วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu <p>1) เพื่อส่งเสริม เผยแพร่ และตีพิมพ์บทความวิจัย ที่มีคุณภาพด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับหลักการ แนวคิดทฤษฎีการจัดการความรู้ การวัดและประเมินทางด้านการศึกษาและประเด็นอื่นที่น่าสนใจต่อการพัฒนาการศึกษา 2)เพื่อประชาสัมพันธ์และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความคิดเห็นทางด้านวิจัยและวิชาการระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ ผู้บริหาร ครู อาจารย์ และผู้ที่สนใจ</p> th-TH <div class="item copyright">เนื้อหา และข้อมูลต่างๆ ฯลฯ ในวารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา</div> <div class="item copyright">&nbsp;</div> <div class="item copyright">เนื้อหาที่ปรากฏในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ไม่ใช่ความรับผิดชอบของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาบทความ</div> <div class="item copyright">&nbsp;</div> <div class="item copyright">หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาก่อนเท่านั้น</div> Teeraporn.pl@ssru.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีราภรณ์ พลายเล็ก) maneenet.ru@ssru.ac.th (นางสาวมณีเนตร รวมภักดี) Tue, 14 May 2024 15:31:52 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/267757 <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และ 2) สังเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 50 คน ระดับชั้นปีที่ 1 - 3 ซึ่งเป็นหัวหน้าและรองหัวหน้าของทุกกลุ่มเรียน จากประชากร คือ นักศึกษาปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ จำนวน 1,000 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครู และ 2) ตารางสังเคราะห์แนวทางพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (Priority Needs Index) ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล พบว่า คะแนนเฉลี่ยของสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 3.86, S.D = 0.87) คะแนนเฉลี่ยของสภาพพึงประสงค์ อยู่ในระดับ มากที่สุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.61, S.D = 0.49) โดยมีระดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครูมากที่สุด คือ สมรรถนะด้านที่ 5 : การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสอน (PNI <sub>modified </sub>= 0.23) 2. ผลการสังเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล พบว่า มี 8 แนวทาง ได้แก่ 1. สร้างกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 2. นิเทศติดตามผลการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 3. จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 4. เสริมสร้างความรู้ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนการสอน 5. พัฒนาตนเองและองค์กร 6. ศึกษานโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด และนำมากำหนดกลยุทธ์ 7. ติดตามข่าวสาร /เป็นแบบอย่างในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนและชีวิตประจำวัน และ 8. จัดสรรงบประมาณ จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล</p> นันทิยา น้อยจันทร์, กรกมล ชูช่วย, สุดารัตน์ ศรีมา Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/267757 Tue, 14 May 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/265753 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบ และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ชั้นปีที่ 3 จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรม การอ่านภาษาอังกฤษตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบที่ได้รับการพัฒนาขึ้น มีจำนวน 6 ชุดกิจกรรม ในแต่ละชุดกิจกรรม ประกอบด้วย คู่มือครู ชุดกิจกรรมที่ผู้เรียนต้องปฏิบัติ แผนการสอน แบบฝึกหัด และสื่อการเรียนรู้ 2) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังการทดลองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> วราพร ทองจีน, จักรชัย ยิ้มงาม Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/265753 Tue, 14 May 2024 00:00:00 +0700 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกมเป็นฐานโดยใช้โปรแกรม Struckd สร้างเกมบนสมาร์ทโฟน สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/265373 <p>งานวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังเรียนโดยใช้โปรแกรม Struckd สร้างเกมบนสมาร์ทโฟน 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้โปรแกรม Struckd สร้างเกมบนสมาร์ทโฟน ประชากร คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2/2565 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ จำนวน 205 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับชั้นปีที่ 3 สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ จำนวน 25 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม Struckd สร้างเกมบนสมาร์ทโฟนสถิติที่ใช้ในงานวิจัย ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาโดยใช้โปรแกรม Struckd สร้างเกมบนสมาร์ทโฟน พบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม Struckd สร้างเกมบนสมาร์ทโฟน โดยแบบประเมินความพึงพอใจผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 และ แบบสอบถามมีความเชื่อมั่นมากกว่า 0.7 โดยภาพรวมอยู่ ในระดับมากที่สุด</p> ดวงกมล แก้วแดง, อัครเดช ศิริพงษ์วัฒนา, ดารินี ภู่ทอง, จีรัฐติกุล