วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu
<p>1) เพื่อส่งเสริม เผยแพร่ และตีพิมพ์บทความวิจัย ที่มีคุณภาพด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับหลักการ แนวคิดทฤษฎีการจัดการความรู้ การวัดและประเมินทางด้านการศึกษาและประเด็นอื่นที่น่าสนใจต่อการพัฒนาการศึกษา 2)เพื่อประชาสัมพันธ์และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความคิดเห็นทางด้านวิจัยและวิชาการระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ ผู้บริหาร ครู อาจารย์ และผู้ที่สนใจ</p>
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
th-TH
วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา
2774-0870
<div class="item copyright">เนื้อหา และข้อมูลต่างๆ ฯลฯ ในวารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา</div> <div class="item copyright"> </div> <div class="item copyright">เนื้อหาที่ปรากฏในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ไม่ใช่ความรับผิดชอบของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาบทความ</div> <div class="item copyright"> </div> <div class="item copyright">หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาก่อนเท่านั้น</div>
-
ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกรอบแนวคิด TPACK Model ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมโนทัศน์ในรายวิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัครศาสน์วิทยา (มูลนิธิ)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/268649
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาชีววิทยา เรื่องการสืบพันธุ์ของพืชดอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัครศาสน์วิทยา (มูลนิธิ) ก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกรอบแนวคิด TPACK Model และ 2) เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์ในรายวิชาชีววิทยา เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัครศาสน์วิทยา (มูลนิธิ) ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกรอบแนวคิด TPACK Model กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ โรงเรียนอัครศาสน์วิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มจำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดมโนทัศน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบ Paired Samples t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาชีววิทยา เรื่องการสืบพันธุ์ของพืชดอกของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกรอบแนวคิด TPACK Model หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) มโนทัศน์ในรายวิชาชีววิทยา เรื่องการสืบพันธุ์ของพืชดอกของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกรอบแนวคิด TPACK Model หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
มูฮัยมีน บืองานฉา
มูฮัมหมัดฟาเดล ยาลาแว
ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-25
2024-11-25
8 2
1
9
-
การศึกษาผลการส่งเสริมทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 5Es ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/267500
<p>บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5Es ร่วมกับการเรียนรู้ร่วมมือที่มีต่อทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5Es ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้ร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน และ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบ จำนวน 60 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และ t-test (one-sample-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มีทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอน 5Es ร่วมกับการเรียนรู้ร่วมมือทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 83.56 อยู่ในระดับดี 2) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอน 5E ร่วมกับการเรียนรู้ร่วมมือ มีค่าเฉลี่ยคะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เท่ากับ 14.44 คิดเป็นร้อยละ 72.22 ของคะแนน</p>
ปุณยพล จันทร์ฝอย
ธนวัฒน์ ศรีศิริวัฒน์
ศศิพร พงศ์เพลินพิศ
สิริมณี บรรจง
ณัฐพงษ์ พิมพา
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-25
2024-11-25
8 2
10
20
-
การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง การละเล่นของเด็กไทย โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/268947
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง การละเล่นของเด็กไทย 2) เพื่อทดลองและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง การละเล่นของเด็กไทย ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง การละเล่นของเด็กไทย และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง การละเล่นของเด็กไทยหลังการเรียนรู้โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1 จำนวน 32 คน โรงเรียนวัดศรีสโมสร โดยมีวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง การละเล่นของเด็กไทย โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย แบบประเมินคุณภาพสื่อ แบบประเมินความพึงพอใจ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง กระบวนการพัฒนาสื่อตามรูปแบบ ADDIE MODEL และ t-test Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง การละเล่นของเด็กไทย โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย ซึ่งมีเนื้อหาสาระสำคัญประกอบด้วย ที่มาของการละเล่น วิธีการเล่นและกฎกติกา เพลงประกอบการละเล่นและประโยชน์ โดยมีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง การละเล่นของเด็กไทย มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เท่ากับ 97.13/87.50 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 3) ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง การละเล่นของเด็กไทย การทดสอบก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 10.66 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 6.61 การทดสอบหลังเรียนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.50 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.77 ผลการวิเคราะผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 4) ผลการประเมินความพึงพอใจของชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง การละเล่นของเด็กไทย หลังการเรียนรู้โดยใช้สื่อมัลติมีเดียมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.43 อยู่ในระดับมากที่สุด</p>
ประวิทย์ ฤทธิบูลย์
อาทิตยา เงินแดง
มาโนช บุญทองเล็ก
ณัฐธิดา รุ่งเรือง
นฤมล โททอง
สุวนันท์ ถีระแก้ว
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-25
2024-11-25
8 2
21
34
-
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่วมกับบอร์ดเกม เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/269179
