การทอผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทบ้านโพนม่วงเมืองเซโปน แขวงสะหวันนะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

คนัมพร เปศรี

ผู้แต่ง

  • คนัมพร เปศรี

คำสำคัญ:

การทอผ้า, ชาติพันธุ์, ผู้ไท, ลาว

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทอผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท บ้านโพนม่วง เมืองเซโปน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยการศึกษาภาคเอกสารและภาคสนามโดยเก็บโดยใช้การสังเกต แบบการสัมภาษณ์ชนิดที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง โดยมีผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย ผู้นำหมู่บ้านช่างทอ ชาวบ้านนักวิชาการและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีสัญญะทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ นำเสนอด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ โดยกำหนดกรอบในการศึกษาประกอบด้วยด้านเทคนิคและลวดลายผ้าทอ ด้านวัสดุอุปกรณ์การทอผ้า และด้านสีและเส้นใยผลการศึกษาพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทบ้านโพนม่วง เมืองเซโปน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีด้านเทคนิคการทอผ้าจำนวน 4 ชนิด คือ เทคนิคทอพื้นฐานเทคนิคทอมัดหมี่ เทคนิคทอขิดและเทคนิคทอผ้าจก (เกาะ) ส่วนในด้านลวดลายนิยมทอลวดลายแบบประเพณี, ด้านวัสดุอุปกรณ์การทอผ้าช่างทอส่วนใหญ่ใช้เครื่องมือแบบดั้งเดิมและในด้านของสีและเส้นใยพบว่าช่างทอย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติและสีสังเคราะห์ส่วนเส้นใยพบว่าช่างทอส่วนใหญ่ใช้ฝ้ายและไหมที่ผลิตเองในชุมชนมีเพียงบางคนใช้เส้นใยสังเคราะห์จากโรงงาน

References

เกรียงไกรเกิดศิริ. (2553). ภูมิหลังการตั้งถิ่นฐานกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว และการเคลื่อนย้ายสู่ประเทศไทยใน หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย. กันยายน-สิงหาคม.หน้า 83

จิรโชค วีระสย. (2553). ปรัชญาเชิงศาสตร์ Philosopho of Science นวสมัย แนวทางศึกษาเชิงสังคมศาสตร์ คติ นิยมเชิงโครงสร้าง-การหน้าที่. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. มปท.

ดวงเงิน พูนผล และคณะฯ. (2548). ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านและการผลิตเนื่องมาจากระบบนิเวศวัฒนธรรม พื้นบ้าน. โครงการย่อยที่ 8. ภาควิชาสถาปัตยกรรมมหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิตยาวรรณกิตร์. (2557). ภูมิปัญญา “ผ้าไหมแพรวาผู้ไทบ้านโพน”: พลวัตและการปรับตัว. ใน วารสารไทยศึกษา. ปีที่10 ฉบับที่ 2 สิงหาคม 2557-มกราคม.หน้า 63

นิยพรรณ วรรณศิริ. 2540. มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.

ผะอบ นะมาตย์ และคณะ. (2544). ผ้าและการสืบทอดความรู้เรื่องผ้า: กรณีศึกษากะเหรี่ยงโปว์ในพื้นที่จังหวัด กาญจนบุรี ราชบุรีและสุพรรณบุรี. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พวงผกา คุโรวาท. (2535). คู่มือประวัติเครื่องแต่งกาย. กรุงเทพฯ: สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

พิฆเณศอิศร มงคลรักษ์. (2556). อัตลักษณ์เชิงเลขนศิลป์ 8 กลุ่มชาติพันธุ์ในแถบลุ่มแม่นํ้าโขง กรณีศึกษาจังหวัดมุกดาหาร (Identity oriental in graphic of 8 tribes inside mekong basin : a case study of Mukdahan province). ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภูวดล ศรีธเรศ. (2558). แพรเบี่ยงผู้ไทในบริบทของการจัดการคุณค่าและมูลค่าในวารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 กันยายน- ธันวาคม.หน้า 74

วาริน จันทศรี และคณะ.(2546). งานหัตถกรรมผู้ไท การใช้วัสดุ ภูมิปัญญาและความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตในเรือนผู้ไท ชุดโครงการชุมชนและเรือนผู้ไท : รูปแบบและนิเวศวิทยาวัฒนธรรมการอยู่อาศัย. ขอนแก่น: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิถี พานิชพันธ์. (2547). ผ้าและสิ่งถักทอไท. เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์ซิลค์วอร์ม.

สมโชค เฉตระการ. (2552). แนวทางการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ ของการพัฒนาอาชีพทอผ้าไหม. ตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง สกลนคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร.

Linda S. McIntosh. (2557). Art of Southeast Asian Textiles: The Tilleke & GibbinsCollection. Tilleke & Gibbons International, 2012 Publisher. USA.

VatthanaPholsena and Oliver Tappe. (2013). Interactions with a Violent Past. ReadingPost-ConflictLandscapes in Cambodia, Laos, and Vietnam. NationalUniversity of Singapore. NUS Press.

กิน จันนา (ผู้ให้สัมภาษณ์). คนัมพร เปศรี (ผู้สัมภาษณ์), 2 กุมภาพันธุ์ 2557.

กองวง คำพิลา (ผู้ให้สัมภาษณ์). คนัมพร เปศรี (ผู้สัมภาษณ์), 1 กุมภาพันธุ์ 2557.

บุญส่ง ไม่ทราบนามสกุล (ผู้ให้สัมภาษณ์). คนัมพร เปศรี (ผู้สัมภาษณ์), 1 กุมภาพันธุ์ 2557.

หยดเหม่า ไม่ทราบนามสกุล (ผู้ให้สัมภาษณ์). คนัมพร เปศรี (ผู้สัมภาษณ์), 2 กุมภาพันธุ์ 2557.

เอง ไม่ทราบนามสกุล (ผู้ให้สัมภาษณ์). คนัมพร เปศรี (ผู้สัมภาษณ์), 2 กุมภาพันธุ์ 2557.

เผยแพร่แล้ว

2019-01-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)