TY - JOUR AU - ยมจินดา, ธนชัย AU - ศรีสุวรรณนภา, ชานินทร์ AU - ตันติวาณิช, ดลชาติ AU - หลายพสุ, พรชัย PY - 2013/09/20 Y2 - 2024/03/28 TI - ผลสำรวจและการเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการพลเรือน ต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการและจังหวัดประจำปี 2552 JF - Modern Management Journal JA - Mod Manag J VL - 8 IS - 2 SE - Research Articles DO - UR - https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/11851 SP - 17-32 AB - <p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong></strong></p> <p>การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความคิดเห็นของข้าราชการพลเรือนต่อการบริหารทรัพยากร บุคคลของส่วนราชการ ประจำปี 2552 2) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจโดยรวมและรายด้านของข้าราชการส่วนกลาง และข้าราชการส่วนภูมิภาคประจำปี 2552 และ 3) เปรียบเทียบกับความพึงพอใจของข้าราชการ ประจำปี 2552 กับ ปี 2551 และ ปี 2550 ซึ่งมีผลการวิจัยไว้ก่อนแล้ว เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และรวมถึงความสามารถ และ ความพร้อมของหน่วยงานทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการในการนำแผนกลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติไปสู่ การปฏิบัติที่บรรลุผลสัมฤทธิ์</p> <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจใช้แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าของ ลิเคิร์ต กับผู้ตอบแบบสอบถามซึ่ง เป็นข้าราชการพลเรือน จำนวน 26,373 คน จาก 135 กรม (19 กระทรวง) และ 75 จังหวัด แยกเป็นจากส่วนกลาง จำนวน 12,220 คน และส่วนภูมิภาคจำนวน 14,153 คน จากจำนวนประชากรข้าราชการพลเรือนทั้งประเทศ 365,914 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้าราชการมีความคิดเห็นต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการ ประจำปี 2552 โดยรวมอยู่ในระดับ ไม่แน่ใจ หรือพอใจ ปานกลาง โดยข้าราชการส่วนภูมิภาคมีค่าเฉลี่ยความพอใจโดยรวมสูงกว่า ข้าราชการส่วนกลาง และเมื่อพิจารณาในประเด็นศึกษา ทั้ง 10 ประเด็น พบว่าข้าราชการส่วนภูมิภาคมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ สูงกว่าในทุกประเด็น ทั้ง 2 กลุ่ม มีความคิดเห็นในระดับไม่แน่ใจ หรือพึงพอใจปานกลางเหมือนกันในเกือบทุกประเด็น ยกเว้นประเด็นที่เกี่ยวกับงาน และ สภาพแวดล้อมการทำงานซึ่งมีความพอใจมาก 2) เมื่อเปรียบเทียบภาพรวมของปี 2552 กับปี 2551 และปี 2550 พบว่าระดับความพึงพอใจต่อหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์มีค่าเฉลี่ยลดลงในแต่ละปีตามลำดับ</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong> :</strong> ข้าราชการพลเรือน, หน่วยงานบริหารทรัพยากรบุคคล, ส่วนราชการ</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The purposes of this survey research were to 1) study the opinions of Thailand civil service satisfaction pertaining to the overall and/or subset roles and functions of its human resource management units during 2009 calendar year, 2) compare the civil service satisfaction of both central and provincial groups for the year 2009 and 3) compare the overall opinions of Thailand civil service satisfaction of the year 2009 with the findings of prior years of 2007-2008 with respect to factors contributing to the ability and readiness of the human resource units of various government departments in implementing the national strategic human resource development plan promoted and enforced by the Civil Service Commissioner.</p> <p>A Likert scale questionnaire survey elicited response from civil service employees using a validated  instrumentie, percentage, mean and standard deviation. The variables included in the study were based on prevailing practice in current human resource management. The samples comprise 26,373 respondents of 135 government departments from 19 ministry of Thai civil services.</p> <p>The result revealed that 1) the overall level of satisfaction were at the uncertain or moderate satisfaction for both central and provincial groups of which the higher mean was for the latter in all dimensions. Both groups of respondents were moderately satisfied with all factors except with respect to the dimension of work nature and working condition which shown high satisfaction. 2) With respect to comparison of 2009 result finding with the previous year of 2007 and 2008, the result shown the higher overall mean average for each of the preceding years respectively.</p> <p><strong>Keywords :</strong> civil service, human resource management units, government departments</p> ER -