การเลือกใช้ภูมิปัญญาของพรานปลาตามแนวคิดทฤษฎีนิเวศวิทยาวัฒนธรรมในชุมชนบ้านคอน เมืองโขง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว

กังสดาล จงคา

ผู้แต่ง

  • กังสดาล จงคา

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญา, ภูมิปัญญาของพรานปลา, พรานปลา, นิเวศวิทยาวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

บทความชิ้นเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ การผลิตภาพยนตร์สารคดีเพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาของพรานปลาบ้านคอน เมืองโขง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว เรื่อง “ดอนคอนวิถีแห่งพราน” บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเลือกใช้ภูมิปัญญาของพรานปลาตามแนวคิดทฤษฎีนิเวศวิทยาวัฒนธรรมในชุมชนบ้านคอน เมืองโขง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว โดยมีการศึกษาด้านภูมิปัญญาการเลือกใช้วัสดุ ภูมิปัญญาการผลิตเครื่องมือและภูมิปัญญาการเลือกตำแหน่งหาปลาผู้วิจัยมีขั้นตอนและวิธีดำเนินการวิจัยโดยเริ่มจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาพรานปลา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมทั้งศึกษาแนวคิดทฤษฎีนิเวศวิทยาวัฒนธรรม สร้างเครื่องมือในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม ประสานงานผู้เกี่ยวข้องในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม ลงพื้นที่เก็บข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่มาศึกษาเพิ่มเติม นำข้อมูลมาวิเคราะห์ และสรุปผลการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การสังเกต แบบไม่มีส่วนร่วมและแนวทางการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยกลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฎิบัติ และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องทั่วไป การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นขั้นตอนที่สำคัญต่อกระบวนการศึกษาวิจัยเป็นอย่างยิ่งผลการวิจัยพบว่าภูมิปัญญาของพรานปลา บ้านคอน เมืองโขง ด้านการเลือกใช้วัสดุในการสร้างเครื่องมือคือมีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับวัฒนธรรมการหาปลาของตน ด้านภูมิปัญญาการผลิตเครื่องมือ พรานปลาผลิตเครื่องภูมิปัญญาโดยได้รับการสืบทอดมามาจากบรรพบุรุษถือเป็นมรดกที่ถูกถ่ายทอดด้วยวิธีการผลิตในรูปแบบต่างๆ จากพ่อสู่ลูก นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือที่ใช้จับปลาทั่วไปที่พรานปลาและชาวบ้านได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตั้งแต่วัยเยาว์ ซึ่งเป็นวิธีการของคนในชุมชนที่ทำสืบต่อกันมา เพื่อให้เครื่องมือสามารถใช้งานได้และคงอยู่คู่กับชุมชน ด้านภูมิปัญญาการเลือกตำแหน่งหาปลา พรานปลาจะเรียนรู้ธรรมชาติ ศึกษาสภาพระบบนิเวศที่เหมาะสมในการนำเครื่องมือภูมิปัญญาแต่ละชนิดมาใช้ดักจับปลา รวมทั้งใช้ประสบการณ์และความเข้าใจในการนำเครื่องมือแต่ละชนิดที่จะนำมาใช้กับแต่ละพื้นที่ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยในการเลือกตำแหน่งหาปลาของพรานปลา ดังนั้น การเลือกใช้ภูมิปัญญาของพรานปลาในชุมชนบ้านคอน เมืองโขง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว อาจกล่าวได้ว่า พรานปลามีความสัมพันธ์ระหว่างภูมิปัญญากับสภาพแวดล้อม ที่สามารถนำเอาทรัพยากรในชุมชนมาผลิตใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีการปรับใช้วัสดุและแลกเปลี่ยนความรู้กันภายในชุมชนโดยพบว่า เครื่องมือแต่ละชนิดมีที่มา รูปแบบ หลักการจับปลาแตกต่างกัน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมตามสภาพภูมิประเทศและลักษณะการใช้งาน การเลือกใช้ภูมิปัญญาที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมของตน พรานปลานั้นนอกจากจะหาปลาเพื่อให้มีรายได้เพียงพอสำหรับใช้จ่ายในครอบครัวแล้ว ยังมีเป้าหมายการดำเนินชีวิตโดยการหาปลาเพื่อให้มีรายได้เพียงพอต่อการเสียภาษีให้รัฐเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อชุมชน จึงเป็นความสัมพันธ์ของคนในชุมชนกับรัฐเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการคงอยู่และเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาสังคมต่อไป

References

คณะนักวิจัยจาวบ้านเชียงของ-เวียงแก่น. (2547). แม่นํ้าโขงแม่นํ้าแห่งวิถีชีวิตและวัฒนธรรม. เชียงใหม่: เครือข่ายแม่นํ้าเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้โครงการแม่นํ้าและชุมชน

งามพิศ สัตย์สงวน.(2551). หลักมานุษยวิทยาวัฒนาธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ธรรมสภา

ชญาพรรธน เมธีธนันวัฒน์. (2555). พันธุ์ปลาแม่นํ้าโขงตอนล่าง จากเชียงคานถึงปากชม. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม: องค์กรแม่นํ้าเพื่อชีวิต (วนิดาการพิมพ์).

บูชิตา สังข์แก้ว. (2540). วัฒนธรรมปลา และจุดจบตำนานพรานปลาแม่นํ้ามูล. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการเผยแพร่และส่งเสริมงานพัฒนา.

ยศ สนัตสมับัติ. (2544). ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยศ สันตสมบัติ และคณะ. (2552). แม่น้ำแห่งชีวิต การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศและผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2533). ภูมิปัญญาชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย. (2531). พิพิธภัณฑ์ วัฒนธรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

สมเกียรติ อุ่นท้าว. (2549). การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของประชาชนบ้านฝาง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่นในการอนุรักษ์ป่าชุมชน. ขอนแก่น: วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา สังคมศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2551). ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 8.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เผยแพร่แล้ว

2019-01-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)