การวิเคราะห์เนื้อหางานวิจัยเกี่ยวกับอินโฟกราฟิก

ผู้แต่ง

  • Benchamat - Sriphon คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์เนื้อหา, อินโฟกราฟิก

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจและรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวกับอินโฟกราฟิกในประเทศไทย2) เพื่อวิเคราะห์เนื้อหางานวิจัยที่เกี่ยวกับอินโฟกราฟิกในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ งานวิจัยที่เกี่ยวกับอินโฟกราฟิก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555-2560 จำนวน 23 เรื่อง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลงานวิจัย และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ 

                 ผลการวิจัย พบว่า ด้านข้อมูลทั่วไปของงานวิจัย ได้แก่ ปีที่พิมพ์งานวิจัยเกี่ยวกับอินโฟกราฟิกส่วนใหญ่ คือ ปี 2559 (ร้อยละ 43.5) ปริญญาของงานวิจัยส่วนใหญ่ คือ ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (ร้อยละ 43.5) และมหาวิทยาลัยที่สังกัดส่วนใหญ่ คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ร้อยละ 34.8) ด้านวิธีการดำเนินการวิจัย ได้แก่ ระเบียบวิธีการวิจัยส่วนใหญ่ คือ การวิจัยเชิงทดลอง (ร้อยละ 69.6) ประชากร/กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ นิสิต/นักศึกษา (ร้อยละ 34.8) วิธีการสุ่มตัวอย่างของงานวิจัยส่วนใหญ่ คือ การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (ร้อยละ 43.5) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยส่วนใหญ่ คือ แบบประเมิน (ร้อยละ 39.1) และสถิติที่ใช้ในการวิจัยส่วนใหญ่ คือ ค่าเฉลี่ย/ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (ร้อยละ 52.2) และด้านเนื้อหาของงานวิจัย ได้แก่ วัตถุประสงค์การวิจัยส่วนใหญ่ คือ เพื่อพัฒนาอินโฟกราฟิก (ร้อยละ 39.1) ประเภทของอินโฟกราฟิกส่วนใหญ่ คือ แบบภาพเคลื่อนไหว (ร้อยละ 47.8) มีเนื้อหา/เรื่องส่วนใหญ่ คือ เนื้อหาด้านวิชาการ (ร้อยละ 39.1) และการออกแบบอินโฟกราฟิกส่วนใหญ่ คือ เน้นการออกแบบด้านกราฟิก (ร้อยละ 65.2)

 

คำสำคัญหรือคำหลัก (keywords)  การวิเคราะห์เนื้อหา, อินโฟกราฟิก

References

ไขแสง พุฒชูชื่น. (2544). การวิเคราะห์เนื้อหาวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (ออนไลน์). (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สืบค้นจาก : http://www.thailis.or.th/tdc/. 25 กรกฎาคม 2561.
ชโรชีนีย์ ชัยมินทร์. (2553). การวิเคราะห์เนื้อหางานวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ของบรรณารักษ์และนักสารสนเทศห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา. (ออนไลน์). (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นจาก : http://www.thailis.or.th/tdc/. 26 กรกฎาคม 2561.
ชลดา พ้นภัย. (2552). การวิเคราะห์เนื้อหาบทความวิจัยในวารสารวิจัยต่างประเทศสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์. (ออนไลน์). (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สืบค้นจาก : http://www.thailis.or.th/tdc/. 13 กรกฎาคม 2561.
นัจภัค มีอุสาห์. (2556). อิทธิพลของชุดข้อมูลและสีสันต่อความเข้าใจเนื้อหาของภาพอินโฟกราฟิก. (ออนไลน์).
(วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. สืบค้นจาก : http://www.thailis.or.th/tdc/. 5 กรกฎาคม 2561.
ภาณุพงศ์ จันทร์ผลิน. (2557). การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบอินโฟกราฟิก สำหรับนักเรียนฝึกอาชีพ โรงเรียนพระดาบส. (ออนไลน์). (วิทยานิพนธ์ปริญญาอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. สืบค้นจาก : http://www.thailis.or.th/tdc/. 5 กรกฎาคม 2561.
มาโนช มาละการ. (2551). กระบวนการดำเนินงานสวัสดิการชุมชน : การสังเคราะห์งานวิจัยและการวิเคราะห์เนื้อหา. (ออนไลน์). (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นจาก : http://dric.nrct.go.th/. 13 กรกฎาคม 2561.
สุทธิณี เปียซื่อ. (2553). การวิเคราะห์เนื้อหาและแนวโน้มวิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต
สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สืบค้นจาก : http://www.thailis.or.th/tdc/. 9 กรกฎาคม 2561.
อัจฉรา ด่านพิทักษ์. (2547). การวิเคราะห์เนื้อหาปริญญานิพนธ์สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีการศึกษา 2512-2545. (ออนไลน์). (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สืบค้นจาก : http://www.thailis.or.th/tdc/. 9 กรกฎาคม 2561.

เผยแพร่แล้ว

2019-07-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)