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่วมกับบอร์ดเกม เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ คือ E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub> เท่ากับ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนชีววิทยาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่วมกับบอร์ดเกม กับการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่วมกับบอร์ดเกม จำนวน 65 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 65 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติและแบบใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่วมกับบอร์ดเกม เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม 2) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่วมกับบอร์ดเกม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม จำนวน 30 ข้อ (IOC อยู่ในระดับ 0.67-1.00) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Independent ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่วมกับบอร์ดเกม มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ คือ E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub> เท่ากับ 82.33/80.22 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่วมกับบอร์ดเกมสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
พีรญา ตฤณเกศโกศล
อัมพร วัจนะ
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-25
2024-11-25
8 2
35
43
-
การพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/274725
<p>รายงานการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลจากการใช้บทเรียนผ่านเว็บ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาครูที่ใช้บทเรียนผ่านเว็บ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 50 คน ระดับชั้นปีที่ 1 - 3 ซึ่งเป็นหัวหน้าและรองหัวหน้าของทุกกลุ่มเรียน จากประชากร คือ นักศึกษาปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ จำนวน 1,000 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนผ่านเว็บ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 2) แบบวัดระดับสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub> เกณฑ์ 80/80 ค่าร้อยละ คะแนนพัฒนาการ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินประสิทธิภาพของบทเรียนผ่านเว็บ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด (E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub> = 83.10/83.05) 2) ผลการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครูที่ใช้บทเรียนผ่านเว็บ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล พบว่า คะแนนการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครู ก่อนการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับสูงคิดเป็นร้อยละเฉลี่ย 61.46 และหลังการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับ สูงมาก คิดเป็นร้อยละเฉลี่ย 83.36 โดยมีค่าพัฒนาการในภาพรวมเพิ่มสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 21.90 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาครูที่ใช้บทเรียนผ่านเว็บ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล พบว่าโดยภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.67</p>
กรกมล ชูช่วย
สุดารัตน์ ศรีมา
นันทิยา น้อยจันทร์
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-25
2024-11-25
8 2
44
54
-
ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และเจตคติต่อการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านคูหา
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/268676
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E และ 2) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากสุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น จำนวน 2 แผน แผนละ 6 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง จากนั้นทำการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการศึกษาพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
จิราวรรณ ราชแก้ว
ซูวัยบ๊ะห์ มะอูเซ็ง
นัสรีนา ดือราโอะ
นุชรี เหล็บหนู
ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-25
2024-11-25
8 2
55
61
-
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อากาศและความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลพะเยา
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/269720
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง อากาศและความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลพะเยา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง อากาศและความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กับการสอนแบบปกติ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง อากาศและความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต โดยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กับการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลพะเยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 83 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้และการสอนแบบปกติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ Independent Samples t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อากาศและความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ ( E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub> ) เท่ากับ 88.71/73.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 70/70 2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อากาศและความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า นักเรียนที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อากาศและความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต มีความพึงพอใจต่อการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติและมีระดับความพึงพอใจในระดับมาก</p>
ธนกฤต อินต๊ะไชย
สมฤทัย ตันมา
พัชราวินทร์ เรือนโต
ณัตฐิยา ชัยชนะ
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-25
2024-11-25
8 2
62
74
-
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่สอนโดยใช้แบบฝึกทักษะกับการสอนแบบปกติ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/267699
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุปรัสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะเรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกทักษะกับการสอนแบบปกติ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องแรงในชีวิตประจำวัน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องแรงในชีวิตประจำวัน จํานวน 8 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องแรงในชีวิตประจำวัน จำนวน 8 แผน 3) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์แบบปกติ เรื่องแรงในชีวิตประจำวัน จำนวน 8แผน 4) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 40 ข้อ 5) แบบประเมินความพึงพอใจนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการหาประสิทธิภาพ (E1/E2) และค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1) แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน มีประสิทธิภาพ 81.25/81.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สอนโดยใช้แบบฝึกทักษะสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกทักษะโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
หนึ่งฤทัย คำหงษา
