การพัฒนาการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกรในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ดาวเรือง พัฒนวิบูลย์, ณรงค์ฤทธิ์ โสภา และ รังสรรค์ สิงหเลิศ

ผู้แต่ง

  • ดาวเรือง พัฒนวิบูลย์
  • ณรงค์ฤทธิ์ โสภา
  • รังสรรค์ สิงหเลิศ

คำสำคัญ:

การพัฒนาการดำเนินชีวิต, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, เกษตรกร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในอำเภอสุวรรณภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อสร้างรูปแบบจำลองการพัฒนาการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และ 3) เพื่อศึกษาการทดลองใช้และประเมินรูปแบบการพัฒนาการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดประชากร คือ เกษตรกรใน 15 ตำบล อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดจำนวน 20,545 คน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 392 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane. 1973 : 727) สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นและสุ่มอย่างง่ายเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้รูปแบบการวิเคราะห์สมการโครงสร้างเชิงเส้น (PathAnalysis) ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อสร้างรูปแบบจำลองการพัฒนาการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรที่ได้จากผลการวิจัยในระยะที่1นำร่างรูปแบบการพัฒนาไปวิพากษ์โดยผู้เชี่ยวชาญนักวิชาการ ผู้เกี่ยวข้องและเกษตรกร จำนวน 21 คน ใช้การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Groups) และระดมพลังสมอง (Brainstorming) ร่วมกันวิพากษ์ร่างรูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเสนอแนะรูปแบบและสรุปผลทั้งหมดในที่ประชุมใหญ่ เพื่อให้ได้รูปแบบการพัฒนาการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตร จากนั้นนำเสนอรูปแบบต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความถูกต้องและความเหมาะสมของรูปแบบก่อนนำไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมายและระยะที่ 3 เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองและประเมินรูปแบบการพัฒนาการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกลุ่มเป้าหมาย คือ เกษตรกรในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 40คน โดยการเปรียบเทียบผลการทดลองก่อนและหลัง โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปรตามแบบวัดซ้ำ (MANOVA : Repeated Measure) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยตัวแปรเชิงสาเหตุส่งผลมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลโดยรวมต่อการพัฒนาการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร ได้แก่ ปัจจัยด้านการวางแผน (Beta = 0.24) ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร (Beta = 0.19) ด้านทักษะอาชีพ (Beta = 0.18) ด้านการรู้จักตนเอง (Beta = 0.18) ด้านทัศนคติ (Beta = 0.17) ด้านการเรียนรู้ (Beta = 0.15) ด้านความมั่นใจในตนเอง (Beta = 0.12) และปัจจัยด้านความรู้ (Beta = 0.11) ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. ผลการประชุมกลุ่มย่อย ระดมพลังสมองและการประเมินผลของผู้เชี่ยวชาญทำให้ได้รูปแบบการพัฒนาการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย 16 กิจกรรม ได้แก่ 1) อบรมความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) อบรมเพื่อปรับทัศนคติเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) จัดเสวนาเรื่องการปรับแนวคิดวิถีการดำเนินชีวิตก็เปลี่ยนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) อบรมเพื่อพัฒนาความมั่นใจในตนเองของเกษตรกร 5) ฝึกปฏิบัติพัฒนาการสร้างความมั่นใจในตนเองของเกษตรกร 6) อบรมพัฒนาการเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 7) ศึกษาดูงานในศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ประสบผลสำเร็จ 8) อบรมพัฒนาทักษะในการดำเนินชีวิต 9) ฝึกปฏิบัติพัฒนาทักษะด้านการเกษตร 10) อบรมเพื่อพัฒนาการรู้จักตนเองของเกษตรกร 11) ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการรู้จักตนเองของเกษตรกร 12) อบรมเกี่ยวกับการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร 13) อบรมการทำการเกษตรแบบผสมผสานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 14) อบรมการวางแผนในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 15) จัดเสวนาเรื่อง การวางแผนดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสำเร็จและเกิดความสุขและ 16) ฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดพบว่า ผลการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรดีขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

References

แกมทอง อินทรัตน์. (2551). ตัวชี้วัดเศรษฐกิจพอเพียงระดับจังหวัด: มิติทางเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2551.

ธิดารัตน์ ศรีขาว. (2557). รูปแบบการพัฒนาการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค) มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,2557.

สำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด. (2558). สถิติจำนวนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนปลูกข้าวนาปี ในปี 2558 ของอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด.ร้อยเอ็ด : สำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด.

สำนักงานเกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ. (2557). แผนยุทธศาสตร์อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด :สำนักงานอำเภอสุวรรณภูมิ
สำนักงานประสานงานวิจัยเชิงบูรณาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.เศรษฐกิจชุมชน.สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2556 จาก http//www.trf.mju.ac.th/lobby/lobby.php?Lpage=AT&id=AAT520102.php

สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง. (2551). การเรียนรู้ร่วมกันแบบมีเข็มมุ่งสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: ฟ้าอภัย, 2551.

อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2551). ตัวชี้วัดเศรษฐกิจพอเพียงระดับจังหวัด: มิติสังคม. กรุงเทพฯ:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2551.

อาภากร ประจันตะเสน. (2558). รูปแบบการพัฒนาการพึ่งตนเองของประชาชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ปร.ด. (ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค)มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,

Joreskog, K.G. and D. Sorbom. (1998). LISREL 8 User’s Reference Guild. Chicago : Scientific Software International, 1998.

Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic,M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son

เผยแพร่แล้ว

2019-01-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)