การสร้างสรรค์จิตรกรรมสีน้ำ แนวเรื่อง ความงามในวิถีชีวิตแบบพอเพียงของชนบทอีสาน

ประภาพร ศุภตรัยวรพงศ์

ผู้แต่ง

  • ประภาพร ศุภตรัยวรพงศ์

คำสำคัญ:

ความงาม, วิถีชีวิตแบบพอเพียง, ชนบทอีสาน

บทคัดย่อ

การวิจัยการสร้างสรรค์จิตรกรรมสีน้ำแนวเรื่อง “ความงามในวิถีชีวิตแบบพอเพียงของชนบทอีสาน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพวิถีชีวิตของคนชนบทอีสานที่มีความเป็นอยู่แบบพอเพียง เรียบง่าย สมถะ สงบสุข ทั้งในสมัยอดีตและปัจจุบัน และเพื่อสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสีน้ำแนวเรื่อง “ความงามในวิถีชีวิตแบบพอเพียงของชนบทอีสาน” ในรูปแบบรูปลักษณ์ผลการวิจัยพบว่า สภาพวิถีชีวิตของคนชนบทอีสานที่มีความเป็นอยู่แบบพอเพียง เรียบง่าย สมถะ สงบสุข ทั้งในสมัยอดีตและปัจจุบันนั้น มีสิ่งที่สามารถแสดงออกในเรื่องราวดังกล่าวได้ชัดเจนที่สุดอย่างหนึ่ง คือ การเกษตรกรรม โดยเฉพาะการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อเป็นอาหารของสมาชิกในครอบครัว ซึ่งการศึกษาดังกล่าวได้ช่วยสนับสนุนประสบการณ์ตรงของผู้วิจัยที่เคยได้ร่วมกิจวัตรที่เต็มไปด้วยความรู้สึกอันประทับใจกับมารดามาเมื่อครั้งในวัยเยาว์ จากนั้นได้คัดสรรรูปทรง สัญลักษณ์จากงานเกษตรกรรมการปลูกผักสวนครัว ลักษณะวิธีของการปลูก และบรรยากาศยามเช้าตรู่ มาจัดกระทำ ภาพร่าง ความคิดให้เกิดเป็นองค์ประกอบใหม่ตามจินตนาการ เป็นไปตามเนื้อหาในแนวเรื่องรูปแบบ และเทคนิคกระบวนการที่กำหนดไว้ แต่ยังคงความเหมือนจริงและความเป็นไปได้จริงตามธรรมชาติ จากนั้นทำการขึงกระดาษกับกระดานรองเขียน, ระบายสีชั้นแรก,การขยายแบบและร่างภาพลายเส้น, ใช้กาวกันวาด และระบายสีในรายละเอียดรูปทรงผลงานสร้างสรรค์ที่แบ่งออกเป็น 4 ระยะ และทุกระยะได้ทำการวิเคราะห์ผลงานจนทำให้ผู้วิจัยได้ค้นพบความเหมาะสมของการใช้รูปทรง สัญลักษณ์ การแสดงสีสัน ลักษณะรูปทรงการจัดองค์ประกอบศิลป์ การกำหนดพื้นที่ว่าง การใช้สีภายในผลงาน และการสร้างพื้นผิวส่วนการถ่ายทอดตามรูปแบบเหมือนจริง ด้วยเทคนิคสีน้ำบนกระดาษสำหรับระบายสีน้ำชนิดกึ่งหยาบได้ผลดีที่สุด และการใช้สีน้ำควรใช้สีที่ให้ตะกอนมากเป็นไปอย่างระมัดระวังส่วนการใช้หลักการดุลยภาพแบบอสมมาตร ซึ่งจะมีลักษณะของภาพที่ซีกซ้ายและซีกขวาไม่เหมือนกัน แต่สามารถทรงตัวอยู่ได้ โดยการให้ความสำคัญกับหน่วยที่มีน้ำหนักเบากว่าผลสำเร็จของงานสร้างสรรค์ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ออกมาอย่างเป็นระบบขั้นตอนมีความแตกต่างจากศิลปินอื่นอย่างชัดเจน ด้วยผู้วิจัยได้นำความสามารถในเทคนิคสีน้ำที่มีบุคลิกเฉพาะตนมาผสมผสานประสบการณ์จากเรื่องราวเฉพาะถิ่นในอดีต มีการสร้างสรรค์องค์ประกอบขึ้นมาใหม่ จึงทำให้ผลงานมีความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตน ไม่เหมือนใคร และสามารถแสดงสุนทรียภาพด้วยชั้นเชิงทางจิตรกรรมที่มิใช่การลอกเลียนแบบธรรมชาติอย่างที่จักษุประสาทสัมผัสได้ด้วยการมองเห็นเพียงเท่านั้น แต่ผู้วิจัยได้แทรกอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆเข้าไปในผลงานโดยซ่อนนัยถึงวิถีชีวิตที่มีความเป็นอยู่แบบพอเพียง เรียบง่าย สมถะ สงบสุข ตลอดจนพาให้รู้สึกถึงความมีสันติ ความปลอดภัย การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างคนกับธรรมชาติ ภายในภาพที่ปรากฏเป็นพืชพันธุ์นานา นำพาให้เกิดสุนทรียรส อันลึกซึ้งต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์กับธรรมชาติที่คุณค่าอเนกอนันต์ต่อกัน การไม่ทำลายกันแต่อยู่ด้วยกันได้อย่างกลมกลืนและเป็นหนึ่งเดียว

