แนวทางการถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ

ปนัดดา สัพโส, ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล, สารีพันธุ์ ศุภวรรณ

ผู้แต่ง

  • ปนัดดา สัพโส
  • ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล
  • สารีพันธุ์ ศุภวรรณ

คำสำคัญ:

การถ่ายทอดความรู้, ภูมิปัญญาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจสภาพปัญหาและความต้องการถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ (2) สร้างแนวทางการถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ (3) ประเมินแนวทางการถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วย (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นจำนวน 12 คน(2) ประชาชนจำนวน 361 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจแบบสร้างแนวทางการถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริม การประกอบอาชีพของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ และแบบประเมินและรับรองแนวทางการถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพปัญหาของภูมิปัญญาท้องถิ่นส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก คือ ทำนา ทำสวน ทำไร่ และมีเวลาว่างน้อย ขาดความร่วมมือในชุมชน ขาดงบประมาณ สถานที่ถ่ายทอดความรู้ยังไม่เหมาะสม ขาดการประชาสัมพันธ์ ไม่มีเวที แสดงผลงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ขาดการสนับสนุนด้านการตลาดและพื้นที่สาธารณะ จำหน่ายสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และมีความต้องการถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ ถ่ายทอดความรู้เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอย่างจริงจังต้องการให้บรรจุความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในหลักสูตรสถานศึกษาและนำไปปฏิบัติจริงให้ภาครัฐและเอกชนสนับสนุนการตลาด (2) แนวทางการถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นประกอบด้วยองค์ประกอบเหล่านี้ คือ วิธีการถ่ายทอดความรู้ บุคคล สื่อและการประชาสัมพันธ์ การบริหารจัดการความรู้ สถานที่ และงบประมาณ (3) การประเมินและรับรองแนวทางการถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นพร้อมจัดลำดับความสำคัญ ได้แก่ วิธีการถ่ายทอดความรู้ขึ้นอยู่กับความสามารถและความเหมาะสม ควรสร้างขวัญกำลังใจให้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นทุกด้าน สื่อและประชาสัมพันธ์ต้องต่อเนื่อง หน่วยงานรัฐควรส่งเสริมให้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และประชาชนร่วมกันบริหารจัดการความรู้ ควรใช้พื้นที่สาธารณะในการถ่ายทอดความรู้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนงบประมาณ

References

กนกพร ฉิมพลี. (2555). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครราชสีมา.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2553). สถิติการเกษตรของประเทศไทยปี 2552. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 174 น.

จินตนา จันเรือง, นางปณตนนท์ เถียรประภากุล, นายยุทธนา เถียรประภากุล. (2556).แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มเครื่องปั้นดินเผา
บ้านม่อนเขาแก้ว ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ศูนย์วิจัย: วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง, 2556

จันทร์ทิรา เจียรณัย. (2556). รายงานการวิจัยการศึกษาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยการผดุงครรภ์แผนไทยและการใช้สมุนไพรของหมอพื้นบ้าน: กรณีศึกษาหมอพื้นบ้าน
รอบเขตพื้นที่เขื่อนนํ้าพุง จังหวัดสกลนคร.

นโยบายรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ. (คสช.) แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557เข้าถึงได้จาก (ออนไลน์)http://www.moe.go.th/
websm/2014/sep/195.html

นันทวุฒิ ป้องขันธ์. (2557). การจัดการภูมิปัญญาในการผลิตผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. วิทยาลัยการปกครอง: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2557

ประไพศรี รูปดี. (2556) แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมการทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ ของกลุ่มสตรี บ้านม่วง หมู่ 2 ตำบลพรสวรรค์ อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานีในวารสารศรีวนาลัยวิจัย ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

เผยแพร่แล้ว

2019-01-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)