พฤติกรรมและสภาพปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียนของวัยรุ่นเขตบางขุนเทียน

ประสงค์ อุทัย, วัฒนา เอกปมิตศิลป์, สมบัติ ทีฆทรัพย์

ผู้แต่ง

  • ประสงค์ อุทัย
  • วัฒนา เอกปมิตศิลป์
  • สมบัติ ทีฆทรัพย์

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, การตั้งครรภ์, ในวัยเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตั้งครรภ์วัยรุ่นในวัยเรียน 2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมปัญหาที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในวัยเรียน 3. เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากรเขตบางขุนเทียนจำนวน 363,188 คน โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นที่กำลังตั้งครรภ์ในเขตพื้นที่บางขุนเทียน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิธีการสุ่มตัวอย่างคือ การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

            ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตั้งครรภ์วัยรุ่นในวัยเรียน ระดับความคิดเห็นด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับครอบครัว  เมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นเป็นลำดับแรก คือ ฉันคิดว่ามีโอกาสน้อยที่ครอบครัวของฉันจะอยู่กันอย่างมีความสุข มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับจริงที่สุด รองลงมาคือฉันเชื่อว่าปัญหาในครอบครัวที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินไปที่ฉันจะสามารถแก้ไขได้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2. เปรียบเทียบพฤติกรรมปัญหาที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติ เมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นเป็นลำดับแรก คือโรคเอดส์มีอันตรายมากจนฉันไม่คิดเสี่ยงมีเพศสัมพันธ์กับใครที่แน่ใจว่าปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือฉันเชื่อว่าความสุขเกิดจากการมีทรัพย์สินเงินทองมากๆ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3. แนวทางการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม เมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นเป็นลำดับแรก คือฉันตั้งใจจะทำหน้าที่พลเมืองที่ดีจึงไม่คิดที่จะทำในสิ่งที่ละเมิดกฎหมายถึงแม้ว่าจะเห็นเพื่อนๆทำกัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือฉันไปนอนค้างที่บ้านหรือหอพักของเพื่อน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 4. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อและวัฒนธรรม เมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นเป็นลำดับแรก คือ ฉันดูสื่อต่างๆ เช่น วิดีโอภาพยนตร์คลิปวิดีโออินเทอร์เน็ตที่นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับความรักและการมีเพศสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ในปัจจุบันผู้หญิงที่ยึดมั่นคำสอนเรื่องการรักนวลสงวนตัวถือว่าเป็นผู้หญิงที่ล้าสมัย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

References

[1]. กุลวดี เถนว้อง (2551) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและแนวทางการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ปทุมธานี : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
[2]. จรรยา ดวงแก้ว (2540) ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกรุงเทพมหานคร
[3]. จันทร์เพ็ญ แสงอรุณ (2551) เอกสารประกอบการสอนรายวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ นครราชสีมา-
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
[4]. ฉัตรจงกล ตุลยนิษกะและคณะ (2560) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลของการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของสตรีวัยรุ่นในจังหวัดพัทลุง มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
[5]. ชวนชม สกนธวัฒน์ และคณะ (2530) การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติต่อเกี่ยวกับเพศการเจริญพันธ์และการคุมกำเนิดในวัยรุ่น ศึกษาเฉพาะกรณีนักเรียนอาชีวะ จังหวัดขอนแก่น วิทยานิพนธ์,สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
[6]. พรพิมล เจียมนาครินทร์ (2539) พัฒนาการวัยรุ่น กรุงเทพฯ : บริษัทต้นอ้อ แกรมมี่ จำกัด,
มาลีวัล เลิศสาครศิริ (2557) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของสตรีวัยรุ่นตามการรับรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่1 วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
[7]. ศรีเรือน แก้วกังวาล (2545) จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
[8]. สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ องค์การอนามัยโลก (WHO, 1998)

เผยแพร่แล้ว

2019-07-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)