https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal/issue/feed
วารสารกองทุนพัฒนาสือปลอดภัยและสร้างสรรค์
2025-03-31T18:01:44+07:00
ThaiMediaFund
journal.tmf@thaimediafund.or.th
Open Journal Systems
<p>ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของวารสารวิชาการ ในฐานะที่เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่องค์ความรู้และความก้าวหน้าทางวิชาการ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จึงได้ดำเนินการจัดทำ<br />วารสารวิชาการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ หรือ TMF Journal ขึ้น <br />เพื่อรวบรวมและเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการด้านสื่อและที่เกี่ยวข้องกับสื่อ <br />เพื่อให้เป็นแหล่งค้นคว้าและอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ อันจะนำไปสู่การพัฒนานิเวศสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ สอดคล้องกับภารกิจสำคัญของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ <br />ตามความในมาตรา 5 (5) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558</p>
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal/article/view/276066
ปรากฏเกม: ปรากฏการณ์ จากความเป็นไทยสู่สังคมดิจิทัลในวัฒนธรรมสมัยนิยม
2025-03-03T10:12:11+07:00
นที มณฑลวิทย์
nathee.mon@rmutr.ac.th
<p>สังคมไทยในปัจจุบันเป็นยุคที่มีการบริโภคสื่อทางวัฒนธรรมดิจิทัล <br />ที่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมสมัยนิยม โดยสื่อประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญและได้รับความนิยมจนกลายเป็นสื่อกระแสหลัก คือ วิดีโอเกม ที่เป็นการรวมศาสตร์ต่าง ๆ ในการผลิต โดยเฉพาะด้านศิลปะและการออกแบบ บทความวิชาการนี้จึงเป็นการสำรวจในเชิงปรากฏการณ์ในวงการวิดีโอเกมไทยตั้งแต่ยุคก่อนอินเตอร์เน็ตจนถึงยุคสื่อสังคมออนไลน์ ผ่านการศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ในด้านเอกสารและสื่อในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อศึกษาวัฒนธรรมสมัยนิยมผ่านวีดิโอเกมในไทย</p> <p>โดยพบว่าวิดีโอเกมไทยช่วงแรก ยังคงมีความเป็นลักษณะอุดมการณ์ชาตินิยมในความเป็นไทย แต่ในช่วงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงที่มีความเป็นสากลต่อความเป็นไทยในสังคมดิจิทัล มีเนื้อหาทางวัฒนธรรมสมัยนิยม และส่งผลกระทบผ่านวิดีโอเกมสู่ชีวิตจริง เช่น การบริโภค อุปโภค การข้ามสื่อ และการถูกนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ เช่น วิดีโอเกมและความสัมพันธ์ต่อมนุษย์ วิดีโอเกมกับคุณภาพชีวิต และวิดีโอเกมกับยุค โควิด-19 โดย ดังนั้น ผลกระทบโดยรวมจากเนื้อหาของวิดีโอเกมไทย จึงยังไม่ปรากฏถึงผลกระทบต่อสังคมในเชิงประจักษ์ที่เป็นวัฒนธรรมสมัยนิยมในความเป็นสากล โดยมีรากฐานมาจากความเป็นไทยในยุคดิจิทัล แต่กลับกลายมีความเป็นไทยที่เป็นการผสมผสาน ความเป็นสากลผ่านวัฒนธรรมสมัยนิยมจากต่างประเทศ</p>
2025-03-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารกองทุนพัฒนาสือปลอดภัยและสร้างสรรค์
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal/article/view/276467
การรับรู้ข้อมูลสุขภาพที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจรเข้สามพัน
2025-03-19T06:52:40+07:00
จารุวรรณ กิตตินราภรณ์
jaruwan.k@rumail.ru.ac.th
วาริศา พลายบัว
warisa7791@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ข้อมูลสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคมที่อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจรเข้สามพัน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข้อมูลสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคมที่อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจรเข้สามพัน คณะผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative methodology) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ใช้ประเด็นคำถามเพื่อเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยรวบรวมจากกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม ตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 17 คน พบว่า การรับรู้ข้อมูลสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างการเปิดรับ<strong>สื่อบุคคลมากที่สุด </strong>และลำดับถัดมา ได้แก่ สื่อยูทูบ (YouTube) และสื่อโทรทัศน์ ความบ่อยครั้งในการรับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ พบว่า <strong>กลุ่มตัวอย่างเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์และสื่อโทรทัศน์ทุกวัน </strong>สำหรับ<strong>สื่อบุคคล</strong>กลุ่มตัวอย่างเปิดรับสื่อบุคคลมากที่สุดแต่ในทางกลับกันกลับมีความถี่ในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพเป็นลำดับที่ 2 อีกทั้ง ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข้อมูลสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างที่ว่า <strong>ยิ่งกลุ่มตัวอย่างรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพมากเท่าใด ยิ่งมีพฤติกรรมสุขภาพมากขึ้นเท่านั้น</strong></p>
2025-03-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารกองทุนพัฒนาสือปลอดภัยและสร้างสรรค์
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal/article/view/276470
ปัจจัยการรู้เท่าทันสื่อสุขภาพแบบออนไลน์ที่ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
2025-03-07T10:45:10+07:00
กิรติ คเชนทวา