ต้นสายธนินทร์ Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/265373 Tue, 14 May 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิด เพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้ในตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/265226 <p>การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบคะแนนการตระหนักรู้ในตนเองก่อนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน 4) ศึกษาความก้าวหน้าของผลการเรียนรู้ของนักศึกษา การวิจัยครั้งนี้ทำการศึกษาจากประชากรทั้งหมด คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง จำนวน 55 คน เครื่องมือการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิด เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบวัดการตระหนักรู้ในตนเอง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบบันทึกการสะท้อนคิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าประสิทธิภาพของแผนการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าร้อยละความก้าวหน้าของผลการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิด มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80.18/81.45 2) คะแนนการตระหนักรู้ในตนเองหลังเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดสูงกว่าก่อนเรียน 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 4) ค่าร้อยละความก้าวหน้าของผลการเรียนรู้ภาพรวม เท่ากับร้อยละ 44.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด</p> ภัทรภรณ์ กาญจนารัตน์ Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/265226 Tue, 14 May 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การพัฒนาความเจริญรุ่งเรือง ของกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 – 6 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยใช้เกมการศึกษา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/265711 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 – 6 โดยใช้เกมการศึกษา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 - 6 โดยใช้เกมการศึกษา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 28 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ เกมการศึกษา และแบบทดสอบวัดผลทักษะการคิดวิเคราะห์ทางการเรียน เรื่อง การพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 – 6 โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการศึกษา พบว่า 1) การศึกษาทักษะการคิดวิเคระห์ของกลุ่มเป้าหมายมีทักษะการคิดวิเคราะห์ที่ดีขึ้นและผลการทดสอบอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ภายหลังการจัดการเรียนรู้ โดยอัตราค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 14.82 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 2.28 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 <strong>-</strong> 6 โดยใช้เกมการศึกษาก่อนหน้าการจัดการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายมีทักษะการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับไม่ผ่านเกณฑ์ โดยอัตราค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6.86 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 2.07 และภายหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษามีอัตราค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 14.82 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 2.28</p> กิตติธัช จรัสเลิศวงศ์ Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/265711 Tue, 14 May 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาชุดฝึกทักษะการลับมีด เพื่อส่งเสริมทักษะการลับมีดกลึง สำหรับนักศึกษาช่างอุตสาหกรรม https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/265482 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะการลับมีด เพื่อส่งเสริมทักษะการลับมีดกลึง สำหรับนักศึกษาช่างอุตสาหกรรม วิชาเครื่องมือกลเบื้องต้น เรื่องการลับมีดกลึง 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียน วิชาเครื่องมือกลเบื้องต้น เรื่องการลับมีดกลึง สำหรับนักศึกษาช่างอุตสาหกรรมกับเกณฑ์จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 30 คน จำนวน 1 ห้อง ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะ 2) แบบสังเกตพฤติกรรม 3) แบบวัดภาคปฏิบัติวัดทักษะการลับมีดกลึง 4) แบบประเมินความเหมาะสมของชุดฝึกทักษะการลับมีด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียน วิชาเครื่องมือกลเบื้องต้น เรื่องการลับมีดกลึง เพื่อส่งเสริมทักษะการลับมีดกลึง สำหรับนักศึกษาช่างอุตสาหกรรมกับเกณฑ์ ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E<sub>1</sub>) มีค่าเท่ากับ 81.11 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E<sub>2</sub>) มีค่าเท่ากับ 84.22 2) ผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะการลับมีด เพื่อส่งเสริมทักษะการลับมีดกลึง วิชาเครื่องมือกลเบื้องต้น เรื่องการลับมีดกลึง สำหรับนักศึกษาช่างอุตสาหกรรม 3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียน วิชาเครื่องมือกลเบื้องต้น เรื่องการลับมีด เพื่อส่งเสริมทักษะการลับมีดกลึง สำหรับนักศึกษาช่างอุตสาหกรรมกับเกณฑ์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยมากกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t= 17.57 , df= 29 , p= 0.00 )</p> จิรายุทธ วัดแก้ว, วรวุฒิ กังหัน, น่านน้ำ บัวคล้าย Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/265482 Tue, 14 May 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาทัศนคติต่อการแต่งเครื่องแบบครูฝึกวิชาชีพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2565 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/265809 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการแต่งเครื่องแบบครูฝึกวิชาชีพตามความคิดเห็นของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2) เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการแต่งเครื่องแบบครูฝึกวิชาชีพออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ตามความผู้เกี่ยวข้องกับงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ครูพี่เลี้ยง ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 70 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบวัดทัศนคติต่อการแต่งเครื่องแบบครูฝึกวิชาชีพ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลจากค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาทัศนคติการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูต่อการแต่งเครื่องแบบครูฝึกวิชาชีพ ตามความคิดเห็นของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2565 มีผลการศึกษาโดยรวม อยู่ในระดับมากทุกข้อ และเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายข้อ ได้แก่ แต่งเครื่องแบบครูฝึกวิชาชีพทำให้ผู้เรียนให้ความเคารพมากขึ้น แต่งเครื่องแบบครูฝึกวิชาชีพช่วยลดปัญหาการแต่งกายไม่สุภาพ และแต่งเครื่องแบบครูฝึกวิชาชีพเสริมภาพลักษณ์ความเป็นครูวิชาชีพ 2. ผลการวิเคราะห์การศึกษาทัศนคติตามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูต่อการแต่งเครื่องแบบครูฝึกวิชาชีพ ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีผลการศึกษาโดยรวม อยู่ในระดับมากทุกข้อ และเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายข้อ พบว่าแต่งเครื่องแบบครูฝึกวิชาชีพทำให้ผู้เรียนให้ความเคารพมากขึ้น </p> สงกรานณ์ ขุนทิพย์ทอง, ดวงกมล จงเจริญ, พัชราภรณ์ พิลาสมบัติ Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/265809 Tue, 14 May 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาปัญหาและการรับรู้เกี่ยวกับการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ด้วยการประเมินตนเอง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/265957 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและการรับรู้เกี่ยวกับการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ และ 2) เปรียบเทียบปัญหาและการรับรู้เกี่ยวกับการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์จำแนกตามชั้นปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 86 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินปัญหาและการรับรู้เกี่ยวกับการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบครูสคัล-วัลลิส ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาในการเขียนพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามลำดับแรก ได้แก่ การเขียนพิสูจน์ให้เป็นขั้นตอนจนได้ข้อสรุป ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 1.94 และ S.D. = 0.85) การนำบทนิยามหรือทฤษฎีบทอื่น ๆ มาใช้ในการพิสูจน์ ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 1.86 และ S.D. = 0.86) และการใช้กฎทางตรรกศาสตร์และการอ้างเหตุผลในการเขียนพิสูจน์ ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 1.84 และ S.D. = 0.87) ส่วนการรับรู้การพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ที่มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกับค่าในอุดมคติมากที่สุด คือ “การพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์เป็นทั้งการอธิบายและการตรวจสอบข้อความทางคณิตศาสตร์ว่าเป็นจริง” (ค่าผลต่าง เท่ากับ 0.63) ในขณะที่การรับรู้ที่มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกับค่าในอุดมคติมากสุด คือ “ในวิชาคณิตศาสตร์ หลักฐานด้วยตัวอย่างจะบอกได้ว่า ข้อความใดเป็นจริง” (ค่าผลต่าง เท่ากับ 3.07) และ 2) ปัญหาในการเขียนพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์และการรับรู้การพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์จำแนกตามชั้นปีในแต่ละหัวข้อไม่แตกต่างกัน ยกเว้นการรับรู้ในหัวข้อ “การพิสูจน์ข้อความทางคณิตศาสตร์ด้วยวิธีพิสูจน์ที่แตกต่างกันช่วยให้เข้าใจข้อความทางคณิตศาสตร์นั้นได้ดีขึ้น” อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> สมพล พวงสั้น, ขวัญ เพียซ้าย, สุกัญญา หะยีสาและ, เอนก จันทรจรูญ Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/265957 Tue, 14 May 2024 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง The future with will ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะกับการเรียนแบบปกติ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/266389 <p>การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะภาษาอังกฤษเรื่อง The future with will ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่เรียนแบบปกติก่อนเรียนและหลังเรียน (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะก่อนเรียนและหลังเรียน (4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะกับการเรียนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะเรื่อง The future with will 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ผ่านการหาค่าความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ 0.71 การวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า E<sub>1</sub>/E<sub>2 </sub>และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ Dependent และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า แบบฝึกทักษะเรื่อง The future with will มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.58/82.