การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากมูลช้าง จังหวัดสุรินทร์

ภทพร ศรีโกตะเพชร, ดร.เมตตา สิรีสุข, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อุรารมย์ จันทมาลา

ผู้แต่ง

  • ภทพร ศรีโกตะเพชร
  • เมตตา สิรีสุข
  • อุรารมย์ จันทมาลา

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก, มูลช้าง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์จากมูลช้าง บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มจากมูลช้างในจังหวัดสุรินทร์ และ 3) เพื่อพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากมูลช้าง ตำบลตากลาง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ การดำเนินการวิจัยเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร ตำรา และเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามด้วยการสังเกต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการของผู้บริโภค แบบสอบถามประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ต้นแบบสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มจากกระดาษมูลช้างในจังหวัดสุรินทร์ศึกษามา พบว่า เนื่องจากปัจจุบัน หมู่บ้านตากลาง มีช้างประมาณ 200 เชือกนำมาเลี้ยงรวมกันปริมาณมากก่อให้เกิดปัญหา ด้านของเสียที่เกิดจากมูลช้าง ซึ่งมีปริมาณมากเฉลี่ยประมาณ 50 กิโลกรัมต่อเชือก หรือราวๆ 5-10 ตันต่อวัน หากทิ้งไว้ในพื้นที่หรือจัดเก็บไม่หมดทำให้เกิดปัญหาสภาพแวดล้อมส่งผลกระทบต่อช้างและชุมชน เพื่อนำมูลช้างมาใช้ให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้ให้กับโครงการ จึงนำมาออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของที่ระลึก ส่วนของการออกแบบผลิตภัณฑ์ ได้นำหลักการมาใช้ในการออกแบบและร่างผลิตภัณฑ์ นำเสนอผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะเพื่อประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์โดยผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต้นแบบและเลือกผลิตภัณฑ์รูปแบบที่ 1 เปเปอร์มาเช่ช้างสีรุ้ง มุ่งเน้นสินค้าสำหรับเรื่องราวกิจกรรมความน่ารักของการแสดงช้างในหมู่บ้านตากลาง จึงได้นำมาสู่การออกแบบตัวการ์ตูนช้างที่นำเอาลักษณะเฉพาะของช้างแสนรู้ โดยรูปแบบตัวการ์ตูนช้างนำไปสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของประดับตกแต่งหรือตั้งโชว์หรือเป็นของฝากที่ระลึกวัสดุเป็นกระดาษจากมูลช้างในรูปแบบเปเปอร์มาเช่ช้างแบบลอยตัวบรรจุเป็นชุด สำหรับความพึงพอใจของผลิตภัณฑ์ต้นแบบ พบว่า ผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมกับการเป็นของที่ระลึกจังหวัดสุรินทร์ และผลิตภัณฑ์สามารถนำไปผลิตในเชิงธุรกิจได้ และผลิตภัณฑ์มีความสวยงามเป็นที่น่าสนใจ ซึ่งผู้วิจัยได้นำความรู้ในเรื่องการผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว นำไปใช้เพื่อถ่ายทอดลงสู่โครงการคชอาณาจักรและสู่ชุมชนได้

References

คณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน. (2551). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัย.

คำแก้ว อินทร์สำราญ. (ผู้ให้สัมภาษณ์). ภทพร ศรีโกตะเพชร (ผู้สัมภาษณ์). (วันที่ 12 ธันวาคม 2559).

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2548). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม1/โครงการสารานุกรมสำหรับเยาวชน. สารานุกรมไทยสำหรับเยาชน. กรุงเทพฯ.

ธีระชัย สุขสด. (2544). การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ประเสริฐ ศิลปะวัฒนา. (2531). ของที่ระลึก. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์,

พระครูสมุห์หาญ ปัญญาธโร. (ผู้ให้สัมภาษณ์). ภทพร ศรีโกตะเพชร (ผู้สัมภาษณ์). (วันที่ 12 ธันวาคม 2559).

วาสนา กุลประสูติ. ในพร่างพรายของสายฝนในเขาใหญ่. อนุสาร อ.ส.ท. 27,1 (สิงหาคม 2529). หน้า 70-84. 2529.

วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ. ข้อมูลจังหวัดสุรินทร์. https://spicc.ac.th/home/data9/provinceL.php.(15 ธันวาคม 2559)

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร : เพชรจรัสแสงแห่งโลก ธุรกิจ.

ไศลเพชร ศรีสุวรรณ. (ม.ป.ป.). ของขวัญของที่ระลึก. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.

อำนวย คอวนิช. (2521). ธรรมชาติเจ้าเอย. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)