ที่เหมาะสมต่อการนำไปจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยออกเป็น 2 ด้าน คือ คุณลักษณะด้านบุคลิกส่วนบุคคล ได้แก่ การปรับตัว มีจิตสำนึก การกำกับตนเอง และคุณลักษณะด้านทางสังคม ได้แก่ การแสวงหาความร่วมมือ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ความเป็นผู้นำ การบริหารจัดการ และการมีจิตใจบริการ</p> Thanarat Songsomboon, Vichit Imarom, Kanit Kheovichai Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/271112 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 คุณลักษณะและภาวะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ตามทัศนะของประชาชน ในพื้นที่พหุวัฒนธรรมตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/274591 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ตามทัศนะของประชาชนในพื้นที่พหุวัฒนธรรมตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย 2) ศึกษาภาวะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ตามทัศนะของประชาชนในพื้นที่พหุวัฒนธรรมตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และ 3) เปรียบเทียบคุณลักษณะและภาวะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่พหุวัฒนธรรมตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย โดยใช้หลักการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 390 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเอฟ ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณลักษณะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ตามทัศนะของประชาชนในพื้นที่พหุวัฒนธรรมตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีระดับความพึงประสงค์ในระดับมาก 2) ภาวะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ตามทัศนะของประชาชนในพื้นที่พหุวัฒนธรรมตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีระดับความพึงประสงค์ในระดับมาก และ 3) ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะและภาวะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ตามทัศนะของประชาชนในพื้นที่พหุวัฒนธรรมตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย จำแนกตามกลุ่มชาติพันธุ์พบว่า มีคุณลักษณะและภาวะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ แตกต่างกัน มีคู่ของกลุ่มชาติพันธุ์แตกต่างกัน จำนวน 4 คู่ คือ ม้งกับเมี่ยน ม้งกับพื้นเมือง เมี่ยนกับอาข่า และอาข่ากับพื้นเมือง</p> วรรณิศา แสงโรจน์, อรุณี อินเทพ, ประยูร อิมิวัตร์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/274591 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาภูมิปัญญาการใช้อินทผาลัมในการถือศีลอดของศาสนาอิสลามในพื้นที่ภาคกลาง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/271331 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการใช้อินทผลัมในการถือศีลอดของศาสนาอิสลาม มี 5 ประเด็น คือ การอนุรักษ์และสืบทอด การรวบรวมองค์ความรู้ การคุ้มครองและส่งเสริม แนวทางการศึกษาวิจัย และแนวทางการวางแผนพัฒนาภูมิปัญญาการใช้อินทผลัมในการถือศีลอด ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย (Analytic Induction) โดยนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาตีความ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้นำศาสนามีความเชื่อว่าอินทผลัมที่ใช้ในการถือศีลอด สามารถรักษาโรคได้จริง ช่วยทำให้ผู้นำศาสนาดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นปกติสุข 2) รูปแบบในการใช้อินทผลัมประกอบไปด้วย ผลสด ผลแห้ง และกึ่งสุกกึ่งดิบ ส่วนมากจะนิยมรับประทานก่อนอาหาร ซึ่งจะรับประทานช่วงเริ่มถือศีลอดและช่วงละศีลอด 3) มีการส่งเสริมให้มีการใช้อินทผลัมในการถือศีลอด เพื่อให้เห็นคุณค่าและคุณประโยชน์ของอินทผลัม และเป็นข้อปฏิบัติทางศาสนาอิสลาม 4) ผู้นำศาสนา มีความยินดีและให้ความร่วมมือกับภาครัฐหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีความสนใจอยากเข้ามาศึกษาเก็บข้อมูล องค์ความรู้ต่าง ๆ โดยไม่บิดบังหรือหวงวิชาความรู้ 5) ยังไม่มีการวางแผนร่วมกันพัฒนาภูมิปัญญาการใช้อินทผลัมในการถือศีลอด</p> อำพล