TY - JOUR AU - วศวรรณวัฒน์, ธัญญรัศม์ AU - เห็นโชคชัยชนะ, นิพันธ์ PY - 2013/09/24 Y2 - 2024/03/29 TI - มาตรฐานการบัญชีไทยตามทัศนะของผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชีและอาจารย์ผู้สอนวิชาทางการบัญชี JF - Modern Management Journal JA - Mod Manag J VL - 8 IS - 1 SE - Research Articles DO - UR - https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/11923 SP - 33-48 AB - <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้มาตรฐานการบัญชีไทยและปัญหาที่พบในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี รวมทั้งในการสอนของอาจารย์ผู้สอนวิชาทางการบัญชี 2) ศึกษาระดับคุณภาพมาตรฐานการบัญชีไทยตามทัศนะของผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชีและอาจารย์ผู้สอนวิชาทางการบัญชี 3) ศึกษาผลกระทบจากปัญหาและการปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีไทยที่มีต่อการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชีและอาจารย์ผู้สอนวิชาทางการบัญชี และ 4) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีไทยให้ดียิ่งขึ้น</p> <p>กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาประกอบด้วยผู้ทำบัญชี 86 ราย ผู้สอบบัญชี 17 ราย และอาจารย์ผู้สอนวิชาทางการบัญชี 108 ราย รวม 211 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและวิธีกำลังสองน้อยที่สุดเพื่อทดสอบความแตกต่างของ ค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) มาตรฐานการบัญชีไทยฉบับที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงานมากที่สุดคือ ฉบับที่ 32 เรื่องที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ส่วนฉบับที่พบปัญหามากที่สุดคือฉบับที่ 36 เรื่องการด้อยค่าของสินทรัพย์ โดยสาเหตุของปัญหาลำดับแรกคือ ขาดตัวอย่างประกอบที่จะทำให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหา รองลงมาคือภาษาที่ใช้เข้าใจยากและขาดคำอธิบายที่ เพียงพอต่อการทำความเข้าใจ ตามลำดับ 2) ผ้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความเห็นว่าคุณภาพโดยรวมของมาตรฐานการบัญชีไทยอยู่ในระดับปานกลาง และส่วนใหญ่มีความเห็นว่ามาตรฐานการบัญชีไทยเป็นกฎหมายจึงควรมีเนื้อหาให้ครบถ้วนทั้งฉบับที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา รองลงมาคือมาตรฐานการบัญชีไทยมีการปรับปรุงบ่อยทำให้ระยะเวลาการบังคับใช้สั้น จึงทำให้เกิดความสับสนว่ามาตรฐานการบัญชีฉบับใดที่มีผลบังคับใช้อยู่ กลุ่มอาจารย์ผู้สอนวิชาทางการบัญชี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีไทยในภาพรวมแตกต่างจากกลุ่มผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ไม่พบความแตกต่างในกลุ่มผู้ทำบัญชีกับกลุ่มผู้สอบบัญชี 3) ปัญหาและการปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีไทยมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีและอาจารย์ผู้สอนวิชาทางการบัญชีในระดับมาก แต่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีในระดับปานกลาง และ 4) แนวทางพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีไทยคือ สภาวิชาชีพบัญชีควรวิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบในทางปฏิบัติให้ชัดเจนก่อนประกาศบังคับใช้ ควรมีตัวอย่างและกรณีศึกษา ให้เพิ่มมากขึ้น และควรมีความสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในประเทศไทย</p> <p><strong>คำ</strong><strong>สำคัญ: </strong>มาตรฐานการบัญชีไทย ผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี อาจารย์ผู้สอนวิชาทางการบัญชี</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The purposes of this research were to 1) study the application and problems from applying Thai Accounting Standards (TAS) in the practices of accountants, auditors and accounting instructors, 2) study the quality of TAS in opinion of accountants, auditors and accounting instructors , 3) study the impact of problems and improvement in TAS on the practices of auditors, accountants and accounting instructors, and 4) provide guidance for development and improvement of TAS.</p> <p>Samples of 211 comprised 86 accountants, 17 auditors and 108 accounting instructors . Instrument used was questionnaire. Statistical tools employed were frequency, percentage, mean, standard deviation, One -way ANOVA and LSD method.</p> <p>The results showed that 1) TAS no. 32 : Property, Plant and Equipment was mostly used in the application, TAS with most problem was 110.36: Impairment of Assets. Major cause of the problem was lack of examples to facilitate understanding on the content, other causes were: difficulty of language used and lack of sufficient explanation for better understanding, respectively. 2) The quality of TAS was at moderate level. Most respondents viewed that TAS was considered a law; so the content should be shown in full as published in Royal Thai Government Gazette. Moreover, the improvement of TAS occurred quite often resulting in short period of its enforcement, so consequently, users were confused which TAS was enforced at time. The view of accounting instructors on TAS in general was different from that of accountants and auditors with 0.05 level of significance; but no difference was found between the views of accountants and auditors. 3) Problems and improvement in TAS had great impact on the practices of accountants and accounting instructors, while the impact on auditors’ practices was at moderate level. 4) Guidance for development and improvement of TAS were: the Federation of Accounting Professions (FAP) should investigate problems and impacts on practices before announcing the enforcement of TAS. Moreover, examples and case studies should be added, and TAS content should be compatible with the context of Thailand.</p> <p><strong>Keywords: </strong>Thai Accounting Standards, Accountants and Auditors, Accounting instructors</p> ER -