การพัฒนาตัวบ่งชี้การทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

อมรรัตน์ สิงโต, อภิสิทธิ์ สมศรีสุข, วาโร เพ็งสวัสดิ์

ผู้แต่ง

  • อมรรัตน์ สิงโต
  • อภิสิทธิ์ สมศรีสุข
  • วาโร เพ็งสวัสดิ์

คำสำคัญ:

การทำงานเป็นทีม, การพัฒนาตัวบ่งชี้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้การทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์การดำเนินการมี 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้การทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้การทำงานเป็น
ทีมของครูในโรงเรียน โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยมีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน จำนวน 500 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.60 – 1.00 มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.22 – 0.89 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาค เท่ากับ .978 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรมลิสเรลผลการวิจัย พบว่า
1. ตัวบ่งชี้การทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 20 องค์ประกอบย่อย และ 70 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็น 1) องค์ประกอบการมีส่วนร่วม มีตัวบ่งชี้จำนวน 20 ตัวบ่งชี้ 2) องค์ประกอบการมีเป้าหมายเดียวกัน มีตัวบ่งชี้จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ 3) องค์ประกอบการติดต่อสื่อสาร มีตัวบ่งชี้จำนวน 19 ตัวบ่งชี้ 4) องค์ประกอบความไว้วางใจ มีตัวบ่งชี้จำนวน13 ตัวบ่งชี้ และ 5) องค์ประกอบการมีปฏิสัมพันธ์ มีตัวบ่งชี้จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ 2. โมเดลโครงสร้างการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไคสแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 76.55 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 77 ค่านัยสำคัญทางสถิติ(P-value) เท่ากับ .49307 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .98 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .96 ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ .00 ค่าดัชนีที่แสดงขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ยอมรับ (CN) เท่ากับ 693.91 (Chi-square = 76.55, df = 77, ค่า P = .49307, ค่า GFI = .98, ค่า AGFI = .96, ค่า RMSEA = .00, CN = 693.91) และค่าน้ำหนักองค์ประกอบทั้ง 70 ตัวบ่งชี้ มีค่าตั้งแต่ 0.55 – 0.81

References

จารุวรรณ สะอาดละออ. (2556). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของบุลากรในสถานศึกษาอำเภอบรรพตพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2551). การบริหารสถานศึกษาและการแก้ไขปัญหา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สหธรรม.

ธีระ ไชยสิทธิ์. (2555). ศึกษาสภาพการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดระยอง. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2551). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (LISREL) สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. (เอกสารประกอบการบรรยาย). ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประคอง สุคนธจิตต์. (2551). การทำงานเป็นทีม. https://www.krirk.ac.th/education/article_workgroup.pdf. (4 มิถุนายน 2559)

ปรานี ธรรมนิยม. (2558). การทำงานเป็นทีมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

พัชราภรณ์ เย็นมนัส. (2558). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับการบริหารงานทั่วไปของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ไพวัล ไชยทองศรี. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้การทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ภิญโญ มนูศิลป์. (2551). การพัฒนาตัวแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของทีมในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มัลลิกา วิชชุกรอิงครัต. (2553). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของพนักงานครูเทศบาลสังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรรัตน์ เทพมะที. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์กับการทำงานเป็นทีมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สมชาติ กิจยรรยง และ จีรชา ใจเปี่ยม. (2552). เกมกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างและพัฒนาทีมงาน. กรุงเทพฯ: พาวเวอร์ฟูลไลฟ์.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ :เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญญานุวัฒน์. (2551). สถิติการวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL.กรุงเทพฯ: มิสชั่นมีเดีย.

อรุณวดี รื่นรมย์. (2553). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนระยองวิทยาคมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cronbach. and L.Joseph. (1984). Essentail of Psychology and Education. 5th ed. Tokyo: McGraw- Hill.

เผยแพร่แล้ว

2019-01-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)