วัฒนธรรมการบริจาคโลหิตแนวทางการบูรณาการหลักธรรมในการบริจาคโลหิตเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน จังหวัดนครราชสีมา

มุกดา วตะกูลสิน, ดร.ณัฐพงศ์ พุดหล้า, ดร.บุญสม ยอดมาลี

ผู้แต่ง

  • มุกดา วตะกูลสิน
  • ณัฐพงศ์ พุดหล้า
  • บุญสม ยอดมาลี

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมการบริจาคโลหิต, แนวทางการบูรณาการหลักธรรม, การสร้าง เสริมสุขภาพ, จังหวัดนครราชสีมา

บทคัดย่อ

สภากาชาดไทย ได้เปิดศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติเพื่อเปิดบริการรับปริจาคเลือดจากประชาชนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 มกราคม 1952 และต่อมาได้ขยายสาขาและถือปฏิบัติจนกลายเป็นวัฒนธรรมการบริจาคเลือดในปัจจุบัน การวิจัยนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของการบริจาคโลหิต จังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคโลหิต เพื่อสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนจังหวัดนครราชสีมา และ 3) ศึกษาแนวทางการบูรณาการหลักธรรมในการบริจาคโลหิต
เพื่อสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน จังหวัดนครราชสีมา ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ทางวัฒนธรรม โดยการวิจัยวิเคราะห์เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการเก็บข้อมูลภาคสนาม จากการสำรวจเบื้องต้น สังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม และการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยผู้วิจัยได้เตรียมตัวลงภาคสนามและทำการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ สภาพภูมิศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมของพื้นที่ ที่ทำการวิจัย โดยดำเนินการด้วยตัวผู้วิจัยเอง ซึ่งมีขอบเขตและมีวิธีการดำเนินการวิจัยดังนี้ การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับแผนที่ในพื้นที่ศึกษาการทำวิจัย หน่วยงานสำคัญที่เป็นพื้นที่ โดยการลงพื้นที่วิจัยที่สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ในเขตจังหวัดนครราชสีมา รวม 4 แห่ง คือ 1) โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2) สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา 3) ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ และ 4) ห้องรับบริจาคโลหิต ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา (ภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา) มีบุคคล ผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น จำนวน 150 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้จำนวน 5 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ จำนวน 25 คน และกล่มุ ผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความถูกต้องด้วยวิธีการแบบสามเส้าและวิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ผลการวิจัย เกี่ยวกับเรื่อง ความเป็นมาและความสำคัญของการบริจาคโลหิต จังหวัดนครราชสีมา พบว่า งานบริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ในจังหวัดนครราชสีมา มี 4 สาขา คือ 1) ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เปิดรับบริการโลหิตเมื่อ ปี พ.ศ. 2549 2) ที่สำนักงานเหล่ากาชาด จัดตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2536 3) ที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ เปิดรับบริการโลหิตเมื่อ ปี พ.ศ. 2549 และ 4) ห้องรับบริจาคโลหิตภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา (ภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา) เปิดรับบริการโลหิตเมื่อ ปี พ.ศ. 2556 ทั้งนี้ โดยมีมีโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 5 ทำหน้าที่หลักในการจัดหาโลหิตตรวจคัดกรองคุณภาพโลหิตที่ได้รับบริจาค และจัดหาโลหิตสำรอง เพื่อจ่ายให้กับโรงพยาบาลเครือข่ายในจังหวัดนครราชสีมาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคโลหิต เพื่อสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนจังหวัดนครราชสีมา พบว่า เป็นไปตามหลักพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา วัฒนธรรมการบริจาคโลหิต เกิดจากความมีนํ้าใจต้องการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ ต่างมีจิตใจ เมตตา คือ มีใจสงสารคนอื่น กรุณา คือ ให้ความช่วยเหลือผู้อื่น มุทิตา คือ การได้โมทนา ยินดีต่อผู้ป่วยที่ได้รับในสิ่งที่ดีโดยสรุป แนวทางการบูรณาการหลักธรรม ในการบริจาคโลหิต เพื่อสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน จังหวัดนครราชสีมา พบว่า สามารถทำได้โดย การนำพรหมวิหารมาใช้ร่วมกับการบริจาคโลหิต เพื่อทำให้เกิดความรู้สึกที่ดี ทั้งทางด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านอารมณ์ และด้านจิตใจ เป็นการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้กับผู้รับ ผู้บริจาคโลหิตก็ได้รับการเชิดชูเกียรติและมีความภาคภูมิในการบริจาคโลหิตของตน

References

กรองทอง เพ็ชรวงศ์และคณะ. (2551). ความรู้คู่การบริจาคโลหิต. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย.

เด่นเดชา ประทุมเพ็ชร. (2552). แนวทางการบูรณาการหลักธรรม. นครราชสีมา : โรงพยาบาลจังหวัดนครราชสีมา.

นฤมล บุญสนองและยุพา เอื้อวิจิตรอรุณ. (2552). โลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต. 19(3), หน้า 161-169 : กรกฎาคม-กันยายน.

นุชนาถ นนทรีย์. (2556). งานบริจาคโลหิต. นครราชสีมา : โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.

บุตยา สืบทรัพย์. ความสอดข้องของศาสนา. https://butsayapang.blogspot.com.(18 พฤษภาคม 2560 )

ประยุทธ์ ปยุตฺโต. (2546). พรหมวิหาร 4 พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรมพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์. กรุงเทพฯ :ราชบัณฑิตยสถาน.

ภาคบริการโลหิตแห่งชาติจังหวัดภูเก็ต. (2555). ศึกษาทัศนคติของประชาชนที่มาบริจาคโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เหล่ากาชาดจังหวัดภูเก็ต. ภูเก็ต : จากการที่สหพันธ์สภากาชาดสากล.

มธุรส ชัยวรพรและนุชนาถ นนทรีย์. (2548). บริการโลหิตของจังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.

มธุรส ชัยวรพรและศิริลักษณ์ เพียกขุนทด. (2556). หนังสือเรียนเชิญเปิดหน่วยรับบริจาคโลหิต. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย. (2504). ประวัติความเป็นมาสภากาชาดไทย. กรุงเทพฯ : ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย.

ศรีรุ่ง ชูภักดิ์และคณะ. (2551). การประเมินประสิทธิผลการจัดหาโลหิตของกลุ่มงานธนาคารเลือด. ชลบุรี : คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี.

สำนักงานเหล่ากาชาด จังหวัดนครราชสีมา. (2535). หนังสือที่ระลึกพิธีเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุรเดช บุญลือและคณะ. (2551). การพัฒนาระบบจัดการคัดกรองผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษโดยใช้เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ Development of Rh Negative Donors Screening Management System using Decision Tree Technique. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.

เสม พริ้งพวงแก้วและประภา สุขอุดม. (2492). ศัลยศาสตร์ทั่วไป. เชียงราย : โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์.

อภิญญา ทองสุขโชติ. (2554). พระพุทธศาสนากับการบริจาคโลหิต. กรุงเทพฯ : ศึกษาทัศนคติของประชาชนที่มาบริจาคโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)