บุญเพียร, ปฐมา จันทรพล, ซูฮัล ตูวี, นาดีเราะห์ ลีตา Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/271331 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการพัฒนาความสุขในการทำงานของพัฒนากร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/276751 <p>การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาความสุขในการทำงานของพัฒนากร ตามหลักแนวคิดดัชนีสุขภาวะองค์กร (MapHR) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือกลุ่มพัฒนากร ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา 11 อำเภอจำนวน 22 คน ผลวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาความสุขในการทำงานของพัฒนากร ตามหลักแนวคิดดัชนีสุขภาวะองค์กร (MapHR) ประกอบด้วย 5 มิติ ได้แก่ มิติที่ 1 การจัดการ (M: management) คือการมีค่าตอบแทนที่เหมาะสม สวัสดิการที่ครอบคลุมระบบประเมินที่เป็นธรรม และมีความก้าวหน้าในอาชีพ มิติที่ 2 บรรยากาศ และสภาพ แวดล้อมในที่ทำงาน (A: Atmosphere &amp; Environment) คือการมีนโยบายสร้างความสุขที่ชัดเจน และการสร้างบรรยากาศความเป็นพี่เป็นน้องในองค์กร มิติที่ 3 กระบวนการสร้างสุข (P: HWP Process) คือการจัดกระบวนการสร้างสุขตามความต้องการของพัฒนากร และการบริหารจัดการทุนทรัพย์และทุนมนุษย์ มิติที่ 4 สุขภาพกายและใจ (H: Physical &amp; Mental Health) คือการสร้างระบบการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุม และการจัดกิจกรรมเสริมสุขภาพ และมิติที่ 5 ผลลัพธ์องค์กร (R: Organizational Result) คือการกำหนดเป้าหมายของหน่วยงานให้เหมาะสม และพัฒนาปัจจัยที่เอื้อให้เกิดความสุขของพัฒนากร</p> ทิพวัลย์ รามรง Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/276751 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 บุพปัจจัยของประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล 8 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/270672 <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. สภาพทั่วไปของปัจจัยคุณลักษณะพื้นฐานบุคคล คุณลักษณะพึงประสงค์ แรงจูงใจในการทำงาน ความผูกพันกับองค์กร ความรู้ทางเทคโนโลยี และประสิทธิภาพการทำงาน และ 2. อิทธิพลของคุณลักษณะพื้นฐานบุคคล คุณลักษณะพึงประสงค์ แรงจูงใจในการทำงาน ความผูกพันกับองค์การ ความรู้ทางเทคโนโลยีที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงาน ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากตำรวจนครบาล 8 จำนวน 330 คน ใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบเชิงชั้น ผลการวิจัยพบว่า 1. เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล 8 เกือบทั้งหมดเป็นเพศชาย ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 41-50 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ความคิดเห็นส่วนใหญ่ของตำรวจนครบาล 8 ที่มีต่อปัจจัยความผูกพันกับองค์กรและคุณลักษณะพึงประสงค์อยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและปัจจัยด้านแรงจูงใจพอใจระดับปานกลาง ส่วนผลการวิจัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อ 2 พบว่าปัจจัยเทคนิคด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการทำงานของตำรวจนครบาล 8 มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ความต้องการอยู่กับองค์กรและความก้าวหน้าในการทำงานตามลำดับ</p> Pitsarn Phanwattana Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/270672 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 สงครามตะวันออกกลาง : สงครามอาหรับ-อิสราเอล สงครามกลางเมืองอัฟกานิสถาน และสงครามอิรัก-อิหร่าน จากภาพโฆษณาชวนเชื่อตั้งแต่ ค.ศ. 1948 – 1992 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/275304 <p>บทความนี้ต้องการนำเสนอถึงบทบาทของรัฐอาหรับในทางการเมืองภายในประเทศและระหว่างประเทศผ่านเหตุการณ์สงครามการเมือง, ขบวนการต่อต้านอำนาจจักรวรรดินิยมตะวันตกภายในรัฐและสงครามระหว่างรัฐนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านทางโฆษณาชวนเชื่อในรูปแบบโปสเตอร์ ดังนั้นบทบาทรัฐอาหรับจึงมีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์ต่างๆของโลกสามารถโน้มน้าวให้ทั่วโลกเห็นภาพของรัฐอาหรับจากเหตุการณ์ต่างๆ ในส่วนขอบเขตของการศึกษาบทความนี้ศึกษาเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือนับตั้งแต่ค.