นิเวศวิทยาวัฒนธรรมของสมุนไพรในป่าชุมชนดงโต่งโต้นตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • นายพันชัย ขันโยธา คณะศิลปศาสตร์

คำสำคัญ:

นิเวศวิทยาวัฒนธรรม, สมุนไพร

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนิเวศวิทยาวัฒนธรรมของสมุนไพรในพื้นที่ป่าชุมชนดงโต่งโต้น ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพรและเพื่อศึกษาความหลากหลายทางนิเวศวิทยาวัฒนธรรมของสมุนไพรที่พบในพื้นที่ป่าชุมชนดงโต่งโต้น ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้แบบสำรวจเพื่อสำรวจสมุนไพรในพื้นที่ป่าชุมชนดงโต่งโต้น   และแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างเพื่อสัมภาษณ์ผู้รู้ ผู้ปฏิบัติ และผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวน 27คน  ผลการศึกษาพบว่า

ในด้านความหลากหลายทางชีวภาพในประเด็นชนิดของพืชสมุนไพรที่พบในป่าชุมชนดงโต่งโต้น มีทั้งหมด 31 ชนิด  ในประเด็นสรรพคุณของสมุนไพรในป่าชุมดงต่งโต้นมีสรรพคุณในการบำรุงเลือด,บำรุงน้ำนม   สรรพคุณในการแก้ไข้  สรรพคุณในการแก้ปวดตามร่างกาย  สรรพคุณในการแก้เลือดเสีย,ขับเลือดเสียของสตรี  และสรรพคุณในการแก้ร้อนในกระหายน้ำ  และในประเด็นวิธีการใช้ประโยชน์ของสมุนไพรมีวิธีการใช้ประโยชน์ด้วยวิธีการย่าง วิธีการสูบ วิธีการต้ม วิธีการฝน วิธีการบด วิธีการรับประทานสด วิธีการเคี้ยวและวิธีการคั่ว  ส่วนในด้านความหลากหลายทางนิเวศวิทยาวัฒนธรรมพบว่า หมอยาสมุนไพรได้ศึกษาและเรียนรู้เรื่องสมุนไพรจากบิดา ตาและพระโดยศึกษาชนิดขอมสมุนไพร การเก็บรักษาสมุนไพร การปรุงยาสมุนไพรและการนำยาสมุนไพรไปรักษาผู้ป่วย ส่วนในประเด็นเรื่องการถ่ายทอดองค์ความรู้พบว่าหมอยายังไม่ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับยาสมุนไพรสมุนไพรให้แก่ผู้ใด ในประเด็นด้านความสัมพันธ์ของคนกับธรรมชาติพบว่าหมอยามีวิธีการเก็บพืชสมุนไพรได้ตลอดทั้งปีและนำเอาพืชสมุนไพรบางส่วนมาปลูกไว้ที่บ้าน ส่วนประเด็นความสัมพันธ์ของคนกับสิ่งเหนือ หมอยาก่อนจะทำการเก็บยาได้บอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพระแม่ธรณี  หมอยาได้ระลึกถึงคุณของครูบาอาจารย์และเสกคาถาปลุกยาส่วน หลังจากรักษาหายแล้วผู้ป่วยก็เตรียมเลิกคายหรือปลงคายให้กับหมอยา

 

 

References

กชพรรณ วงค์เจริญ. (2556). พืชสมุนไพร. นครราชสีมา : ทัศน์ทองการพิมพ์.
กรุณา จันทุม และกัลยารัตน์ กำลังเหลือ. (2560). การรักษาโรคด้วยสมุนไพรและตำรับยาโบราณของหมอพื้นบ้าน ใน วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 สิงหาคม.หน้า 48-57.
ณภาภัช ไชยน้ำอ้อม และวีรนุช วอนเก่าน้อย. (2553). การใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรในเขตป่าชุมชน. สืบค้นจาก : https://tdc.thailis.or.th. 17 มีนาคม 2562.
ถวิล ชนะบุญ,วีระ ทองเนตร.(2560). การศึกษาความหลากหลายของพืชสมุนไพรในชุมชนบ้านเชียงเหียน
ตำบลเขวา อำเภอเมือง.วารสารวิชาการแสงอีสาน.ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน.หน้า 1-14.
ปริ่มมาลา ขำคมเขตต์, คมศิลป์ พลแดง. (2558). ภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นบ้าน. จาก : https://tdc.thailis.or.th. 20 กุมภาพันธ์ 2562.
พงศกร ชาวเชียงตุง.(2559) ความหลากหลายของนกฤดูหนาวในป่าวัฒนธรรมดงตงโต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ ฉบับพิเศษ : มหกรรมวิชาการภูมิปัญญา กลุ่มชาติพันธุ์นานาชาติลุ่มน้ำโขง ไทย ลาว เวียดนาม จีน.หน้า 24-33.
เพ็ญนภา ทิพย์สุราษฎร์. (2559). การศึกษาเพื่อสมุนไพรท้องถิ่นและภูมิปัญญาด้านการใช้พืชสมุนไพร. สืบค้นจาก : https://www.google.com. 17 มีนาคม 2562.
ภานุวัฒน์ สืบนุการณ์,(2545).ทัศนคติของราษฎรที่มีต่อการอนุรักป่าชุมชนป่าอาลอ-โดนแบน ตำบลนาดี อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. สืบค้นจาก : https://tdc.thailis.or.th 16 ธันวาคม 2561.
รอฮานี เจะแม. (2558). การใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรของประชาชนที่อาศัยรอบพื้นที่เขาปกโย๊ะ. สืบค้นจาก : https://tdc.thailis.or.th. 20 กุมภาพันธ์ 2562.
สมพร ภูติยานันต์,(2542).ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย : ว่าด้วยสมุนไพรกับการแพทย์แผน. สืบค้นจาก : https://tdc.thailis.or.th. 16 ธันวาคม 2562
สำนักงานจังหวัดกาฬสินธุ์.(2560).แผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการจังหวัด.สืบค้นจาก : https://www.kalasin.go.th 14 ธันวาคม 2561
อัฉชรา สุมังเกษตร,ชัยวัฒน์ นันทศรี. (2559) องค์ความรู้ภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นบ้าน. สืบค้นจาก : https://www.google.com. 17 มีนาคม 2562
อรพิน นิยมญาติ. (2555) การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ภูมิปัญญาสมุนไพรของชนเผ่าม้ง. สืบค้นจาก : https://tdc.thailis.or.th. 20 กุมภาพันธ์ 2562.

เผยแพร่แล้ว

2019-07-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)