วัฒนธรรมทางการเมืองของพระสงฆ์ในเขตอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

พระณัฐพงศ์ ธรรมสัตย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วินัย ผลเจริญ

ผู้แต่ง

  • พระณัฐพงศ์ ธรรมสัตย์
  • วินัย ผลเจริญ

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมทางการเมือง, พระสงฆ์, ปัจจัยที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมทางการเมือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองของพระสงฆ์และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมืองของพระสงฆ์ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพที่ได้ศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับรูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยเก็บข้อมูลในพื้นที่ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดเป็นจำนวน 20 รูป/คน โดยแบ่งผู้ให้สัมภาษณ์ออกเป็น พระสงฆ์ 16 รูป ฆราวาส 4 คน ใช้วิธีการเจาะจงตัวผู้ให้สัมภาษณ์ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง
เป็นลักษณะคำถามปลายเปิดและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ในด้านรูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองของพระสงฆ์ในเขตอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ผลการวิจัยพบว่า พระสงฆ์ในเขตอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้าผสมแบบมีส่วนร่วม ซึ่งอธิบายได้จากทัศนคติและพฤติกรรมทางการเมืองของพระสงฆ์ที่อยู่ในบริบทสังคมเดียวกันแต่มีความคิดทางการเมืองต่างกันโดยพระสงฆ์บางส่วนมีความเข้าใจและสนใจในเรื่องการเมือง มีความคิดว่าพระสงฆ์ควรเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาสนาแสดงให้เห็นถึงการมีวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม แต่พระสงฆ์อีกส่วนหนึ่งกลับมองว่าการที่พระสงฆ์จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวทางการเมืองโดยตรงเป็นสิ่งที่ไม่ควร เพราะไม่ใช่หน้าที่ของพระสงฆ์ มีความเฉื่อยชาทางการเมือง มีลักษณะเป็นวัฒนธรรมแบบไพร่ฟ้า และเมื่อพิจารณาจากพระสงฆ์ที่ให้สัมภาษณ์ทั้งหมดยังพบว่า พระสงฆ์ในเขตอำเภอฆ้องชัยค่อนข้างที่จะมีพฤติกรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้ามากกว่าแบบมีส่วนร่วมอยู่เล็กน้อยในด้านปัจจัยที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมืองของพระสงฆ์ ในเขตอำเภอฆ้องชัยจังหวัดกาฬสินธุ์ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านสถาบันต่าง ๆ ทางสังคมและการเมืองโดยเฉพาะสถาบันทางศาสนา มีผลต่อการกล่อมเกลาพฤติกรรมทางการเมืองของพระสงฆ์มากที่สุด เนื่องจากพระสงฆ์ต้องอยู่ในโอวาทและการปกครองของคณะสงฆ์ ถึงแม้พระสงฆ์ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง แต่ต้องถูกจำกัดบทบาทลงให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสมตามคำสั่งของพระสงฆ์ฝ่ายปกครอง ในส่วนปัจจัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางด้านกระบวนการกล่อมเกลาทางการเมือง ปัจจัยทางด้านสื่อมวลชน และปัจจัยทางด้านประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ เป็นปัจจัยเสริมให้พระสงฆ์มีพฤติกรรมที่สนใจต่อการเมือง

References

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2548.

ชุษณะ รุ่งปัจฉิม. เอกสารการสอนชุดวิชาพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมของการเมืองไทยหน่วยที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี : สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555.

ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร. รัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.

ธนพ นาควัลย์. บทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาประชาธิปไตย : ศึกษาจากความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่ศึกษาในมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2542.

นวลศิริ เปาโรหิตย์. จิตวิทยาสังคมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2542.

บูฆอรี ยีหมะ. ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา : สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัชภัฏสงขลา, 2552.

ประยูร โพธิ์ไชยรัตน์. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพระสงฆ์ : ศึกษากรณีการเรียกร้องให้จัดตั้งกระทรวงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย ในปี พ.ศ. 2545. วิทยานิพนธ์ ร.ม. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. ทรรศนะทางการเมืองของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : โครงการตำรา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. มนุษยสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.

พระวัชรพงษ์ ดวงเมือง. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพระสงฆ์ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 6. การศึกษาค้นค้วาอิสระ ร.ม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่, 2557.

พิจิตร ฐิตวณฺโณ (พระธรรมวิสุทธิกวี). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในราชอาณาจักรไทยและพระธรรมทูตไทยไปศรีลังกาสมัยอยุธยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ :บริษัทชวนพิมพ์ 50 จำกัด, 2550.

พิศาล มุกดารัศมี. เอกสารการสอนชุดวิชาพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมทางการเมืองไทย หน่วยที่ 14. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี : สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555.

รสลิน ศิริยะพันธุ์. เอกสารการสอนชุดวิชาพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมทางการเมืองไทย หน่วยที่9. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี : สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555.

ลิขิต ธีรเวคิน. การเมืองการปกครองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553.

วัฒนา สิมมา. บทบาทพระสงฆ์กับการสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของไทย : กรณีศึกษาในจังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ ร.ม. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554.

วิวัฒน์ เอี่ยมไพวัน. เอกสารการสอนชุดวิชาหลักพื้นฐานทางรัฐศาสตร์ หน่วยที่11. พิมพ์ครั้งที่ 7. นนทบุรี : สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552.

เผยแพร่แล้ว

2019-01-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)