กระบวนการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนและผู้ใหญ่ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น : กรณีศึกษา ชุมชนหมู่บ้าน หนองนาสร้าง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พวงชมพู ไชยอาลา แสงรุ่งเรืองโรจน์

ผู้แต่ง

  • พวงชมพู ไชยอาลา แสงรุ่งเรืองโรจน์

คำสำคัญ:

พื้นที่สร้างสรรค์, ภูมิปัญญา, การสื่อสารเพื่อเด็กและเยาวชน

บทคัดย่อ

พื้นที่สร้างสรรค์คือพื้นที่สร้างประสบการณ์ที่มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนซึ่งผู้ที่เรียนรู้นั้นจะต้องมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดและออกแบบกิจกรรมด้วยตนเองเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งชุมชนจะต้องมีส่วนร่วมในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับพื้นที่นั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนและผู้ใหญ่ในชุมชนหมู่บ้านหนองนาสร้าง 2) เพื่อพัฒนาสมาชิกชุมชนหมู่บ้านหนองนาสร้างให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำกระบวนการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ไปใช้ในการแก้ปัญหาด้านอื่นๆของชุมชนโดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ด้วยการนำภูมิปัญญาของชุมชนมาสร้าง “พื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเยาวชน” เพื่อเป็นเครื่องมือสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนและผู้ใหญ่ในชุมชนหมู่บ้านหนองนาสร้าง เนื่องจากความสัมพันธ์ดังกล่าวสามารถเป็นภูมิคุ้มกันสำคัญที่จะทำให้เยาวชนห่างไกลจากปัญหาที่กำลังถูกคุกคามในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาบริโภคนิยม ปัญหาติดเกมส์ ฯลฯ
การวิจัยครั้งนี้นักวิจัย ปราชญ์ชุมชน และเยาวชนได้ร่วมกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ โดยจำลองประเพณีบุญผะเหวดซึ่งเป็นงานบุญประจำปีของจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อสร้างการเรียนรู้ภูมิปัญญาของชุมชน โดยได้นำขนมที่นิยมใช้ในงานบุญผะเหวดมาถ่ายทอดให้เยาวชนได้เรียนรู้ผ่านการสอนของปราชญ์ชุมชน ได้แก่ ข้าวต้มมัด ขนมเทียน ขนมจีน ข้าวโป่ง การทำบายศรีและการทำพวงมโหตร รวมทั้งได้นำ “สื่อมวลชน”มาเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้ชุมชนเกิดความสนใจและให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาของตนโดยผู้วิจัยได้นำเรื่องราวจากกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาในพื้นที่สร้างสรรค์มานำเสนอในรูปแบบของสารคดีเชิงข่าวเผยแพร่ออกรายการช่วงนักข่าวพลเมือง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสผลการวิจัยพบว่าหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมเยาวชนเกิดความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถนำความรู้ที่ได้จากพื้นที่สร้างสรรค์ไปปฏิบัติได้จริง =4.43 ระดับมาก (S.D.=0.59) เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาในชุมชนของตน = 4.23 ระดับมาก (S.D.= 0.58) และเยาวชนรู้จักผู้ใหญ่ในชุมชนมากยิ่งขึ้น =3.83 ระดับมาก (S.D.= 0.59) ในขณะที่ผู้ใหญ่เกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาในชุมชนของตน =4.31 ระดับมาก (S.D.= 0.69)ผู้ใหญ่รู้จักเยาวชนในชุมชนมากยิ่งขึ้น =4.12 ระดับมาก (S.D.=0.60) ผู้ใหญ่เกิดความภาคภูมิใจในบทบาทปราชญ์ชุมชนของตน = 4.05 ระดับมาก (S.D.= 0.77) ผลการศึกษาดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่าพื้นที่สร้างสรรค์สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับผู้ใหญ่ซึ่งผู้วิจัยได้สรุปกระบวนการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ผ่านภูมิปัญญาในชุมชน โดยใช้แนวคิดพื้นที่สร้างสรรค์ แนวคิดการเรียนรู้ทางสังคม แนวคิดวัฒนธรรมศึกษา เป็นกรอบในการวิเคราะห์ดังนี้ 1) วิเคราะห์ชุมชนเพื่อให้ผลการดำเนินงานของพื้นที่สร้างสรรค์สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชน 2) สร้างความเข้าใจบทบาทของพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับสมาชิกในชุมชนและค้นหาสมาชิกในชุมชนเพื่อร่วมกันสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ 3) เปิดโอกาสให้สมาชิกในชุมชนได้ร่วมค้นหากิจกรรมภูมิปัญญาในพื้นที่สร้างสรรค์ เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของและความรับผิดชอบในการเข้าร่วมกิจกรรมของพื้นที่สร้างสรรค์ 4) กำหนดบทบาทให้กับสมาชิกในพื้นที่สร้างสรรค์ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมสามารถเป็นไปได้อย่างราบรื่น และในขณะเดียวกันการเสริมพลังให้ความรู้ของผู้ที่รับบทบาทแตกต่างกันย่อมมีรูปแบบและเนื้อหาแตกต่างกัน 5) การสืบทอดภูมิปัญญาควรถ่ายทอดทั้งรูปแบบและคุณค่าของภูมิปัญญา 6) ควรเปิดโอกาสให้เยาวชนได้นำภูมิปัญญาที่ได้รับสืบทอดในพื้นที่สร้างสรรค์มาใช้อย่างต่อเนื่องเช่น มอบหมายให้เยาวชนช่วยโรงเรียนเตรียมงานบุญประเพณีทั้ง12 เดือนของชุมชน

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2547). สื่อพื้นบ้านเพื่อการพัฒนาภาพรวมจากงานวิจัย. กรุงเทพฯ: ชิโนดีไซน์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2548). ก้าวต่อไปของการสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา แก้วเทพ. (2551). การจัดการความรู้เบื้องต้น การสื่อสารชุมชน. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2554). ผู้คนที่หลากหลายในการสื่อสาร: เด็ก สตรี และผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

อดุลย์ ดวงดีทวีรัตน์ (2547). แนวทางการเสริมสร้างและพัฒนาบทบาทของสื่อพื้นบ้านเพื่อการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์.(2550). การสื่อสารมวลชนเบื้องต้น สื่อมวลชน วัฒนธรรมและสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)