วารสารกองทุนพัฒนาสือปลอดภัยและสร้างสรรค์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal <p>ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของวารสารวิชาการ ในฐานะที่เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่องค์ความรู้และความก้าวหน้าทางวิชาการ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จึงได้ดำเนินการจัดทำ<br />วารสารวิชาการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ หรือ TMF Journal ขึ้น <br />เพื่อรวบรวมและเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการด้านสื่อและที่เกี่ยวข้องกับสื่อ <br />เพื่อให้เป็นแหล่งค้นคว้าและอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ อันจะนำไปสู่การพัฒนานิเวศสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ สอดคล้องกับภารกิจสำคัญของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ <br />ตามความในมาตรา 5 (5) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558</p> วารสารกองทุนพัฒนาสือปลอดภัยและสร้างสรรค์ th-TH วารสารกองทุนพัฒนาสือปลอดภัยและสร้างสรรค์ 2774-1303 ชนิดของสื่อที่ส่งผลให้ผู้ประกันตนตัดสินใจใช้และยอมรับการใช้บริการ e-Self Service กรณีคลอดบุตรของสำนักงานประกันสังคม จังหวัดสมุทรปราการ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal/article/view/274380 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาชนิดของสื่อที่สำนักงานประกันสังคม จังหวัดสมุทรปราการ ใช้สื่อสารกับผู้ประกันตนให้ตัดสินใจใช้ <br />e-Self Service สำหรับยื่นขอรับประโยชน์ ในกรณีคลอดบุตร 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกันตนต่อการใช้บริการผ่านระบบ e-Self Service สำนักงานประกันสังคม กรณีคลอดบุตร 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกันตนต่อการใช้บริการผ่านระบบ e-Self Service สำนักงานประกันสังคม กรณีคลอดบุตร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง จากเจ้าหน้าที่ส่วนงานสิทธิประโยชน์สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรปราการ สาขาบางพลี จำนวน 8 คน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นผู้ประกันตนที่มีความมั่นใจจากติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมทางสื่อออนไลน์ และศึกษารายละเอียดสิทธิประโยชน์ผ่านสื่อไม่สอบถามจากเจ้าหน้าที่ และสุดท้ายตัดสินใจใช้และยอมรับผลการใช้บริการ e-Self Service ระหว่างวันที่ 4-10 กรกฎาคม 2567 สถานที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรปราการ สาขาบางพลี ผลงานวิจัย พบว่า 1) ผู้ประกันตนตัดสินใจใช้บริการ e-Self Service จาก Facebook สำนักงานประกันสัง 2) ความคิดเห็นต่อการใช้บริการผ่านระบบ e-Self Service สำนักงานประกันสังคม กรณีคลอดบุตร มีสะดวกรวดเร็วประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาติดต่อยังสำนักงานลดปริมาณเอกสารประหยัดทรัพยากรกระดาษไม่ต้องถ่ายเอกสารหรือทำสำเนา 3) ปัญหาและอุปสรรคต่อการใช้บริการผ่านระบบ e-Self Service สำนักงานประกันสังคม กรณีคลอดบุตร ได้แก่ ผู้ประกันตนเข้าระบบไม่ได้ ลืมรหัสผ่านลืมเบอร์โทรศัพท์เพื่อรีเซ็ตรหัสผ่าน ไม่มีการแจ้งเตือนในการยื่นเรื่องหรือติดตามขั้นตอนการดำเนินการผู้ประกันตนไม่ทราบว่าสามารถยื่นผ่านระบบ e-Self Service สำนักงานประกันสังคม กรณีคลอดบุตรได้ เอกสารที่แนบในระบบ<br />ไม่ชัดเจนหรือไม่ถูกต้อง ทำไม่เป็น ไม่มีสมาร์ทโฟน ไม่มีอินเทอร์เน็ต และเกิดความยุ่งยากต่อชาวต่างชาติหรือต่างด้าวเนื่องจากระบบมีแต่ภาษาไทย ตามลำดับ</p> ชัชรภูมิ บุญเทพ Copyright (c) 2024 วารสารกองทุนพัฒนาสือปลอดภัยและสร้างสรรค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-30 2024-09-30 3 3 1 26 