สิริพัชร์ เจษฏาวิโรจน์
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-25
2024-11-25
8 2
75
86
-
ผลการใช้ชุดฝึกทักษะอักษร 5 สี ที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านคำควบกล้ำในวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนประถมศึกษา หน่วยงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/268691
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านคำควบกล้ำในวิชาภาษาไทยก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกทักษะอักษร 5 สี 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะอักษร 5 สี เรื่องคำควบกล้ำในวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับประถมศึกษา การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอหนองจิก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดฝึกทักษะอักษร 5 สี แบบวัดทักษะการอ่าน และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) แบบ Paired Samples t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการอ่านคำควบกล้ำในวิชาภาษาไทยของนักเรียนก่อนเรียนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 4.21 และหลังเรียนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 28.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 2.37 สรุปได้ว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01; 2) ความพึงพอใจของนักเรียนโดยรวม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.19 โดยระดับความพึงพอใจรวมอยู่ในระดับพอใจมาก</p>
ฟิรฮาน แฉะ
รุสนาณี อาเก๊ะ
อุมมูกัลโสม สาเอียด
ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-25
2024-11-25
8 2
87
94
-
การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 โดยใช้ชุดฝึกกิจกรรมการแต่งตัว
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/270298
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการแต่งตัวของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 ก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกกิจกรรมการแต่งตัว และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 ก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกกิจกรรมการแต่งตัว กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนเทศบาลนาดินดำ 2 หนองนาทราย อำเภอเมือง จังหวัดเลย จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 2) แบบบันทึกชั้นเรียน 3) ชุดฝึกกิจกรรมการแต่งตัว 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการแต่งตัว และ 5) แบบประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test for Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) วงจรที่ 1 นักเรียนมีความสามารถในการแต่งตัว คิดเป็นร้อยละ 67.85 แต่ยังไม่สามารถร้อยตาไก่และตะขอได้จึงนำผลไปปรับปรุงแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และชุดฝึกกิจกรรมการแต่งตัวในวงจรที่ 2 จนสามารถทำได้ ในวงจรที่ 2 นักเรียนมีความสามารถในการแต่งตัว คิดเป็นร้อยละ 94.64 โดยมีความสามารถในการแต่งตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 26.79 และ 2) นักเรียนมีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กหลังการใช้ชุดฝึกกิจกรรมการแต่งตัวสูงกว่าก่อนการใช้ชุดฝึกกิจกรรมการแต่งตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p>
จิราวรรณ ชัยแก้ว
วีนัส ภักดิ์นรา
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-25
2024-11-25
8 2
95
105
-
การพัฒนาความสามารถในการวิจัยในชั้นเรียนโดยการนำแอปพลิเคชัน A-Math ร่วมกับการอบรมเชิงปฏิบัติการของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/268109
<p>การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการวิจัยในชั้นเรียนโดยการนำแอปพลิเคชัน A-Math ร่วมกับการอบรมเชิงปฏิบัติการของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อพัฒนาความสามารถในการวิจัยในชั้นเรียนโดยการนำแอปพลิเคชัน A-Math ร่วมกับการอบรมเชิงปฏิบัติการของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยการนำแอปพลิเคชัน A-Math ร่วมกับการอบรมเชิงปฏิบัติการของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ 73 โรงเรียน จำนวน 262 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยในชั้นเรียน แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการวิจัยในชั้นเรียนโดยการนำแอปพลิเคชัน A-Math ร่วมกับการอบรมเชิงปฏิบัติการของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า หลังจากการนำแอปพลิเคชัน A-Math ร่วมกับการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งผลให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยในชั้นเรียนสูงขึ้น 2) ผลการพัฒนาความสามารถในการวิจัยในชั้นเรียนโดยการนำแอปพลิเคชัน A-Math ร่วมกับการอบรมเชิงปฏิบัติการของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ครูมีความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจในการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยการนำแอปพลิเคชัน A-Math ร่วมกับการอบรมเชิงปฏิบัติการของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าครูมีความพึงพอใจในการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยการนำแอปพลิเคชัน A-Math ร่วมกับการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p>
พัชราภรณ์ พิลาสมบัติ
ดิษิรา ผางสง่า
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-25
2024-11-25
8 2
106
118
-
แนวทางการจัดการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดลูสพารตส์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/265653
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อแนวทางการจัดการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดลูสพารตส์ และ 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดลูสพารตส์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมศิลปะ จำนวน 9 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการกิจกรรมศิลปะ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีประเด็นในการสัมภาษณ์ประกอบด้วย 1) การจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ 2) แนวทางการกำหนดวัตถุประสงค์ 3) ลักษณะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม 4) สื่อการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในการจัดกิจกรรม และ 5) การวัดและประเมินผล ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าการจัดการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดลูสพารตส์ จะต้องจัดกิจกรรมให้มีความหลากหลายเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ จากวัสดุอุปกรณ์ที่มีความหลากหลายทั้งด้านขนาด สี และพื้นผิว สอดแทรกปัญหาเพื่อให้เด็กเกิดกระบวนการคิด ทดลอง และแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง 2) แนวทางการจัดการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดลูสพารตส์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบไปด้วย (1) การจัดสภาพแวดล้อม (2) เด็กร่วมวางแผน (3) สื่อศิลปะที่ดี และ (4) บทบาทของครูและผู้ปกครอง</p>
จันทนา ชัยโอภานนท์
โสมฉาย บุญญานันต์
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-25
2024-11-25
8 2
119
129