laterrepolka2011@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยการรู้เท่าทันสื่อสุขภาพแบบออนไลน์ที่ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และแบบสอบถามปลายปิดเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 160 คน โดยเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ผลการวิจัย พบว่า โมเดลการวัดและโมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยการรู้เท่าทันสื่อสุขภาพแบบออนไลน์ที่ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตัวแปรแฝง 5 ตัวแปร และตัวแปรสังเกตได้ 10 ตัวแปรสามารถเป็นองค์ประกอบของโมเดลเชิงสาเหตุ นอกจากนี้ ตัวแปรแฝงการรู้เท่าทันสื่อสุขภาพแบบออนไลน์ มีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ผ่านการรับรู้ความเสี่ยงและความรุนแรงของโรค การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง โดยตัวแปรแฝงการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม มีความสามารถในการทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้มากที่สุด โดยสามารถทำนายได้ร้อยละ 66 (R<sup>2</sup> = 0.66)</p>
2025-03-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารกองทุนพัฒนาสือปลอดภัยและสร้างสรรค์
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal/article/view/277839
กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อผ่านกิจกรรม สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
2025-03-16T17:17:02+07:00
นพวรรณ บุญธรรม
noppawan.mju@gmail.com
ปิยพร เสาร์สาร
psaosarn@gmail.com
มลวิภา ศิริโหราชัย
movipa45@yahoo.com
<p>บทความนี้เป็นผลจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหาและพฤติกรรมการใช้สื่อของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา พร้อมกับนำเสนอกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อผ่านกิจกรรม ผลศึกษาชี้ว่า พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ในชีวิตประจำวันของนักเรียนมีเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยส่วนใหญ่มีทักษะการใช้สื่ออยู่ที่ระดับมากถึงมากที่สุด นักเรียนส่วนใหญ่มีเป้าหมายการใช้สื่อเพื่อความบันเทิง รองลงมา เพื่อการศึกษาเรียนรู้ การสื่อสารกับครอบครัวและเพื่อน และบางส่วนใช้สื่อออนไลน์เพื่อหารายได้หรือสร้างอาชีพ การทำกิจกรรมกลุ่มช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบ วางแผน และดำเนินกิจกรรมที่หลากหลายตามศักยภาพและความสนใจ ขณะเดียวกัน ยังได้สร้างพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักเรียนทั้งการผลิตผลงานสื่อ และแบ่งปันความรู้ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ นอกจากนี้ งานวิจัยได้มีข้อเสนอแนะแนวทางสร้างเครือข่ายการรู้เท่าทันสื่อ ให้เป็นกลไกขับเคลื่อนกิจกรรมร่วมกับคณะทำงานระดับพื้นที่ เพื่อรณรงค์กิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อ ป้องกันภัยคุกคามจากโซเชียลมีเดีย และเฝ้าระวังอาชญากรรมทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
2025-03-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารกองทุนพัฒนาสือปลอดภัยและสร้างสรรค์
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal/article/view/278169
การพัฒนาสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และปรับลดคุณลักษณะความบกพร่องทางการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ระดับประถมศึกษา
2025-03-13T12:58:18+07:00
นัฐจิรา บุศย์ดี
nutjira.busadee@cmu.ac.th
พิมพ์พธู สุตานันต์
pimpathu.s@cmu.ac.th
สิระ สมนาม
sira.s@cmu.ac.th
สุนีย์ เงินยวง
sunee.ng@cmu.ac.th
รัชนีกร ทองสุขดี
pia_ratchaneekorn@hotmail.com
ชัยณรงค์ จารุพงศ์พัฒนะ
chainarong.j@cmu.ac.th
ประไพลิน จันทน์หอม
prapailin.j@cmu.ac.th
<p style="font-weight: 400;"><em>สื่อสร้างสรรค์วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ วิชาละ </em><em>10 หน่วยการเรียนรู้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 102 คนของ 17 โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม/โรงเรียนต้นแบบเรียนรวมใน 17 จังหวัดภาคเหนือนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้วิชาละ 34 คน รวมทั้งหมด 102 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และปรับลดคุณลักษณะความบกพร่องทางการเรียนรู้โดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ระดับประถมศึกษา เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมินผลการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนแต่ละหน่วยการเรียนรู้ของแต่ละวิชา และแบบวัดคุณลักษณะความบกพร่องทางการเรียนรู้ ผลการวิจัย พบว่า </em></p> <ol> <li class="show" style="font-weight: 400;"><em> ผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้หลังเรียนรู้โดยใช้สื่อสร้างสรรค์วิชาภาษาไทย และคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี ส่วนภาษาอังกฤษอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนร้อยละเฉลี่ยแต่ละวิชาอยู่ที่ 78.68, 70.90 และ 63.16 ตามลำดับ และมีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ของวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษเท่ากับ 40%, 39% และ 33% แสดงว่าสื่อสร้างสรรค์สามารถพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ทั้งสามวิชาได้ในระดับปานกลาง</em></li> </ol> <p><em style="font-weight: 400;">2. ผลการปรับลดคุณลักษณะความบกพร่องทางการเรียนรู้ เมื่อประเมินนักเรียนครบ 3 รอบพบว่า ในวิชาภาษาไทยสามารถปรับลดคุณลักษณะความบกพร่องทางการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด แยกเป็นคุณลักษณะความบกพร่องด้านการอ่าน 31 จาก 32 คุณลักษณะ (96.88%) และด้านการเขียน 18 จาก 20 คุณลักษณะ (90%) ส่วนวิชาภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์สามารถปรับลดคุณลักษณะความบกพร่องทางการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง ในวิชาภาษาอังกฤษสามารถปรับลดคุณลักษณะความบกพร่องด้านการอ่าน 13 จาก 24 คุณลักษณะ (54.17%) ด้านการเขียนปรับลดได้ 11 จาก 15 คุณลักษณะ (73.33%) และวิชาคณิตศาสตร์สามารถปรับลดคุณลักษณะความบกพร่องด้านการคิดคำนวณ ได้ 20 จาก 27 คุณลักษณะ (74.07%)</em></p>
2025-03-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารกองทุนพัฒนาสือปลอดภัยและสร้างสรรค์