การศึกษาชนิดของสื่อและเนื้อหาของการสื่อสารที่ทำให้ผู้ประกันตนติดตามมายื่นขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal/article/view/274383 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของสื่อที่มีผลต่อการมายื่นขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรปราการ สาขาพระประแดงและเพื่อศึกษาชนิดของสื่อที่มีผลต่อการมายื่นขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และศึกษาเนื้อหาของการสื่อสารที่มีผลต่อการมายื่นขอรับประโยชน์ทดแทน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงจากผู้ประกันตนที่มาติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรปราการ สาขาพระประแดง จำนวน 10 คน โดยกำหนดคุณสมบัติเป็นผู้ใช้สื่อศึกษาเนื้อหา และติดต่อยื่นขอรับประโยชน์ด้วยตนเองไม่ผ่านผู้อื่น สถานที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรปราการ สาขาพระประแดง ผลการวิจัยพบว่า 1) ชนิดชองสื่อที่ผู้ประกันตนใช้เป็นประจำ คือ TV สื่อบุคคล (ฝ่ายบุคคล ผู้นำชุมชน ญาติ เพื่อนร่วมงาน 3 แอปพลิเคชัน TIK TOK แผ่นพับ/ โปสเตอร์/ คู่มือ YouTube และ Google, Line Official และ Facebook 2) ผู้ประกันตนชอบเนื้อหาเพื่อความบันเทิง เนื้อหาเพื่อการชักจูง เนื้อหาเพื่อให้ความรู้ 3) แสดงเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจใช้บริการ เนื้อหาเพื่อให้ความรู้ เนื้อหาเพื่อความบันเทิง เนื้อหาเพื่อการชักจูง</p> ปรางจิต พันธุรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารกองทุนพัฒนาสือปลอดภัยและสร้างสรรค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-30 2024-09-30 3 3 27 46 การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมมาตรา 40 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal/article/view/274387 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาวิธีการสื่อสารสิทธิประโยชน์มาตรา 40 ของสำนักงานประกันสังคมที่มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อศึกษาชนิดของสื่อที่ผู้ประกันตนไม่นิยมติดตามรับรู้สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสระบุรี สาขาหนองแค ในเขตอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะลึก จากผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสระบุรี สาขาหนองแค ในเขตอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จำนวน 10 ราย ซึ่งใน 10 ราย คัดเลือกแบบเจาะจงที่มีความเข้าใจมาตรา 40 และส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อรักษาสิทธิ์ทุกเดือน พบว่า 1) สื่อหรือช่องทางที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เลือกใช้ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารงานประกันสังคมมีทั้งสื่อดั้งเดิมและสื่อสมัยใหม่ ได้แก่ แอปพลิเคชันไลน์ (Line) เป็นช่องทางที่ผู้ประกันตนส่วนใหญ่เลือกเป็นอันดับแรก สื่อบุคคล อันดับ 2 สื่อสิ่งพิมพ์/ แผ่นพับ อันดับ 3 และแอปพลิเคชันติ๊กตอก (TikTok) อันดับ 4 และ 2) ปัญหาและอุปสรรคต่อการรับรู้สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสระบุรี สาขาหนองแค พบว่า ผู้ประกันตน ไม่ได้ติดตามสื่อออนไลน์ เป็นอันดับ 1 ไม่ได้ดูสื่อทางโทรทัศน์ อันดับ 2 ไม่ได้ฟังสื่อทางวิทยุกระจายเสียง อันดับ 3 และไม่ได้รับสื่อสิ่งพิมพ์/ แผ่นพับเป็นอันดับ 4</p> ทัดดาว หงวนไธสง Copyright (c) 2024 วารสารกองทุนพัฒนาสือปลอดภัยและสร้างสรรค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-30 2024-09-30 3 3 47 72 การผลิตสื่อวีดิทัศน์สารคดีเรื่องทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน ภาคอีสาน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal/article/view/274569 