วารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/transportandmaritimelawjournal วารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี โครงการสถาบันกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ th-TH วารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี 1906-2664 <p>ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวีเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด<br>บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวีเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ&nbsp; โครงการสถาบันกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบ</p> ปัญหากฎหมายในการจัดการและเยียวยาความเสียหายมลพิษน้ำมันอันเกิดจากกิจกรรมการสำรวจและแสวงประโยชน์บนไหล่ทวีปในทางกฎหมายระหว่างประเทศ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/transportandmaritimelawjournal/article/view/267080 <p>ในปัจจุบันการประกอบกิจการปิโตรเลียมนอกชายฝั่งมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว อุปสงค์ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีสำรวจและแสวงประโยชน์จากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในไหล่ทวีปมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะมลพิษอันที่มาจากการรั่วไหลของน้ำมันจนก่อความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล และมนุษย์ ความเสียหายจากการรั่วไหลน้ำมันในทะเลจะแพร่กระจายไปยังประเทศข้างเคียงโดยความเสียหายอันมีลักษณะ ข้ามพรมแดน ดังนั้น อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันถือเป็นธรรมนูญแห่งกฎหมายทะเล จึงมีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นกรอบทางกฎหมายระหว่างประเทศและความร่วมมือใน การคุ้มครองและการจัดการสิ่งแวดล้อมทางทะเล อย่างไรก็ดี พันธกรณีของรัฐภาคีที่ระบุไว้ใน UNCLOS 1982 เป็นเพียงกำหนดหลักเกณฑ์อย่างกว้างๆ เพื่อให้รัฐภาคีในออกมาตรการหรือกฎหมายเพื่อป้องกัน ลด และควบคุมมลพิษโดยไม่ได้มีการกำหนดเป็นข้อบังคับอย่างชัดเจนว่ารัฐภาคีควรจะจัดการกับภาวะมลพิษดังกล่าวอย่างไร</p> <p>ในส่วนอนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและป้องกันมลพิษทางทะเลนั้น แม้ว่าจะมีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ ภาคผนวกที่ 1 และพิธีสาร ค.ศ. 1996 ของอนุสัญญา ว่าด้วยการป้องกันมลพิษทางทะเลเนื่องจากการทิ้งเทของเสียและสสารอื่น ค.ศ. 1972 แต่อย่างไรก็ดี มาตรการควบคุมป้องกันมลพิษน้ำมันบัญญัติไว้อย่างกระจัดกระจาย อีกทั้งยังพบว่าอนุสัญญาดังกล่าวมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับการจัดการมลพิษ ซึ่งอาจส่งผลต่อรัฐภาคีในการปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญาทั้งสองฉบับด้วย</p> <p>สำหรับอนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับมาตรการชดใช้และเยียวยาความเสียหายจากมลพิษน้ำมันนั้น มีอนุสัญญาความรับผิดทางแพ่งเพื่อความเสียหายมลพิษน้ำมันจากการแสวงหาและใช้ประโยชน์ทรัพยากรพื้นดินท้องทะเล ค.ศ. 1977 อย่างไรก็ดี อนุสัญญาดังกล่าวยังไม่มีผลใช้บังคับแต่อย่างใด เนื่องจากยังมีการให้สัตยาบันไม่ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในอนุสัญญา ดังนั้น บทความนี้จึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการร่างอนุสัญญาเกี่ยวกับการจัดการกับมลพิษอันเกิดจากกิจกรรมการสำรวจและแสวงประโยชน์บนไหล่ทวีปไว้โดยเฉพาะ ซึ่งแยกออกมาจากอนุสัญญาระหว่างประเทศฉบับอื่นๆ รวมถึงกลไกในการใช้มาตรการชดใช้และเยียวยาความเสียหายทำได้อย่างรวดเร็วและเหมาะสมต่อผู้ซึ่งได้รับความเสียหาย</p> <p>ส่วนกฎหมายภายในของไทย จากการศึกษาวิจัย พบว่า แม้ประเทศจะมีมาตรการเกี่ยวกับการจัดการกับมลพิษน้ำมันอันเกิดจากกิจกรรมการสำรวจและแสวงประโยชน์นอกชายฝั่งอย่างครบถ้วนแล้ว แต่ตัวบทกฎหมายมี การบัญญัติอย่างกระจัดกระจาย ไม่เป็นเอกภาพ และยังมีส่วนที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติม อาทิเช่น การบัญญัติเขตอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น สำหรับกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการชดใช้และเยียวยาความเสียหาย พบว่ามีเฉพาะค่าเสียหายทางแพ่งเท่านั้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับลักษณะ ความเสียหายของมลพิษ อีกทั้งยังไม่มีกองทุนเพื่อความรับผิดทางแพ่งจากมลพิษน้ำมันในกิจกรรมดังกล่าวด้วย ดังนี้ จึงควรมีการจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งโดยเฉพาะ และจัดให้มีกองทุนเพื่อความรับผิดทางแพ่งจากมลพิษน้ำมัน โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกับข้อตกลงเกี่ยวกับความรับผิดของมลพิษนอกชายฝั่ง (Offshore Pollution Liability Agreement: OPOL) กล่าวคือ หากผู้ประกอบธุรกิจปิโตรเลียมต้องการขอสัมปทาน ต้องยินยอมที่จะลงนามในข้อตกลงและส่งเงินเข้ากองทุนจึงจะสามารถขอใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจได้</p> พสชนัน พงษ์พานิช Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-28 2023-11-28 18 27 รถยนต์รับจ้างไร้คนขับ: อนาคตของระบบขนส่งสาธารณะประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/transportandmaritimelawjournal/article/view/268142 <p>เทคโนโลยีกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์เนื่องจากเทคโนโลยีเหล่านั้นช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้กับเราในรูปแบบต่าง ๆ นับไม่ถ้วน รวมถึงการช่วยให้ผู้ขับขี่ไม่ต้องปฏิบัติหน้าที่ในการขับขี่และช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ถนน รถยนต์ไร้คนขับได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ในขณะที่ผู้ขับขี่ในประเทศไทยใช้ระบบช่วยเหลือการขับขี่ซึ่งทำงานร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) เช่น ระบบช่วยรักษาช่องทางเดินรถ ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในเลน หรือ ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผันช่วยเหลือในการขับขี่มาเป็นระยะเวลาหลายปีและรถยนต์เหล่านี้สามารถจดทะเบียนภายใต้พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 อย่างไรก็ตามในอนาคตอันใกล้เทคโนโลยีจะถูกพัฒนาอย่างก้าวกระโดด รถยนต์จะกลายเป็นยานยนต์ไร้คนขับ และถูกควบคุมโดยโปรแกรมและผู้ควบคุมซึ่งอยู่ในศูนย์ควบคุม ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น รัฐบาลได้ออกกฎหมายเพื่อสนับสนุนการดำเนินการของรถยนต์ไร้คนขับและการให้บริการของรถยนต์ไร้คนขับนั้นได้ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน แก้ไขปัญหาสังคมผู้สูงอายุ และอำนวยความสะดวกให้กับผู้อยู่อาศัยในบริเวณที่ที่ระบบขนส่งสาธารณะไม่ทั่วถึง อย่างไรก็ตามรถยนต์ประเภทนี้ยังไม่สามารถจดทะเบียนในประเทศไทยได้เนื่องจากรถยนต์ถูกขับเคลื่อนโดยระบบอัตโนมัติและไม่มีคนขับคอยควบคุมอยู่หลังพวงมาลัย และไม่มีการอนุญาตให้ประกอบการรถยนต์รับจ้างไร้คนขับ จึงสมควรที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวให้รถยนต์รับจ้างไร้คนขับสามารถจดทะเบียนตามกฎหมายไทยได้ และให้มีการประกอบธุรกิจรถยนต์รับจ้างไร้คนขับได้ โดยควรดูจากบทบัญญัติของหรัฐอเมริกา<br />(บางรัฐ) เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น และแก้ไขเพิ่มเติมให้มีการจดทะเบียนรถยนต์ประเภทดังกล่าวในประเทศไทยได้ และต้องมีการอนุญาตให้มีการประกอบการดังกล่าว นอกจากนั้นการประกอบการนั้นต้องกำหนดให้ผู้ควบคุมรถยนต์สามารถควบคุมรถยนต์ได้เพียงครั้งละหนึ่งคัน และต้องได้รับใบอนุญาตขนส่งสาธารณะ ในขณะที่บริษัทจะต้องส่งรายงาน<br />อุบัติเหตุและแผนการดำเนินงานทุกปี</p> ณัฐณิชา เอกจริยกร Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-28 2023-11-28 18 27 ร่างกฎมายเกี่ยวการขนส่งและพาณิชยนาวี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/transportandmaritimelawjournal/article/view/268712 ไผทชิต เอกจริยกร Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-28 2023-11-28 18 27 ส่วนหน้า https://so04.tci-thaijo.org/index.php/transportandmaritimelawjournal/article/view/269089 ธีระรัตน์ จีระวัฒนา Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-28 2023-11-28 18 27