การเปรียบเทียบพฤติกรรมการมารับวัคซีนพิษสุนัขบ้าครบชุดของผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าหลังจากการได้รับความรู้

ผู้แต่ง

  • suchada surangkul
  • ดารุณี บุญเต็ม

คำสำคัญ:

เปรียบเทียบพฤติกรรม, รับวัคซีนพิษสุนัขบ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบพฤติกรรมการมารับวัคซีนพิษสุนัขบ้าครบชุดหลังการให้ความรู้ในผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าพ.ศ. 2560การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการมารับวัคซีนพิษสุนัขบ้าครบชุดหลังได้รับความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าเป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น  (pre - experiment)กลุ่มตัวอย่างคือ คือผู้ที่สัมผัสเชื้อพิษสุนัขบ้าแล้วแพทย์พิจารณาให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ห้องอุบัติเหตุ –  ฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองบุญมาก อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมาทุกรายโดยพิจารณาจากมีอายุ 15 ปีขึ้นไป กรณีผู้ที่สัมผัสเชื้อพิษสุนัขบ้า อายุน้อยกว่า 15 ปี ซักถามผู้ปกครองแทนและยินดีตอบแบบสอบถาม จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 4 ส่วนคือ ข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า ทัศนคติในการไปรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและการปฏิบัติตัวในการป้องกันตนเองจากโรคพิษสุนัขบ้าและการมารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของครอนบาค ด้านความรู้ เท่ากับ  0.738 และด้านเจคติ เท่ากับ 0.603เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม 2560 – 15 เมษายน 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอนุมานได้แก่ Paired samples t-test

          ผลการวิจัยพบว่าด้านความรู้กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยหลังให้ความรู้เท่ากับ 8.94  ด้านทัศนคติมีคะแนนเฉลี่ยของทัศนคติหลังการสอนเท่ากับ 29.80 ด้านการปฏิบัติมีคะแนนเฉลี่ยหลังการสอนเท่ากับ 28.34  เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติพบว่าความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ หลังการสอนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

          จากการค้นพบดังกล่าวแสดงว่าควรมีการสอนผู้สัมผัสเชื้อพิษสุนัขสุนัขบ้าโดยเน้นเรื่องสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดเป็นพาหะนำโรคพิษสุนัขบ้าได้ การมารับวัคซีนตามนัดและการประชาสัมพันธ์เรื่องการปฏิบัติตัวในการป้องกันตนเองจากโรคพิษสุนัขบ้า

References

กลุ่มโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
(2559).แนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้าฉบับปรับปรุงพิเศษ.ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง
ประเทศไทย จำกัด:กรุงเทพฯ.
ธีรพงษ์ ยืนยงโอฬาร. (2554).ระบาดวิทยาโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ.
2549 - 2554(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก http//www.dcontrol.dld.go.th /th/images/stories/.rebies-
epidemic 2549 – 2554.pdf [10 พฤศจิกายน 2559]
ธีรพงศ์ ยืนยงโอฬารและณัฏฐพัชร บุญมีเกษมสันต์.(2552 ).โรคพิษสุนัขบ้า.ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร
แห่งประเทศไทย จำกัด: กรุงเทพฯ.
นริศา นางาม ,ประพันธ์ศักดิ์ ฉวีราช , พิทักษ์ น้อยเมล์และนภดล มีมาก. (2543).ปัจจัยที่มีผลต่อการนำ
สุนัขและแมวมารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในหมู่บ้านชนบทของจังหวัดขอนแก่น
วารสารสัตวแพทย์ 10(3): 36 – 49.
นิวัช เทพสง.(2551).ลักษณะทางระบาดวิทยาของผู้ที่ถูกสงสัยว่าสัมผัสเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าใน อำเภอ
ป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก http//www.tnrr.in.th [16 ธันวาคม 2559]
บุญเยี่ยมตระกูลวงษ์. (2541) . จิตวิทยาสังคมกับการสาธารณสุขหน่วยที่ 11 ในเอกสารการสอนชุดวิชา
สังคมวิทยาการแพทย์หน่วยที่ 9 – 15. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช:นนทบุรี.
ประวิทย์ชุมเกษียร. (2541).สาเหตุการไม่ได้รับวัคซีนหลังรับเชื้อของผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าใน
ประเทศไทย พ.ศ. 2535 – 2539 (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก www.tnrr.in.th[18 ธันวาคม 2559]
พันธนีย์ ธิติชัย.(2555).โรคพิษสุนัขบ้า:สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี2555(ออนไลน์).เข้าถึง
ได้จาก http//www.boe.moph.go.th[16 ธันวาคม 2559]
รัตนาวงษ์พิทักษ์โรจน์.(2543).ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพการสนับสนุนทางสังคม
กับพฤติกรรมการปฏิบัติตนของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก
โรงพยาบาลนครปฐม (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก www.tnrr.in.th [18 ธันวาคม 2559]
สังวาลเจริญรบและคณะ. (2540) . สภาพการณ์ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษ
สุนัขบ้าของผู้มารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่งานควบคุมโรคติดต่อทั่วไป.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด: ร้อยเอ็ด.
สุดา สีบุญเรือง และธีระพงษ์ตัณฑวิเชียร.( 2559).วิชาการโรคพิษสุนัขบ้า (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก
www.saovabha.com/Vichakarn/defult.asp [20 ธันวาคม 2559]
สุเมธองค์วรรณดี, ประวิทย์ชุมเกษียร, นราทิพย์ชุติวงศ์และวิโรจน์ตั้งเจริญเสถียร. (2546).
ต้นทุน- ผลได้ของการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทยโดยเน้นการควบคุมในสุนัข.
วารสารวิชาการสาธารณสุข: กรุงเทพฯ.
สุรชัยศิลาวรรณ, นันทนาแต้ประเสริฐ, พงษ์พิษณุศรีธรรมานุสาร, ธีรศักดิ์พรหมพันใจ. (2551).
ต้นทุนประสิทธิผลโครงการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในคนเปรียบเทียบระหว่างการให้
วัคซีนโดยวิธีการป้องกันโรคล่วงหน้าและการให้วัคซีนป้องกันหลังถูกสัตว์กัด(ออนไลน์).เข้าถึง
ได้จาก http://www ..kmddc.go.th [16 ธันวาคม 2559]
สำนักโรคติดต่อทั่วไป .(2559). ระบบรายงานโรคพิษสุนัขบ้า กระทรวงสาธารณสุข (ออนไลน์).
เข้าถึงได้จาก http//www.r36.ddc.moph.go.th/r36/home [16 ธันวาคม 2559]
อนุรักษ์ ทองเทศ.(2549).ความพึงพอใจของผู้มารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ที่
โรงพยาบาลป่าโมก อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอ่างทอง(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก
www.http:tdc.thailis.or.th [ 3ธันวาคม 2559]
อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ.(2553).แรงสนับสนุนทางสังคม: ปัจจัยสำคัญในการดูแลผู้ที่เป็นเบาหวาน.
วารสารพยาบาลรามาธิบดี (ออนไลน์).เข้าถึงได้จากwww.med.mahidol.ac.th [ 2ธันวาคม 2559]
Benjamin, S Bloom.1968. ‘ Learning for mastery’. Evaluation comment. Center for the study of
instruction program. University of California at Los Angeles. Vol 2:47-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-25