@article{Jiraprayut_Boonyarataphan_2015, title={การนำเครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาใช้ในหน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)}, volume={13}, url={https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/31729}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสำเร็จในการนำเครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาประยุกต์ใช้ (2) ศึกษาความแตกต่างกันของความคิดเห็นของแต่ละสายงานต่อระดับความสำเร็จในการนำเครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาประยุกต์ใช้ (3) ศึกษาเครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของหน่วยธุรกิจน้ำมัน (4) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคในการนำเครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาประยุกต์ใช้ และ (5) เสนอแนะแนวทางการนำเครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาประยุกต์ใช้ให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นในอนาคต</p><p>                              การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่เน้นการวิจัยเชิงปริมาณและมีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วย ประชากรคือพนักงานในสังกัดหน่วยธุรกิจน้ำมัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบสอบถามใช้รวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานในสังกัดหน่วยธุรกิจน้ำมัน 313 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน และ (2) แบบสัมภาษณ์ใช้รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารระดับสูง 11 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยและการจำแนกชนิดข้อมูลอย่างเป็นระบบ</p><p>                              ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความสำเร็จในการนำเครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาประยุกต์ใช้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80  (2) แต่ละสายงานของหน่วยธุรกิจน้ำมันมีความเห็นต่อความสำเร็จในการนำเครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาประยุกต์ใช้ในหน่วยธุรกิจน้ำมันไม่แตกต่างกัน (3) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบริหารคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม และการจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสำเร็จของหน่วยธุรกิจน้ำมัน รวมร้อยละ 83.7 (4) จุดแข็งคือทัศนคติพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ปรับตัวได้ดี จุดอ่อนคือการสื่อสารไม่ค่อยมีประสิทธิภาพและพนักงานรุ่นบุกเบิกไม่ค่อยปรับตัว โอกาสคือนโยบายรัฐสนับสนุน อุปสรรคคือนโยบายรัฐและกฎหมายไม่เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจ และ (5) ข้อเสนอแนะคือควรศึกษา วิเคราะห์ บูรณาการ และประยุกต์ใช้เครื่องมือการบริหารจัดการในระยะเวลาที่เหมาะสม มีการประเมินผลอย่างเป็นระบบ สื่อสารสร้างความรู้ความเข้าใจ พัฒนาบุคลากรให้มีทัศนคติที่ดีและสร้างขวัญกำลังใจให้บุคลากร</p><p>                         ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ (1) ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารทรัพยากรมนุษย์บนพื้นฐานของสมรรถนะให้ครอบคลุมทุกองค์ประกอบอย่างมีประสิทธิภาพ  (2) ควรมีระบบการบริหารจัดการที่เป็นลักษณะเฉพาะตามวิถีของ ปตท. (PTT‘s Way) ที่เหมาะสมกับบริบทและวัฒนธรรมองค์กร ไม่ซ้ำซ้อน ง่ายต่อการปฏิบัติ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและเป็นองค์กรที่นำการเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน และ (3) ควรสร้างค่านิยมร่วมในการประยุกต์ใช้เครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ให้แก่บุคลากร</p>}, number={1}, journal={Modern Management Journal}, author={Jiraprayut, Phillips and Boonyarataphan, Theppasak}, year={2015}, month={Sep.}, pages={13–34} }