วารสารกองทุนพัฒนาสือปลอดภัยและสร้างสรรค์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal <p>ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของวารสารวิชาการ ในฐานะที่เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่องค์ความรู้และความก้าวหน้าทางวิชาการ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จึงได้ดำเนินการจัดทำ<br />วารสารวิชาการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ หรือ TMF Journal ขึ้น <br />เพื่อรวบรวมและเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการด้านสื่อและที่เกี่ยวข้องกับสื่อ <br />เพื่อให้เป็นแหล่งค้นคว้าและอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ อันจะนำไปสู่การพัฒนานิเวศสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ สอดคล้องกับภารกิจสำคัญของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ <br />ตามความในมาตรา 5 (5) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558</p> th-TH journal.tmf@thaimediafund.or.th (ThaiMediaFund) journal.tmf@thaimediafund.or.th (นายแอ๊ด นิยมจ้อย) Sun, 30 Jun 2024 19:19:46 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบาทของสื่อเพื่อการเผยแพร่กีฬาสู่เยาวชน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal/article/view/272404 <p>บทความนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอถึงแนวทางการสื่อสารและประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และตระหนักในความสำคัญของกีฬาในหมู่เยาวชนที่กำลังจะเติบโตขึ้นไปเป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพในอนาคต โดยผู้เขียนได้ศึกษาถึงแนวคิดการแบ่งช่วงอายุของคน รวมถึงประโยชน์ของกีฬาที่มีต่อเยาวชน แนวคิดเกี่ยวกับสื่อและกระบวนการตัดสินใจซื้อ ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกของเยาวชนต่อกีฬาแต่ละประเภท ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่ากีฬามีประโยชน์ต่อคนในหลายช่วงวัยโดยเฉพาะเยาวชน โดยกีฬาจะช่วยให้เกิดการสร้างความร่วมมือและการทำงานเป็นทีมส่งผลให้เกิดการสร้างมูลค่าทางสังคม มากกว่านั้น กีฬายังช่วยสร้างความเข้าใจในการยอมรับความแตกต่างทั้งด้านอายุ เพศและระดับของการศึกษาซึ่งเป็นคุณค่าพื้นฐานในสังคม กีฬาช่วยส่งเสริมให้รู้จักความเป็นธรรมและความเท่าเทียม สุขภาพกายและใจ รวมไปถึงการแสดงออกด้วยความเป็นมืออาชีพ โดยผู้ที่ชอบเล่นกีฬาจะทำให้มีสุขภาพที่ดีและสามารถที่จะพัฒนาทักษะในกีฬาประเภทต่าง ๆ ไปสู่ความเป็นเลิศได้ ซึ่งในปัจจุบันการสื่อสารและประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และตระหนักในความสำคัญของกีฬานั้นสามารถที่จะกระทำได้ในหลายวิธี โดยสื่อคือตัวกลางที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมกิจกรรมกีฬาและเชื่อมโยงกิจกรรมสันทนาการในรูปแบบต่าง ๆ เข้ากับกลุ่มเยาวชน โดย 1) สื่อมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้กลุ่มเยาวชนได้ตระหนักถึงประเภทของกีฬาที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อตนเองซึ่งสอดคล้องกับความสนใจและระดับความสามารถในการเล่นกีฬาของแต่ละบุคคล 2) สื่อมีบทบาทสำคัญเพื่อช่วยให้ตัดสินใจเลือกกีฬาหรือกิจกรรมที่เหมาะสมที่สุดตามความสนใจและความพร้อม 3) สื่อมีบทบาทสำคัญในการช่วยสร้างความประทับใจที่ดีต่อการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมที่เลือก 4) สื่อมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นความสนใจและการให้คำแนะนำเพื่อให้กลุ่มเยาวชนมีประสบการณ์ที่ดีจากกีฬาหรือกิจกรรมทางกายที่เลือก และ 5) สื่อมีบทบาทในการส่งเสริมและให้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเลือกกีฬาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับกลุ่มเยาวชน</p> ประกาย วุฒิพิพัฒนพงศ์, อธิป แท่นรัตนกุล, ณัฐปภัสษ์ จุ้ยเจริญ Copyright (c) 2024 วารสารกองทุนพัฒนาสือปลอดภัยและสร้างสรรค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal/article/view/272404 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักรู้ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้บริโภคหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal/article/view/272339 <p>ในปัจจุบันโลกกำลังเผชิญปัญหาความร้อน ด้วยสภาวะก๊าซเรือนกระจก และเป็นประเด็นที่ต้องเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อชะลอการเกิดภาวะก๊าซเรือนกระจก คือ สนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทนการใช้รถยนต์สันดาป <br />แต่ด้วยข้อจำกัดของรถยนต์ไฟฟ้าที่มีมาก ส่งผลให้ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ผู้เขียนจึงรวบรวมประเด็นต่าง ๆ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ ส่งเสริมและสนับสนุน