ศ.1945 โดยสถานการณ์สำคัญในการศึกษาเรื่องนี้คือ สงครามอาหรับ-อิสราเอล สงครามกลางเมืองอัฟกานิสถาน และสงครามอิรัก-อิหร่าน ดังกล่าวนี้เป็นชุดเหตุการณ์ความขัดแย้งเกิดนับตั้งแต่ ค.ศ.1948-1992</p> RUJ ROHITRATANA Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/275304 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 โลกาภิบาลการคุ้มครองสิทธิการยุติการตั้งครรภ์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/267503 <p>บทความวิชาการชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการโลกาภิบาลการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยเน้นไปที่ประเด็นสิทธิในการยุติการตั้งครรภ์ โดยจะศึกษาถึงกระบวนการผลักดันให้สิทธิในการยุติการตั้งครรภ์ได้รับการคุ้มครองอย่างแท้จริงในระดับสากล ผ่านทั้งตัวแสดงที่เป็นรัฐและตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ อาทิ ภาคประชาสังคม และองค์กรสิทธิมนุษยชน การศึกษาทำผ่านกรอบกระบวนการโลกาภิบาล 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนแรก คือ การระบุประเด็นปัญหาและสร้างความตระหนักรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันถึงความจำเป็นของการต้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเด็นนี้ ขั้นตอนต่อมา คือ การระดมความร่วมมือ เป็นความพยายามของตัวแสดงต่าง ๆ ที่ร่วมกันเรียกร้องให้มีการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของคนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม และขั้นตอนสุดท้าย คือ การทำให้การคุ้มครองสิทธิการยุติการตั้งครรภ์มีความเป็นสถาบัน เพื่อให้แน่ใจว่าการคุ้มครองสิทธิในประเด็นนี้ได้เกิดขึ้นจริงและมีการบังคับใช้อย่างยั่งยืน&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า การคุ้มครองสิทธิการยุติการตั้งครรภ์ยังไม่ใช่คุณค่าสากล กระบวนการโลกาภิบาลอาจมีส่วนผลักดันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายในบางประเทศเกี่ยวกับประเด็นนี้ แต่การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้จริงในแต่ละประเทศต้องมาจากการผลักดัน เคลื่อนไหว ของตัวแสดงภายในประเทศ</p> เอกปวีณา มาระโภชน์, ไพลิน กิตติเสรีชัย Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/267503 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสถาบันการศึกษาด้วยระบบ EdPEx https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/273087 <p>บทความนี้มุ่งเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในสถาบันการศึกษาโดยใช้ระบบ EdPEx (Education Criteria for Performance Excellence) เป็นเครื่องมือหลัก มุ่งเน้นการวิเคราะห์ การดำเนินงานของบุคลากรในสถาบันการศึกษา ผ่านกรอบมาตรฐานที่ EdPEx กำหนดไว้ โดยเน้นที่กรณีศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการนำระบบนี้มาใช้ จากการวิเคราะห์พบว่าการนำระบบ EdPEx มาใช้สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรได้อย่างดียิ่ง โดยเฉพาะในด้านการบริหารจัดการ การพัฒนาทักษะและความสามารถ รวมถึงการสร้างสรรค์นวัตกรรม นอกจากนี้ยังพบว่าการสนับสนุนและการมีส่วนร่วมของผู้บริหารมีผลอย่างมากต่อความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ EdPEx ข้อเสนอแนะจากการวิเคราะห์นี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างความเข้าใจและการเตรียมความพร้อมของบุคลากรในทุกระดับ รวมถึงการจัดหาเครื่องมือและทรัพยากรที่เพียงพอเพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพในระยะยาว</p> Thidathip Supawong Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/273087 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปสู่นักยุทธศาสตร์ความมั่นคงเพื่อรองรับความมั่นคงรูปแบบใหม่ : กรณีศึกษาสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/269919 