 

References

โกสุม สายใจ. (2544). จิตรกรรมพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สารพันธ์ศึกษา.
คณะวิจิตรศิลป์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2556). สุนทรียภาพ (Aesthetics). http://
www1.finearts.cmu.ac.th/FOFAnew/e_learn/aesthetics/Environment.
doc (10 กันยายน 2556.)
คมชัดลึกออนไลน์. (2557). ต่างประเทศ : ข่าวทั่วไป. http://www.komchadluek.
net/detail/20090321/6250/มิเชลโอบามาปลกู ผักในทำ? เนียบขาว. html. (30
กรกฎาคม 2557.)
จุไรรัตน์ แสนใจรักษ์. (2553). ชุมชนพอเพียง. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
ชลูด นิ่มเสมอ (2553). องค์ประกอบของศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง.
ฝ่ายวิชาการภาษาอังกฤษ. (2543). พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ฉบับกระทัดรัด. กรุงเทพฯ
: ซีเอ็ดยูเคชั่น
พฤกษ์ เถาถวิล. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงกับชนบทอีสาน. http://www.oknation.
net/blog/print.php?id=165439 (9 กรกฎาคม 2557)
ราชบัณฑิตยสถาน. (2524). พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาอังกฤษไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์
พริ้นติ้ง.
รัชนีกร เศรษโฐ. (2528). สังคมวิทยาชนบท. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
วิโชค มุกดามณี. (2545). เทคนิคการสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง.
ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2546). ทัศนศิลป์ปริทัศน์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สุชาติ เถาทอง. (2539). หลักการทัศนศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : น?ำอักษรการพิมพ์.

ส?ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). ตัวอย่าง
เศรษฐกิจพอเพียงที่ข้าพเจ้ารู้จัก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เพชรรุ่งการพิมพ์.
ส?ำนักปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ. (2549). ชีวิตพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :
เพชรรุ่งการพิมพ์.
สุวัฒน์ ปุตตวงศ์. (2549). เขียนภาพด้วยสีน?้ำ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัมพร ศิลปะเมธากุล. (2549). ศิลปวิจักษ์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
อารี สุทธิพันธุ์. (2535). การระบายสีน?้ำ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
อาวุธปญฺโญ ภิกขุ. (2556). ความเรียบง่าย. http://www.Santidham.com/easylife/
easylife.html (10 กันยายน 2556)

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)