https://so04.tci-thaijo.org/index.php/transportandmaritimelawjournal/issue/feedวารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี2024-11-27T13:59:24+07:00ธีระรัตน์ จีระวัฒนาitml.lawtu@gmail.comOpen Journal Systemsวารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวีhttps://so04.tci-thaijo.org/index.php/transportandmaritimelawjournal/article/view/275147ประเทศไทยกับการให้ความเห็นในเชิงให้คำปรึกษาของศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ2024-10-08T12:23:40+07:00ณัฐณิชา เอกจริยกรnutnicha.eag@gmail.com<p>ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังทวีความสำคัญขึ้นทั่วทุกภูมิภาคของโลก ส่งผลกระทบให้บางประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศหมู่เกาะเผชิญกับความเสี่ยงที่จะจมและสาบสูญไปจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มาจากการกระทำของมนุษย์ ดังนั้น คณะกรรมาธิการรัฐเกาะเล็กว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกฎหมายระหว่างประเทศจึงขอให้ศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศมีความเห็นในเชิงให้คำปรึกษาเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลในประเด็นที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยความเห็นในเชิงให้คำปรึกษาฉบับนี้ได้เน้นย้ำถึงหน้าที่ของรัฐภาคีในการป้องกัน ลด และควบคุมภาวะมลพิษทางทะเล ตลอดถึงหน้าที่ในการคุ้มครองรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะในบริบทของการที่อุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้น ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และภาวะมหาสมุทรเป็นกรดที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการกระทำของมนุษย์สู่ชั้นบรรยากาศ ศาลได้กล่าวถึงมาตรฐานทางกฎหมายที่รัฐต้องปฏิบัติตามในการควบคุมกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล ซึ่งก่อให้เกิดนัยยะสำคัญต่อการตีความอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 บางประการ เช่น การตีความมาตรการป้องกันไว้ก่อน เป็นต้น ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 จึงต้องปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น เมื่อพิจารณาจากกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจจะยังไม่เพียงพอตามพันธกรณี แต่ว่าการผลักดันร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. .... แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มในการพัฒนากฎหมายที่ช่วยส่งเสริมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามพันธกรณีได้มากยิ่งขึ้น</p>2024-11-27T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/transportandmaritimelawjournal/article/view/274611ปัญหาบางประการเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดี Appeal Relating to the Jurisdiction of the ICAO Council under Article 84 of the Convention on International Civil Aviation (Bahrain, Egypt, Saudi Arabia and United Arab Emirates v. Qatar)2024-10-07T11:53:36+07:00ภูบดี แสงเฟืองphubordee.saeng@gmail.com<p><span class="fontstyle0">บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาบางประการของคำพิพากษาคดี Appeal Relating to the Jurisdiction of the ICAO Council under Article 84 of the Convention on International Civil Aviation (</span><span class="fontstyle2">Bahrain, Egypt, Saudi Arabia and United Arab Emirates v. Qatar</span><span class="fontstyle0">) ซึ่งเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับ ข้อ 84 แห่งอนุสัญญาชิคาโก ที่ให้อำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแล การดำเนินการของคณะมนตรีผ่านกลไกการอุทธรณ์ ในคดีดังกล่าว ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินว่า การอ้างมาตรการตอบโต้โดยคู่ความอันเป็นข้อต่อสู้ที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของอนุสัญญาชิคาโกไม่กระทบต่อเขต อำนาจของคณะมนตรีในการพิจารณาข้อพิพาทและเงื่อนไขว่าด้วยการเจรจาก่อนยื่นข้อพิพาทสามารถดำเนินการ ได้ในหลากหลายโอกาส โดยไม่จำกัดอยู่เพียงแค่การเจรจาทางการทูตหรือการเจรจาผ่านคณะมนตรีเท่านั้น ดังนั้น ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจึงวินิจฉัยไม่เพิกถอนคำตัดสินของคณะมนตรี เนื่องจากคณะมนตรีไม่ได้ดำเนินการ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อหลักความชอบด้วยกระบวนการแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่าตัวคำพิพากษา ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้พิพากษาบางคนในองค์คณะศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ รวมถึงนักวิชาการบางคน ที่ได้วิจารณ์ถึงความไม่ทันสมัยของบรรทัดฐานที่กล่าวอ้างส่งผลให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่ไม่เป็นรูปธรรม ดังนั้น เมื่อ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่อาจเป็นองค์กรที่ให้ความกระจ่างในการดำเนินการแก่คณะมนตรีได้ กฎการระงับ ข้อพิพาทและคณะมนตรีจึงต้องได้รับการปฏิรูป โดยมีข้อเสนอว่าให้คณะมนตรีดำเนินการในฐานะเป็นผู้ไกลเกลี่ย ข้อพิพาทและมีสถาบันอนุญาโตตุลาการเป็นการถาวรสำหรับการพิจารณาข้อพิพาทโดยเฉพาะ</span> </p>2024-11-27T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/transportandmaritimelawjournal/article/view/276130สรุปคำพิพากษาคดี Axel Walz v. Clickair SA2024-11-12T17:34:06+07:00จุฑาพัชร สิริทิพากรchampswr@gmail.com2024-11-27T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/transportandmaritimelawjournal/article/view/276179สรุปคำพิพากษาคดี Pedro Espada Sánchez and Others v. Iberia Líneas Aéreas de España SA2024-11-15T10:20:49+07:00ธัญชนก หิญระนันทน์dhanchanok.hin@gmail.com2024-11-27T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/transportandmaritimelawjournal/article/view/276386ส่วนหน้า2024-11-27T12:22:42+07:00ธีระรัตน์ จีระวัฒนาteerarat@tu.ac.th2024-11-27T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024