โดยใช้การสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจสามารถรับรู้ข่าวสารและเปลี่ยนพฤติกรรมการตัดสินใจ โดย 1) การสร้างความน่าเชื่อถือ คือ ลดข้อเสียของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าให้ประชาชนในกลุ่มเป้าหมายรับทราบข้อมูลมากที่สุด และพยายามเน้นย้ำถึงข้อดีที่เกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน 2) การสื่อสาร เผยแพร่และประชาสัมพันธ์เฉพาะกลุ่ม เพื่อให้เกิดการสร้างการรับรู้และบอกต่อ 3) เนื้อหาสาระมีความเกี่ยวข้องและให้ประโยชน์ในการสนับสนุนให้เกิดการตัดสินใจการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่ถูกต้อง 4) เนื้อหาและรูปแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์มีความชัดเจน คือ การสร้างรูปแบบของสื่อออนไลน์ที่เข้าถึงง่าย และตรงกับการใช้งานของกลุ่มเป้าหมาย 5) นำเสนอ เรียบง่าย สั้น กระตุ้นให้คิด และเกิดการจดจำ 6) นำเสนออย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการพูดถึงอย่างสม่ำเสมอ <br />ไม่หายไปจากสื่อออนไลน์ทุกช่องทาง 7) กลุ่มเป้าหมายสามารถเปิดรับและเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างสะดวก ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก <br />8) นำเสนอข้อมูลรถยนต์ไฟฟ้าตามช่องทางของสื่อออนไลน์ให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการรับรู้ เพราะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและมีความน่าเชื่อถือจะส่งผลให้เกิดการกระตุ้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีของรถยนต์ไฟฟ้าที่เหมาะสมกับบริบทในประเทศไทย</p> ดร.นลินี จรรยาวัฒนานนท์, ดร.กวิน มุสิกา Copyright (c) 2024 วารสารกองทุนพัฒนาสือปลอดภัยและสร้างสรรค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal/article/view/272339 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปิดรับสื่อโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ต ในช่วงการเติบโตของการให้บริการการส่งสัญญาณภาพและเสียงผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal/article/view/272629 <p>การวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับปรากฎการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการเปิดรับสื่อโทรทัศน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือ โอทีที ทีวี (Over-the-Top Television) ของประชากรในแต่ละครัวเรือนในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2560-2561 เปรียบเทียบกับปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2567) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method) จากข้อมูลทุติยภูมิการสำรวจการมีอุปกรณ์รับชมรายการโทรทัศน์ในครัวเรือนที่จัดเก็บโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2560-2561 จำนวน 429,648 ตัวอย่าง และสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมด้านกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม จำนวน 6 คน นำมาวิเคราะห์เชิงคุณภาพ และวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยแบบจำลองโลจิต (Logit Model) เพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปร</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดสอดคล้องกับภาวะการขยายตัวของโครงข่ายโทรคมนาคมช่วงเทคโนโลยี 4G และการเติบโตของการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงประจำที่ในครัวเรือน (Fixed Broadband Internet) ควบคู่ไปกับภาวะถดถอยของการประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลที่ผู้รับสื่อมีทางเลือกในการเข้าถึงเนื้อหา (Content) ได้หลายหลาย และสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา (On-demand) ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับสื่อโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ตที่แตกต่างไปจากเดิม โดยผลการศึกษาในด้านประชากรศาสตร์ ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา ในช่วงปี พ.ศ. 2560-2561 มีความแตกต่างกับในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2567) ขณะที่ปัจจัยทางด้านรายได้และค่าใช้จ่ายในการใช้อินเทอร์เน็ตยังมีผลต่อเนื่องไปในทิศทางเดียวกัน เว้นแต่การมีโทรทัศน์อัจฉริยะในครัวเรือน (Smart TV) ที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนเชิงบวกต่อการเปิดรับสื่อโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ต แต่ยังมีความซับซ้อนในการเข้าถึงและใช้งานได้ยากกว่าการเปิดรับสื่อโทรทัศน์ทางอินเทอร์ผ่านโทรศัพท์มือถือ จึงส่งผลต่อการเปิดรับสื่อโทรทัศน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตในระบบไร้สาย (Cellular) มากกว่าอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงประจำที่ในครัวเรือน (Fixed Broadband Internet)</p> โกศล สงเนียม, เทอดศักดิ์ ชมโต๊ะสุวรรณ, นริศรา เจริญพันธุ์ Copyright (c) 2024 วารสารกองทุนพัฒนาสือปลอดภัยและสร้างสรรค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal/article/view/272629 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การนำเสนอข่าวสารด้านกีฬาของสื่อออนไลน์ กรณีศึกษา “นิทรรศการทิศทางกีฬาไทย” ของกรรมาธิการการกีฬาวุฒิสภา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal/article/view/273052 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อค้นหาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้เปิดรับข่าวสาร “นิทรรศการทิศทางกีฬาไทย” ของกรรมาธิการการกีฬาวุฒิสภา 2) เพื่อค้นหาสื่อออนไลน์ที่นำเสนอข่าวสาร “นิทรรศการทิศทางกีฬาไทย” ของกรรมาธิการการกีฬาวุฒิสภา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ใช้วิธีการเขียนโปรแกรมอัลกอริทึมแบบทำซ้ำ (Repetition Algorithm) ขึ้นมาใหม่ เพื่อปล่อยให้โปรแกรมค้นหาข้อมูลจากสื่อออนไลน์ในการจับข้อความวลีที่จัดพิมพ์ว่า “นิทรรศการทิศทางกีฬาไทย” “ทิศทางกีฬาไทย” โดยกรรมาธิการการกีฬาวุฒิสภา กับกลุ่มตัวอย่างประเภทสื่อออนไลน์ ได้แก่ Facebook, Website, Web News, YouTube และ X โดยใช้ระบบอัลกอริทึมค้นหาข้อมูลในช่วงแถลงข่าวการจัดนิทรรศการ วันที่ 15-30 พฤศจิกายน 2566 วันที่ 1-12 ธันวาคม 2566 และวันที่ 13-29 ธันวาคม 2566 และหลังจัดงานนิทรรศการ จากการค้นหาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างที่ติดตามนิทรรศการทิศทางกีฬาไทย เป็นเพศชาย ร้อยละ 62 และเพศหญิง ร้อยละ 38 อายุที่ติดตามมากที่สุดทั้งเพศชายและเพศหญิงอยู่ในช่วงอายุ 18-25 ปี 2) ทั้ง 3 ช่วงเวลารวมกันสื่อประเภทที่แสดงให้พบว่ามีคนติดตามช่วงนี้สูงสุด คือ ข่าวจาก PPTV HD 36 มีผู้รับทราบข่าวสารการจัดนิทรรศการทิศทางกีฬาไทย 3,511,432 Audience และประเภทสื่อออนไลน์ที่คนติดตามข่าวนิทรรศการทิศทางกีฬาไทยน้อยที่สุด ได้แก่ สื่อ X <br />โดยประโยชน์ของงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการสื่อสารด้านกีฬาสำหรับกลุ่มคนที่ติดตามข่าวด้านกีฬาเป็นสื่อออนไลน์ประเภท Facebook เป็นหลัก และเป็นช่องทางการสื่อสารข่าวด้านกีฬาที่มีคนติดตามมากที่สุด</p> อธิป แท่นรัตนกุล, พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารกองทุนพัฒนาสือปลอดภัยและสร้างสรรค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal/article/view/273052 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 บริบทสังคม และพัฒนาการเทคโนโลยีการสื่อสารกับทฤษฎีสื่อสารมวลชน และการนำมาใช้ในเชิงสร้างสรรค์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal/article/view/272091 <p>บริบททางสังคม และพัฒนาการของสื่อที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคสมัย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการค้นพบเทคโนโลยีใหม่ ๆ ส่งผลต่อการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เช่น การค้นพบเทคโนโลยีแท่นพิมพ์ เทคโนโลยีการพิมพ์หิน การค้นพบคลื่นวิทยุ และการพัฒนาเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) การค้นพบเหล่านี้ก่อให้เกิดพัฒนาการในแง่เศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมทั้งเชิงบวกและลบ (Serpa &amp; Ferreira, 2019; McQuail &amp; Deuze, 2020) ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารมวลชนในยุคต่าง ๆ ทำให้แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของสื่อสารมวลชนเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน ดังนั้น การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบริบททางสังคมที่ส่งผลต่อพัฒนาการสื่อ และแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน จึงมีความสำคัญต่อการสร้างความสมดุลระหว่างสื่อสารมวลชน สาธารณชน และรัฐ เพื่อร่วมสร้างสังคมสู่ความยั่งยืนท่ามกลางบริบทแวดล้อมที่มีพลวัตสูงในปัจจุบัน (Tornero &amp; Varis, 2010) บทความนี้นำเสนอพัฒนาการของสื่อและสังคมในแต่ละยุคสมัยซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของแต่ละยุค ผลกระทบของสื่อต่อสังคมในแต่ละบริบท รวมถึงมาตรการของสื่อสารมวลชน สาธารณชน และหน่วยงานภาครัฐในการสร้างสมดุลดังกล่าว เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีการสื่อสารมีความซับซ้อนมากขึ้นและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แนวปฏิบัติในการสร้างสมดุลนั้นจำเป็นต้องพัฒนาให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อบรรเทาผลกระทบเชิงลบและป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อสาธารณะชนได้อย่างมีประสิทธิผล</p> ทัธภร ธนาวริทธิ์, ชำนาญ งามมณีอุดม ; TMFJounal กองทุนฯ Copyright (c) 2024 วารสารกองทุนพัฒนาสือปลอดภัยและสร้างสรรค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal/article/view/272091 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700