อัจฉริยภาพด้านการด้นลำและสีซอของหมอลำบุญมา การะกุล

กันต์ สกุลโพน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจริญชัย ชนไพโรจน์, ดร. สรวงสุดา สิงขรอาสน์

ผู้แต่ง

  • กันต์ สกุลโพน
  • เจริญชัย ชนไพโรจน์
  • สรวงสุดา สิงขรอาสน์

คำสำคัญ:

อัจฉริยภาพด้านการด้นลำและสีซอ, หมอลำบุญมา การะกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง อัจฉริยภาพด้านการด้นลำและสีซอ ของหมอลำบุญมา การะกุล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประวัติของหมอลำบุญมา การะกุล 2) ศึกษาอัจฉริยภาพด้านการด้นลำของหมอลำบุญมา การะกุล ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลเอกสารและข้อมูลภาคสนาม ข้อมูลภาคสนามได้จากการสัมภาษณ์และการสังเกตจากผู้รู้ จำนวน 5 คน ผู้ปฏิบัติ 5 คน ระหว่างเดือน มิถุนายน 2558 ถึงเดือน สิงหาคม 2559 นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบด้วยวิธีการแบบสามเส้า วิเคราะห์ตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้
และนำเสนอผลการวิจัยในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านประวัติของหมอลำบุญมาพบว่า หมอลำบุญมา การะกุล เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2488 ที่บ้านนาหมอม้า อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ บิดาชื่อ นายสุรินทร์ การะกุล มารดาชื่อ นางพูน พุ่มผล ท่านดำเนินชีวิตการเป็นอยู่ที่เรียบง่ายรักษาเอกลักษณ์ของคนอีสานเป็นอย่างดี เป็นผู้ที่มีความรักความสนุกสนานทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างมีความสุขตลอดเวลา เป็นคนที่เข้ากับบุคคลอื่นได้เป็นอย่างดีพูดจาเสียงดังฟังชัด เป็นคนที่มีพรสวรรค์มีปัญญาความสามารถที่เป็นเลิศเชี่ยวชาญทางด้านการด้นลำและการสีซอ เมื่ออายุ 13 ปี ได้รับการถ่ายทอดวิชาการสีซอปิ๊บจากครูบุญเลิศ ปกป้อง ได้ฝึกสีซอจนเกิดความเชี่ยวชาญ และได้เริ่มฝึกการเรียนลำกับครูแก้ว คะโสภา และมารดาของตนได้สอนให้เพิ่มเติม เมื่อสีซอและลำได้ดีแล้วจึงฝึกแต่งกลอนลำจนสามารถแต่งกลอนลำจนเชี่ยวชาญจนเป็นที่รู้จักของกลุ่มนักแสดง จนได้รับเชิญให้แสดงร่วมกับคณะหมอลำใหญๆ่ มากมาย ในป ี พ.ศ. 2514 เปน็ ชว่ งเวลาที่หมอลำบุญมา การะกุล เป็นหมอลำที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และเป็นหมอลำที่เป็นที่รู้จักของประชาชนเป็นอย่างมาก และกลอนลำที่เป็นที่ประทับใจผู้ฟังมากที่สุดในขณะนั้นคือ “กลอนไล่สถานีรถไฟจากอุบลราชธานีถึงกรุงเทพมหานคร” 2) อัจฉริยภาพด้านการด้นลำและสีซอ ของหมอลำบุญมา การะกุล ท่านเป็นหมอลำที่มีพรสวรรค์ สามารถถ่ายทอดอารมณ์ในการลำและสีซอด้วยตนเองได้เป็นอย่างดี โดยมีเทคนิคการสีซอปิ๊บที่มีเสน่ห์ ไพเราะ มีลีลาในการสีซอปิ๊บที่ไม่เหมือนใครจึงทำให้ผู้ชมเกิดความประทับใจอย่างมาก เป็นผู้มีพรสวรรค์ในการด้นกลอนลำได้ไพเราะชวนให้ผู้ฟังหลงใหล โดยท่านได้เรียนรู้กับผลงานของศิลปินหลาย ๆ ท่าน แล้วนำส่วนที่โดดเดน่ ของบุคคลเหลา่ นั้นมาพิจารณาไตร่ตรอง สังเคราะห์ ประสานกับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดส่วนตัว อีกทั้งตัวท่านเป็นผู้มีอัจฉริยภาพด้านการด้นลำจนสามารถพัฒนากลอนลำตามหลักการเชิงทฤษฏีสุนทรียศาสตร์ที่ลุ่มลึกแปลกใหม่ที่ถ่ายทอดอารมณ์ในการลำกลอนได้เป็นอย่างดีเวลาในบทเศร้าก็ถึงกับร้องไห้กับบทบาทการแสดง ในบทสนุกสนานก็สามารถดึงอารมณ์ผู้ชมให้ครื้นเครงได้ซึ่งที่กล่าวมาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ผู้ชมเกิดความประทับใจ และเป็นเสน่ห์ของตัวหมอลำเอง ท่านใช้ปฏิภาณไหวพริบในการเพิ่มเติมเสริมแต่งคำใหม่ๆ นำข้อมูลใหม่ๆ ที่พบในขณะนั้นแล้วแต่งคำลงในกลอนลำได้ให้ทันเหตุการณ์ เสมือนเป็นการด้นกลอนสด คือ ไม่ต้องคิดไว้ล่วงหน้าแต่ลำเป็นกลอนได้ในทันทีทันใดที่พบเห็นเหตุการณ์ พบคนหรือสถานที่นั้นๆ หมอลำบุญมาเป็นฉลาดมีปฏิภาณไหวพริบดี ได้ใช้เทคนิคต่างๆ มาประกอบการด้นกลอนลำ อัจฉริยภาพการด้นกลอนลำ ของหมอลำบุญมา มีลักษณะเฉพาะตัว 4 เทคนิค คือ 1) การสะสมประสบการณ์การเรียนรู้จากครูจนกระทั่งเกิดความชำนาญจึงได้เพิ่มกลอนลำใหม่ๆแทรกเข้ามา 2) การเรียนรู้จากการบอกเล่าของคนอื่นๆและการได้ยินได้ฟังแล้วนำมาปรับปรุงและฝึกฝนจนเชี่ยวชาญ 3) มีความสามารถในการเชื่อมคำเพื่อให้กลอนลำมีความลื่นไหล และ 4) มีศิลปะในการขมวดท้ายกลอนแบบง่ายๆแต่มีเสน่ห์ง่ายและใช้อารมณ์ขัน ซึ่งเทคนิคดังกล่าวนั้นล้วนเกิดจากอัจฉริยภาพด้านการการด้นลำและสีซอของหมอลำบุญมา การะกุล และมีศิลปินน้อยคนนักที่จะสามารถทำได้