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มควบคุมที่เรียนแบบปกติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> บุตรศิรินทร์ จิวพานิชย์, อรนุช ลิมตศิริ Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/266389 Tue, 14 May 2024 00:00:00 +0700 ความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) ที่มีต่อการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/266876 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 165 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จำนวน 43 ข้อ ที่มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา IOC = 0.67 ถึง 1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.28-0.79 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า พบว่า ระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.29 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.71 เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสอดคล้องกับสถานการณ์ ด้านครูผู้สอน และด้านการวัดและการประเมินผลการสอน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านเนื้อหา ด้านวิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านผู้เรียน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง</p> สัญรัฐ ลักขณา, ศรราม สุขสำราญ Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/266876 Tue, 14 May 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/267014 <p>การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ทำงานและขนาดของสถานศึกษา 3) เพื่อประมวลข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จำนวน 260 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามเกณฑ์สัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรส่วน ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.67-1.00 และหาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีของครอนบาคได้ค่าเท่ากับ 0.972 สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการค้นคว้าอิสระพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตามเพศ พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน และขนาดสถานศึกษา พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ.05 3) ผลการประมวลข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ กล่าวคือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรนำนโยบาย เป้าหมายยุทธศาสตร์ เกณฑ์มาตรฐานของสถาน มีการสื่อสารกันอย่างเปิดเผยเพื่อความเข้าใจตรงกัน มีความสามารถคาดการณ์แนวโน้มอนาคต และคิดเชิงรุกในการกำหนดทิศทางของสถานศึกษา</p> เฟาซียะห์ ดือเระ, อะห์มัด ยี่สุ่นทรง Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/267014 Tue, 14 May 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความยึดมั่นผูกพันในการเรียนแบบผสมผสาน ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/267032 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความยึดมั่นผูกพันในการเรียนของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2565 ที่เรียนรายวิชาพัฒนาหลักสูตร ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา EDC1104การพัฒนาหลักสูตร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 126 คน ซึ่งผู้วิจัยสุ่มกลุ่มตัวอย่างการวิจัยโดยใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิ จากนั้นเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดความยึดมั่นผูกพันในการเรียนจำนวน 18 ข้อ แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ความยึดมั่นผูกพันทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2565 ที่เรียนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน มีความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 3.60, S.D. = 0.63) เมื่อพิจารณาเป็นรายสาขาวิชา พบว่า สาขาวิชาที่มีความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ภาษาไทย (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 3.90, S.D. = 0.51) การศึกษาปฐมวัย (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 3.73, S.D. = 0.64) ภาษาอังกฤษ (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 3.65, S.D. = 0.58) วิทยาศาสตร์ (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 3.62, S.D. = 0.69) สังคมศึกษา (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 3.60, S.D. = 0.62) และ คณิตศาสตร์ (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 3.57, S.D. = 0.71) ส่วนสาขาวิชาที่มีความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียนอยู่ในระปานกลาง ได้แก่ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีทางการศึกษา (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 3.14, S.D. = 0.67)</p> เพียงฤทัย พุฒิคุณเกษม, สุทธิพร แท่นทอง, ธีรารัตน์ ทิพย์จรัสเมธา, สัญสิริ อินอุ่นโชติ Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/267032 Tue, 14 May 2024 00:00:00 +0700