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><em> </em>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนภาคอีสานที่มีความโดดเด่น และผลิตสื่อวีดิทัศน์สารคดีเรื่องทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนภาคอีสาน 5 จังหวัด ได้แก่ ชุมชนบ้านกุดหว้า จังหวัดกาฬสินธุ์ ชุมชนบ้านหัวขัว จังหวัดขอนแก่น ชุมชนบ้านหัวขัว จังหวัดมหาสารคาม ชุมชนบ้านไร่ จังหวัดชัยภูมิ และชุมชนบ้านคีรีวงกต จังหวัดอุดรธานี ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมด้วยวิธีการสัมภาษณ์จากกลุ่มเป้าหมาย คือ ปราชญ์และผู้รู้ ชุมชนละ 2 คน รวมทั้งหมด 10 คน วิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา และใช้การวิจัยเชิงปริมาณประเมินคุณภาพสื่อวีดิทัศน์ ผลการศึกษาแบ่งเป็น 3 ประเด็น คือ 1) ข้อมูลทุนทางวัฒนธรรรมที่โดดเด่นของชุมชนภาคอีสาน 2) การผลิตสื่อวีดิทัศน์สารคดีเรื่องทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนภาคอีสาน ตามขั้นตอนการผลิตสื่อวีดิทัศน์และการผลิตรายการสารคดี (Klainak, 2007; Wipasrinimit, 2009) 5 ขั้นตอน คือขั้นการวางแผน ขั้นเตรียมการผลิต ขั้นดำเนินการผลิต ขั้นหลังการผลิต และขั้นประเมินผลสื่อวีดิทัศน์ และ 3) ผลการประเมินคุณภาพสื่อวีดิทัศน์จากการรับชมของเด็ก เยาวชนและสมาชิกในชุมชน จำนวน 37 คน พบว่า คุณภาพสื่อภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.57 (SD=0.61)</p> เกียรติศักดิ์ สุริยะภูมิ สราลี โอธินทรยุทธ Copyright (c) 2024 วารสารกองทุนพัฒนาสือปลอดภัยและสร้างสรรค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-30 2024-09-30 3 3 73 117 การประเมินผลเชิงระบบของการใช้ Telemedicine ในระบบสุขภาพ: บทวิเคราะห์ตามกรอบคุณภาพของ Institute of Medicine https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal/article/view/274585 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> Telemedicine ได้กลายเป็นนวัตกรรมสำคัญในระบบสุขภาพทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของโควิด-19 บทความนี้นำเสนอการประเมินผลเชิงระบบของการใช้ Telemedicine โดยใช้กรอบคุณภาพของ Institute of Medicine (IOM) ซึ่งประกอบด้วย 6 ด้านหลัก ได้แก่ ความปลอดภัยประสิทธิผล การยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ความทันเวลาและการเข้าถึงบริการ ประสิทธิภาพ และความเท่าเทียมทางสุขภาพ การทบทวนวรรณกรรมและการวิเคราะห์หลักฐานเชิงประจักษ์พบว่า Telemedicine มีศักยภาพในการเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลและกลุ่มประชากรที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลในการจัดการโรคเรื้อรังหลายชนิด และมีศักยภาพในการลดต้นทุนทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายในด้านความปลอดภัยของข้อมูล การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย และความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงเทคโนโลยีบทความนี้ยังเสนอแนะแนวทางในการพัฒนา และการนำ telemedicine ไปใช้อย่างมีคุณภาพ รวมถึงการพัฒนามาตรฐานการประเมินผล การส่งเสริมการวิจัยเชิงประจักษ์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี และการปรับปรุงนโยบายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องการประเมินผลอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมจะเป็นกุญแจสำคัญในกาพัฒนา Telemedicine เพื่อยกระดับคุณภาพการดูแลสุขภาพ เพิ่มการเข้าถึงบริการ และลดความไม่เท่าเทียมทางสุขภาพ อันจะนำไปสู่การพัฒนาระบบสุขภาพที่ยั่งยืนในอนาคต</p> ณัฏฐชัย สุวจิตตานนท์ ทักษอร วิโรจน์วรรณ อนันต์ ธรรมชาลัย Copyright (c) 2024 วารสารกองทุนพัฒนาสือปลอดภัยและสร้างสรรค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-30 2024-09-30 3 3 118 144