เรื่องเล่า : ความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมในชุมชน เขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์

โสภี อุ่นทะยา

ผู้แต่ง

  • โสภี อุ่นทะยา

คำสำคัญ:

เรื่องเล่า, ความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม, ชุมชน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมจากเรื่องเล่าของคนในชุมชนเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธ์ุ จากเอกสารเรื่องเล่าประวัติศาสตร์ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์คนในชุมชนเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์จำนวน 38 ชุมชน โดยใช้ แนวคิดประวัติศาสตร์ท้องถิ่น แนวคิดเรื่องเล่า และแนวคิดความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ผลการศึกษาพบว่าชุมชนในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพคือ ความหลากหลายทางกลุ่มชาติพันธุ์ ความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ พื้นที่ในชุมชนจึงมีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมความเชื่อดั้งเดิมเรื่องผี ความเชื่อทางพุทธศาสนา ความเชื่อของชาวจีน และความเชื่อในศาสนาอื่นๆ ที่ผสมผสานกันอย่างกลมกลืน ก่อให้เกิดการปรับตัวที่จะอยู่ร่วมกันในชุมชนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการขยายตัวเมืองกาฬสินธุ์ สามารถใช้เป็นแนวในการดำเนินนโยบายวางแผนการขยายเมือง เพื่อรองรับการพัฒนาให้ชุมชนเจริญก้าวหน้าได้ต่อไป

References

จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2557). การวิเคราะห์ข้อความ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2545). ผีเจ้านาย. เชียงใหม่ : มิ่งเมือง.

เติม วิภาคย์พจนกิจ. (2557). ประวัติศาสตร์อีสาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทองสุข ไชยวงจันทร์. (2545). ประวัติศาสตร์การขยายเมืองกาฬสินธุ์ในระหว่าง ปีพ.ศ.2480 – 2540. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เทศบาลเมืองกาฬสนิ ธ.์ุ (2550). 70 ปีเมืองกาฬสินธ์ุ . กาฬสินธุ์ : หจก.กาฬสินธุ์การพิมพ์. (มปป). รายงานกิจการชุมชนเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์: หจก.
กาฬสินธุ์การพิมพ์.

ธีรยุทธ บุญมี. (2546). ความหลากหลายทางชีวิต ความหลากหลายทางวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ : สายธาร.

ปฐม หงส์สุวรรณ. (2557) “ดงภูดิน : เรื่องเล่าศักดิ์สิทธิ์กับปฏิบัติการสร้างความหมายว่าด้วยสิทธิของชุมชน”. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง. 10(3) กันยายน - ธันวาคม, 168-169.

ประสิทธิ์ พรรณพิสุทธิ์. (2536). พระราชวงศ์จักรีกับ 200 ปีกาฬสินธุ์. ยโสธร : จือฮะการพิมพ์.

ยศ สันตสมบัติ. (2544). มนุษย์กับวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิสุทธิ์ ใบไม้. (2550). ธรรมชาติกับวัฒนธรรม และสังคมไทยในกระแสโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : จิรวัฒน์เอ็กเพรสจำกัด.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2549). “มาตุภูมิกับชาติภูมิ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกับประวัติศาสตร์แห่งชาติ” ในประวัติศาสตร์แห่งชาติ “ซ่อม” ฉบับเก่า “สร้าง” ฉบับใหม่. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2550). ผีกับพุทธ ศาสนาและความเชื่อในสังคมด่านซ้าย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยพันธ์.

Evans, Grent. (1999). Laos Culture and Society. Bangkok : O.S. Printing House.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)