มิติทางวัฒนธรรมจากคัมภีร์ใบลาน : กรณีศึกษาวัดศรีชมชื่น ตำบลพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • Athirach2524 Nankhantee ึคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

มิติทางวัฒนธรรม, คัมภีร์ใบลาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชนบ้านพิมาน ตำบลพิมาน อำเภอ นาแก จังหวัดนครพนม และ 2. เพื่อศึกษามิติทางวัฒนธรรมจากคัมภีร์ใบลานของวัดศรีชมชื่น ตำบลพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านพิมานมีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน เรียกตนเองว่า ผู้ไทกะเลิง หมายถึง มีกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทและกะเลิงอาศัยอยู่ร่วมกันในชุมชน ยุคแรกของการตั้งหมู่บ้าน เป็นกลุ่มข้าโอกาสพระธาตุพนม มีหน้าที่เสียค่าหัวและไปสร้างที่พักสำหรับผู้เดินทางมาแสวงบุญเป็นประจำทุกปี  พ.ศ. 2450  ตั้งอำเภอหนองสูงบริเวณบ้านนาแก และแต่งตั้งหลวงศรีพฤษผลเป็นกำนันคนแรกของตำบลพิมาน ในช่วงเหตุการณ์ไม่สงบ ชาวบ้านพิมานมีการจัดตั้งเวรยามร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ จนถึง พ.ศ. 2529 สถานการณ์ได้คลี่คลาย ชาวบ้านพิมานดำรงชีวิตโดยอาศัยธรรมชาติ การทำนาที่นิยมคือทำนาสักเป็นลักษณะการทำนาหยอดหลุม โดยดำเนินการหยอดเมล็ดข้าว ในเดือนสี่ เมื่อถึงฤดูทำนา ชาวบ้านพิมานจะประสบภัยน้ำท่วม ต้นข้าวในนาสักโตเต็มที่แข็งแรง ทนต่อน้ำท่วม ชาวบ้านพิมานมีอาชีพปั้นไห เรียกว่า ไหพิมาน เกิดการซื้อขายและแลกเปลี่ยนสินค้า เช่น เกลือ ข้าว ปลา ในชุมชนลุ่มน้ำก่ำ

คัมภีร์ใบลานที่พบ มีใบลานยาว และใบลานสั้น จำนวน 116 มัด 1,100 ผูก มีอักษรธรรมอีสาน อักษรไทยน้อย และอักษรขอม พบมากที่สุดคือ อภิธรรม ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นยอดธรรมของพระพุทธเจ้า จึงเป็นที่นิยมในการสร้างมากที่สุด คัมภีร์ใบลานที่ยังสืบเนื่องถึงปัจจุบัน คือ พระเจ้าแทนน้ำนมแม่ ชาวบ้านยังใช้ประกอบในกองบุญอุทิศให้แก่พ่อแม่ที่เสียชีวิตแต่เปลี่ยนเป็นกระดาษยาวและพิมพ์ด้วยอักษรไทยปัจจุบัน อายุของคัมภีร์ใบลาน ที่เก่าที่สุดคือ สังฮอมธาตุ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2304 ผู้เขียน ส่วนมากคือ พระอาจารย์อุปคุตเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดศรีชมชื่นมีชื่อเสียงด้านการเทศน์พระเวสสันดรเป็นที่รู้จักของคนในลุ่มน้ำก่ำเป็นอย่างดี เจ้าลาน คือ ผู้ที่ซื้อใบลานมาให้ผู้เขียนและได้รับอานิสงส์เท่ากัน คำปรารถนา เพื่อให้ได้รับอานิสงส์ตามความตั้งใจ เช่น ปรารถนาไปเถิงสุข ขอให้บุญกุศลไปถึงผู้ล่วงลับ ขอให้มีข้าวของเงินทอง  พ.ศ. 2488 เกิดโรคผีดาษในชุมชนทำให้ชาวบ้านเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ผู้เขียนคัมภีร์ใบลานได้มีคำปรารถนาอานิสงส์ให้ผิวพรรณผ่องใส หายจากความเจ็บป่วย

References

ณรงค์ศักดิ์ ราวรินทร์. (2553). ระบบการจัดการคัมภีร์ใบลานวัดมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณัฏฐกรณ์ คำลุน. (สัมภาษณ์). อธิราชย์ นันขันตี. (ผู้สัมภาษณ์). (2 กุมภาพันธุ์ 2562).
ทศพล อาจหาญ.(2542). ข้าโอกาสพระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธวัช ปุณโณทก.(2530). จารึกสมัยไทย-ลาว. กรุงเทพฯ : อักษรกิจ.
นิกร พ่อเพียโคตร. (สัมภาษณ์). อธิราชย์ นันขันตี. (ผู้สัมภาษณ์). (16 กุมภาพันธุ์ 2562).
ใบสี เพชรฤทธิ์. (สัมภาษณ์). อธิราชย์ นันขันตี. (ผู้สัมภาษณ์). (25 เมษายน 2562).
ประวิทย์ คำพรม. (2546). ประวัติอำเภอธาตุพนม. นครพนม : องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม.
พระครูปทีปจันทโรภาส. (สัมภาษณ์). อธิราชย์ นันขันตี. (ผู้สัมภาษณ์). (5 เมษายน 2562).
พระครูสุวรรณนพคุณ. (สัมภาษณ์). อธิราชย์ นันขันตี. (ผู้สัมภาษณ์). (2 กุมภาพันธุ์ 2562).
พระชยานันทมุนี และคณะ (2562) การสืบค้นและการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานล้านนาของวัดเพื่อสร้างแหล่ง
เรียนรู้ในท้องถิ่นภาคเหนือ ใน วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(1) (ม.ค.- มี.ค.). 128-145.
วิทยาลัยครูมหาสารคาม. (2530). บัญชีสำรวจคัมภีร์ใบลานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เล่มที่ 12.
มูลนิธิโตโยต้า ประเทศญี่ปุ่น.
สมัย วรรณอุดร. (2559). คัมภีร์ใบลานกับกระบวนการสร้างศูนย์เรียนรู้ชุมชนด้านเอกสารโบราณวัดศรีจันทร์
ชุมชนบ้านนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. ใน วารสารดำรง
วิชาการ. 15(2) (ก.ค.-ธ.ค.). 89-116.
สมัย วรรณอุดร. (2547). มิติทางวัฒนธรรมจากคัมภีร์ใบลาน ศึกษากรณีจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม
: โครงการอนุรักษ์ใบลานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยนครพนม.
สุรจิตต์ จันทรสาขา. (2543). เมืองมุกดาหาร. มปท., 48-49.
สุรัตน์ วรางค์รัตน์. (2539).กะเลิงบ้านบัว . ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-25