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปสู่นักยุทธศาสตร์ความมั่นคงเพื่อรองรับความมั่นคงรูปแบบใหม่ โดยใช้กรณีศึกษาของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำหรับส่วนแรกของบทความเป็นการนำเสนอแนวคิด ขอบเขต บริบท และสถานการณ์ความมั่นคงได้เปลี่ยนแปลงจากความมั่นคงดั้งเดิมไปสู่ความมั่นคงรูปแบบใหม่ ซึ่งทำให้หน่วยงานด้านความมั่นคงมีความจำเป็นต้องพัฒนาทักษะ ความรู้ และความสามารถของบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานเพื่อรองรับความมั่นคงรูปแบบใหม่ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนที่สอง เป็นการอธิบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในมิติเชิงทฤษฎี ส่วนที่สาม มุ่งเน้นวิเคราะห์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปสู่นักยุทธศาสตร์ความมั่นคงที่รองรับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบงานธุรการของสภาความมั่นคงแห่งชาติที่เป็นกลไกเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนภารกิจงานด้านความมั่นคงของประเทศไทย ผ่านกรอบแนวคิดของลีโอนาร์ด แนดเลอร์โดยสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้กำหนดยุทธศาสตร์และมีแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใน 3 แนวทาง ได้แก่ หนึ่ง การพัฒนาปัจเจกบุคคลผ่านการส่งบุคลากรเข้ารับการเรียนรู้ในหลักสูตรที่เกี่ยวกับประเด็นความมั่นคงและทักษะเชิงยุทธศาสตร์ สอง การพัฒนางานผ่านรูปแบบการทำงานที่ให้บุคลากรเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงและการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในกลไกขององค์กร และสาม การพัฒนาองค์การผ่านการปรับโครงสร้างองค์กรและการสร้างความร่วมมือกับสถาบันวิชาการ และส่วนสุดท้ายเป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิเคราะห์</p> Surasee Buachan Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/269919 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความคิดเห็นของผู้พิพากษาต่อพระราชบัญญัติการคุมประพฤติ : ศึกษาเฉพาะกรณีศาลจังหวัด ภาค 1 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/276742 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความคิดเห็นของผู้พิพากษาที่มีต่อพระราชบัญญัติการคุมประพฤติ พ.ศ.2558 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นตัวแทนในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ปฏิบัติหน้าที่ในศาลจังหวัด ภาค 1 วิธีการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้พิพากษาในศาลจังหวัด ซึ่งปฏิบัติหน้าที่มากกว่า 5 ปี มีการเก็บตัวอย่างด้วยวิธี Accidental Sampling โดยใช้เทคนิคการสังเกตด้วย</p> <p>ผลการศึกษา ผู้พิพากษาส่วนมากร้อยละ 90 เห็นด้วยกับรายงานการสืบเสาะของพนักงานคุมประพฤติที่เสนอต่อศาลและร้อยละ 70 เห็นด้วยกับพนักงานคุมประพฤติในการเสนอเงื่อนไขเพื่อการคุมประพฤติจำเลย กรณีที่ศาลสั่งให้จำเลยผู้ถูกคุมประพฤติทำงานบริการสาธารณะ จำนวนร้อยละ 70 ผู้พิพากษาเห็นว่าไม่ต้องถามความสมัครใจจากผู้ถูกคุมประพฤติเนื่องจากศาลมีอำนาจตามกฎหมาย ผู้พิพากษาเห็นว่าก่อนปฏิบัติงานพนักงานคุมประพฤติควรได้รับการอบรมด้านการสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย (Social Case Work) จำนวนร้อยละ 90 เพื่อจะได้นำความรู้ทางทฤษฎีและเทคนิคการปฏิบัติในการช่วยเหลือผู้ถูกคุมประพฤติโดยมีเป้าหมายให้ผู้ถูกคุมประพฤติยอมรับและเข้าใจปัญหาและสามารถช่วยตัวเองได้กลับไปอยู่ในสังคมเป็นพลเมืองดีต่อไป ข้อมูลเกี่ยวกับการคัดเลือกอาสาสมัครคุมประพฤติจากชุมชนผู้พิพากษาทุกคนเห็นร่วมกันว่าการคัดเลือกอาสาสมัครจากชุมชนมีความสำคัญต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง ข้อมูลสำคัญกรมคุมประพฤติ ควรอยู่ในกำกับดูแลของหน่วยงานใดร้อยละ 80 ผู้พิพากษาเห็นว่ากรมคุมประพฤติควรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของศาลยุติธรรม</p> นวลจันทร์ ทัศนชัยกุล Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/276742 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700