References

กรมศิลปากร. (2520). การละเล่นพื้นเมืองภาคอีสาน (หมอลำ - หมอแคน). กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์.

กษมามั่งประยูร. (2537). ศึกษาหมอลำซิ่งของราตรีศรีวิไล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

แก้วตา จันทรานุสรณ์. (2546). การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ในกลอนลำเรื่องร่วมสมัย (พ.ศ.2537-2542). วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จารุบุตร เรืองสุวรรณ.(2528). รายงานการวิจัยเรื่องบทบาทหมอลำต่อสังคมอีสานในช่วงกึ่งศตวรรษ. มหาสารคาม: สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

เจริญชัย ชนไพโรจน์.(2526 ก). ปื้มกลอนลำ. มหาสารคาม: คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.

ชุมเดช เดชภิมล. (2521). ภาพสะท้อนชีวิตของชาวอีสานจากหมอลำ. นครปฐม: ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชูเกียรติ ฉาไธสง และคม ทัพแสง. (2550). “เสียงซอจากก้านนิ้วนักเพลงตาบอดนาม,” ใน ครูบุญมา.(หน้า 12-13). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย. (2554). การประพันธ์กลอนลำ หมอลำเคน ดาเหลา ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2543 จังหวัดขอนแก่น. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วีระ สุดสังข์. (2526). “หมอลำศิลปะวรรณคดีอีสาน,” ครูไทย. 28: 60 - 69; สิงหาคม.

สว่าง เลิศฤทธิ์. (2527). “หมอลำ การเปลี่ยนแปลงที่น่าจับตามอง,” วัฒนธรรมไทย. 23(11): 38-40; พฤศจิกายน.

เสวต จันทะพรม. (2523). “หมอลำหมู่ศิลปะที่มหาชนชาวอีสาน,” สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์. 16(785):24-25; ตุลาคม.

Azzara, Christopher. (1991). “Audiation Improvisation and Music Learning Theory,” in Visions of Research in Music Education Volume II. (p. 106-109). New York: Facts on File.

Douglas, Gavin Duncan. (2001). “StatePartronage of Burmese Traditional Music,” Dissertation Abstracts International. 62(8): 230-241-A; February. Green,

Brooklin. (2012). Impact of Improvisation on Interpersonal Communication. Master’s Thesis, Washington: Gonzaga University.

Hollinger, Robert. (2008). “Pragmatism,”in Microsoft Encarta 2009. Kent, Ohio: Kent State University.

Terry, E. Miller. (1998). World Music A Global Journey. 2nded. New York: A Member of the Taylor and Francis Group.

Trester, Anna Marie. (2007). Improvising Onstage and Off: Combining V ariationist, Discourse, and Anthropological Approaches to Style. Doctor’s Thesis, Washington, D.C.: Georgetown University.

Ward, Adam Micah. (2009).From Imagination to Improvisation to Realization, A Study of Pieces by Four Organists. Doctor’s Thesis, Greenboro:The University of North Carolina at Greenboro.

เผยแพร่แล้ว

2019-01-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)