ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์ทางการตลาดสมัยใหม่ กับผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ OTOP ในประเทศไทย

ศุภลักษณ์ หล้าเพชร อรุณงาม, ศุภพงษ์ ปิ่นเวหา, พลาญ จันทรจตุรภัทร

ผู้แต่ง

  • ศุภลักษณ์ หล้าเพชร อรุณงาม
  • ศุภพงษ์ ปิ่นเวหา
  • พลาญ จันทรจตุรภัทร

คำสำคัญ:

ความคิดสร้างสรรค์ทางการตลาดสมัยใหม่, ผลการดำเนินงาน, ผู้ประกอบการ ธุรกิจผลิตภัณฑ์ OTOP

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์ทางการตลาดสมัยใหม่กับผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ OTOP ในประเทศไทย โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP ในประเทศไทย จำนวน 127 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test, F-test (ANOVA และ MANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ (Multiple Correlation Analysis) การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression Analysis) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple  Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ OTOP ในประเทศไทยมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีความคิดสร้างสรรค์ทางการตลาดสมัยใหม่โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต ด้านการสร้างอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ ด้านการพัฒนาช่องทางการตลาด และด้านการสร้างสรรค์สังคม และผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ OTOP ในประเทศไทยมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีผลการดำเนินงานโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านลูกค้า ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาและด้านกระบวนการภายใน และอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านการเงินผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ OTOP ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปี แตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีความคิดสร้างสรรค์ทางการตลาดสมัยใหม่ ด้านการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต แตกต่างกัน ผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ OTOP ที่กิจการเคยได้รับรางวัล มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีความคิดสร้างสรรค์ทางการตลาดสมัยใหม่โดยรวม ด้านการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต และด้านการสร้างอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ มากกว่า กิจการไม่เคยได้รับรางวัล สำหรับความคิดสร้างสรรค์ทางการตลาดสมัยใหม่ ด้านการพัฒนาช่องทางตลาดด้านการสร้างสรรค์สังคม ไม่แตกต่างกันผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ OTOP ที่มีประเภทผลิตภัณฑ์ จำนวนพนักงานรายได้เฉลี่ยต่อปี แตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมี ผลการดำเนินงานโดยรวมแตกต่างกันผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ OTOP ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปี แตกต่างกันมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีผลการดำเนินงาน ด้านการเงิน ด้านกระบวนการภายในแตกต่างกัน ผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ OTOP ที่เคยได้รับรางวัลเกี่ยวกับธุรกิจผลิตภัณฑ์ OTOP มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีผลการดำเนินงานโดยรวม ด้านลูกค้า แตกต่างกันจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบ พบว่า 1) ความคิดสร้างสรรค์ทางการตลาดสมัยใหม่ ด้านการพัฒนาช่องทางการตลาด และด้านการสร้างสรรค์สังคมมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับผลการดำเนินงานโดยรวม 2) ความคิดสร้างสรรค์ทางการตลาดสมัยใหม่ ด้านการพัฒนาช่องทางการตลาด มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงาน ด้านการเงิน 3) ความคิดสร้างสรรค์ทางการตลาดสมัยใหม่ ด้านการพัฒนาช่องทางการตลาดและด้านการสร้างสรรค์สังคม มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงาน ด้านลูกค้า 4) ความคิดสร้างสรรค์ทางการตลาดสมัยใหม่ ด้านการสร้างสรรค์สังคม มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงาน ด้านกระบวนการภายใน 5) ความคิดสร้างสรรค์ทางการตลาดสมัยใหม่ด้านการพัฒนาช่องทางการตลาด มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงาน ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา โดยสรุป ความคิดสร้างสรรค์ทางการตลาดสมัยใหม่ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับผลการดำเนินงาน ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ OTOP ในประเทศไทย ควรให้ความสำคัญ มุ่งเน้นและสนับสนุน เกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางการตลาดสมัยใหม่ เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาด การสร้างมูลค่าโดยใช้ภูมิปัญญากับความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนาศักยภาพของกิจการ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดและเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันมากยิ่งขึ้น

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. (2558). หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. https://th.aectourismthai.com. (24 สิงหาคม 2558).

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2557). พิมพ์เขียวนวัตกรรมการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนปี 2557-2561 ส่งเสริมตลาดออนไลน์ Thaicommercestore.com และ Thai commerce shop. https://www.dbd.go.th/download/article/article_20140418172545.pdf. (30 สิงหาคม 2558).

กรมการพัฒนาชุมชน. (2558). ข้อมูลโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์. https://www.thaitambon.com/OTOP/Info/Info1A.htm.2557. (24 สิงหาคม 2558).

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : บุญศิริการพิมพ์.

พสุ เดชะรินทร์. (2548). Balanced Scorecard รู้ลึกในการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ฃ

พิมพ์พร วิศววิวัฒน์สกุล. (2551). รูปแบบความคิดสร้างสรรค์ ภูมิความรู้ความชำนาญกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจและความสำเร็จในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (3-5 ดาว) ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร. เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) .(2558). โอกาสและผลกระทบของ OTOP กับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC).https://ce.nesdb.go.th. (30 สิงหาคม 2558).

Keller, K.L.(2003). Strategic Brand Management Building, Measuring and Managing Brand Equity. 2nd. ed. Englewood Cliffs, NJ : Prentice Hall.

Kirton, M. J. (1994). Adapters and Innovators; Styles of creativity and problem solving. London: Routledge.

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)