ชีวิตของคนไร้รัฐ: ศึกษากรณีหมู่บ้านบะไห ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

จินดาหรา วิเท่ห์, ศิวัช ศรีโภคางกุล

ผู้แต่ง

  • จินดาหรา วิเท่ห์
  • ศิวัช ศรีโภคางกุล

คำสำคัญ:

คนไร้รัฐ, คุณภาพชีวิต, หมู่บ้านบะไห, อุบลราชธานี

บทคัดย่อ

การศึกษาชีวิตของคนไร้รัฐ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงบริบทของคนไร้รัฐในหมู่บ้านบะไห ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งบทความนี้ได้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งศึกษาถึง 1) สาเหตุที่ถูกทำให้เป็นคนไร้รัฐ 2) คุณภาพชีวิตของคนไร้รัฐ และ 3) ข้อเสนอแนะของคนไร้รัฐ โดยการสัมภาษณ์บุคคลไร้รัฐในหมู่บ้านบะไห จำนวน 75 คน ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาโดยมีการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของคนไร้รัฐประกอบกับการการสัมภาษณ์เชิงลึกมีการสนทนากลุ่ม และการสังเกต เมื่อได้ข้อมูลเชิงประจักษ์จะนำมาวิเคราะห์ร่วมกับเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุที่ถูกทำให้เป็นคนไร้รัฐในหมู่บ้านบะไห คือ 1) เป็นบุคคลที่ตกสำรวจและไม่สามารถระบุสถานะบุคคลในบัตรทุกประเภทได้ 2) เป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนทั้งตนเองและคู่สมรสทำให้บุตรมีสถานะเช่นเดียวกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 3) อยู่ในระหว่างขั้นตอนการรอผลการพิจารณาการให้สัญชาติ 4) พื้นที่บ้านบะไหมีจำนวนคนไร้รัฐเคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเป็นผลให้ต้องพิจารณาการให้สัญชาติตางออกไปจากหมู่บ้านอื่น 5) จากสาเหตุที่ส่วนราชการทำหลักฐานการขอสัญชาติหาย และ 6) จากสาเหตุที่ส่วนราชการเพิกเฉยต่อการปฏิบัติงาน อีกทั้งปฏิบัติงานล่าช้าและไม่ตรงจุด ส่วนคุณภาพชีวิตของคนไร้รัฐ ต้องอยู่อย่างหวาดระแวงไม่สามารถเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ใดๆ ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เกิดการปรับตัวในการอยู่รอดจากการถูกกดขี่ข่มเหงจากนายทุน ตลอดจนการร่วมมือกันของคนไร้สัญชาติในการระดมทุนช่วยเหลือผู้ที่เจ็บป่วยหรือการเสียชีวิต และข้อเสนอแนะของคนไร้รัฐ 1) เสนอเรื่องสิทธิให้เท่าเทียมกันเช่น การรักษาพยาบาล เบี้ยยังชีพสำหรับคนไร้รัฐที่เข้าข่ายจะได้สัญชาติ 2) ผลักดันให้บุคคลรุ่นลูกหลานได้สัญชาติก่อน เพราะคนเหล่านี้เกิดที่แผ่นดินไทยไม่ได้อพยพเหมือนบิดามารดา 3) เอกสารบัตรขอเป็นเพียงบัตรที่สามารถมีสิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้4) การทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐให้เกิดความชัดเจน 5) อยากให้พิจารณาเพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพของผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน และ 6) ต้องการให้ภาครัฐและคนมีสัญชาติไทยทำความเข้าใจถึงผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนนั้นมีความแตกต่างจากคนต่างด้าวที่เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย

References

ข้อมูลพื้นฐานแผนพัฒนาตำบล 3 ปีองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง. (15 มีนาคม 2560)
นิวัติ วุฒิ. (2555). ปัญหาของคนไร้สัญชาติ. วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์, 1 (1). มกราคม - มิถุนายน,หน้า 27-32.
พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทรและคณะ. (2545). รายงานผลการวิจัยภายใต้โครงการศึกษาปัญหาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนต่อคนไร้สัญชาติในประเทศไทย. กรุงเทพ. (เอกสารอัดสำเนา).
พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร. (2552). ทะเบียนคือใคร มีสิทธิแค่ไหนในประเทศไทย. https://gotoknow.org/posts/314147. (22 มิถุนายน 2560)
วรรณนิศา สกุลณี. (2556). ปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติ. ปัญหาสังคม. https://sd-group1.blogspot.com. (26 กุมภาพันธ์ 2560).
วีนัส สีสุข. (2554). รักษาโรคไร้รัฐด้วยกฎหมายทะเบียนราษฎร์. พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ.
สุชาดา ทวีสิทธิ์ และสุรสม กฤษณะจูฑะ. (2555). ภาวะไร้สัญชาติ-ไร้รัฐ ชายแดนอีสานคนลาวอพยพ. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
กฤตยา อาชวนิจกุล. (2554). การจัดระบบคนไร้รัฐในบริบทประเทศไทย. กรุงเทพฯ :[ม.ป.พ.]
อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. (2552). สิทธิมนุษยชน. พิมพ์ครั้งที่ 3 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.

สัมภาษณ์อ้างอิง
ชัย โขมะพันธ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). จินดาหรา วิเท่ห์ (ผู้สัมภาษณ์). (20 เมษายน 2560)
แปร สาพันธวงศ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). จินดาหรา วิเท่ห์ (ผู้สัมภาษณ์). (23 เมษายน 2560)
ผาย บงดำ (ผู้ให้สัมภาษณ์). จินดาหรา วิเท่ห์ (ผู้สัมภาษณ์). (19 เมษายน 2560)
ผาย บงดำ. (ผู้ให้สัมภาษณ์). จินดาหรา วิเท่ห์ (ผู้สัมภาษณ์). (23 เมษายน 2560)
ผาย วงค์ลำ (ผู้ให้สัมภาษณ์). จินดาหรา วิเท่ห์ (ผู้สัมภาษณ์). (20 เมษายน 2560)
ผู้ใหญ่บ้านบะไห (ผู้ให้สัมภาษณ์). จินดาหรา วิเท่ห์ (ผู้สัมภาษณ์). (19 เมษายน 2560)
ไม้ ไชยสาร (ผู้ให้สัมภาษณ์). จินดาหรา วิเท่ห์ (ผู้สัมภาษณ์). (23 เมษายน 2560)
เลี่ยม อินปะแสง (ผู้ให้สัมภาษณ์). จินดาหรา วิเท่ห์ (ผู้สัมภาษณ์). (19 เมษายน 2560)
ศูนย์ อนุสรณ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). จินดาหรา วิเท่ห์ (ผู้สัมภาษณ์). (23 เมษายน 2560)
สมศักดิ์ อินทะโสม (ผู้ให้สัมภาษณ์). จินดาหรา วิเท่ห์ (ผู้สัมภาษณ์). (19 เมษายน 2560)
สมศักดิ์ อินทะโสม. (ผู้ให้สัมภาษณ์). จินดาหรา วิเท่ห์ (ผู้สัมภาษณ์). (23 เมษายน 2560)
สมศักดิ์ อินทะโสม. (ผู้ให้สัมภาษณ์). จินดาหรา วิเท่ห์ (ผู้สัมภาษณ์). (24 เมษายน 2560)
สำรอง วรเดช (ผู้ให้สัมภาษณ์). จินดาหรา วิเท่ห์ (ผู้สัมภาษณ์). (23 เมษายน 2560)

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)