ความต้องการการสนับสนุนในการทำวิจัยของบุคลากร ทางการแพทย์อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม

ชัยธัช จันทร์สมุด, ธนูย์สิญจน์ สุขเสริม, คมกริช อ่อนประสงค์, ภาคภูมิ อินทร์ม่วง

ผู้แต่ง

  • ชัยธัช จันทร์สมุด
  • ธนูย์สิญจน์ สุขเสริม
  • คมกริช อ่อนประสงค์
  • ภาคภูมิ อินทร์ม่วง

คำสำคัญ:

ความต้องการ, การสนับสนุน, งานวิจัย, สาธารณสุข, บุคลากรทางการแพทย์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความต้องการการสนับสนุนในการทำวิจัยของบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นบุคลากรทางการแพทย์อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 36 คน โดยเก็บข้อมูลช่วงเดือนพฤษภาคม 2560 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการการสนับสนุนในการทำวิจัย แบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า บุคลากรทางการแพทย์มีความต้องการการสนับสนุนในการทำวิจัย โดยรวมและเป็นรายด้านทุกด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านบริหาร อยู่ในระดับมาก

References

ชรัสนิกูล ยิ้มบุญณะ และคณะ. (2550). “การนำผลงานวิจัยมาใช้้และอุปสรรคของการนำผลงานวิจัยมาใช้ในการปฏิบัติการบาล”. วารสารพยาบาลศิริราช. 1(2) กรกฎาคม-ธันวาคม, หน้า 11-26.

ดรุณี รุจกรกานต์. (2546). พลังของการวิจัยสู่การพัฒนาสุขภาพที่ยั่งยืน. ในการประชุมพยาบาลแห่งชาติครั้งที่ 12 เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์์ทรงเจริญพระชนมายุ ครบ 80พรรษา เรื่อง การ พยาบาล: บทบาทภารกิจสู่ความสำเร็จในระบบหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ (หน้า 198–204). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัท พี.วาทิน พรินติ้ง จำกัด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้้น. พิมพ์์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ประสาท เนืองเฉลิม และคณะ. (2557). “ความต้องการพัฒนางานวิชาการของอาจารย์คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาสินธุ์”. วารสารสาระคาม. 8(1) มกราคม-มิถุนายน, หน้า 59-66.

รุ่งรวี ศรีจันทร์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดนครพนม. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2555). บทสังเคราะห์ข้อเสนอ บทบาทกระทรวงสาธารณสุขใน ศตวรรษที่ 21. นนทบุรี: สหพัฒนไพศาล

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)