ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมในจิตรกรรมร่วมสมัยลาว ภายใต้บริบทยุคจินตนาการใหม่

ผู้แต่ง

  • บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

จิตรกรรมร่วมสมัยลาว, ภาพสะท้อน, สังคมและวัฒนธรรมลาว, ยุคจินตนาการใหม่, Lao contemporary painting, Refl ection, Lao society and culture, New Economic Mechanism Period

บทคัดย่อ

บทความเรื่องภาพสะท้อนสังคมวัฒนธรรมในจิตรกรรมร่วมสมัยลาวภายใต้บริบท ยุคจินตนาการใหม่เป็นบทความที่มุ่งศึกษาผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยลาวที่สะท้อนภาพ สังคมและวัฒนธรรม ภายใต้บริบทจินตนาการใหม่ จากการศึกษาพบว่า จิตรกรรมร่วมสมัย ลาวเป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งที่ศิลปินได้สะท้อนให้เห็นถึงเรื่องราวในทางประวัติศาสตร์ ทางด้านสังคมและวัฒนธรรมของลาวในช่วงเวลาที่ลาวได้เปลี่ยนแปลงแนวทางการพัฒนา ประเทศสู่ความเป็นสากล ผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยลาวจึงได้ถ่ายทอดเรื่องราวทางสังคม ให้เห็นประเด็นทางสังคม 4 ประเด็นสำคัญ คือ ประเด็นการปลุกจิตสำนึกทางการเมือง ประเด็นการชี้และเตือนให้เห็นปัญหาสังคม ประเด็นการต่อต้านสงคราม และประเด็น การเรียกร้องความเห็นใจแก่ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ด้านวัฒนธรรมจิตรกรรมร่วมสมัยลาว สะท้อนให้เห็นถึง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งได้รับการพัฒนามาจาก มรดกทางวัฒนธรรมและจากการแลกเปลี่ยน การรับเอาอิทธิพลจากกลุ่มประเทศเพื่อน บ้าน และกระแสวัฒนธรรมของโลก จนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมลาว จนเกิด เป็นวัฒนธรรม 4 ประเภท คือ ชีวิตวัฒนธรรมหรือระบบวิถีชีวิต สติวัฒนธรรมหรือระบบ สังคม ปัญญาวัฒนธรรมหรือระบบความคิด และศิลปวัฒนธรรมหรือระบบสุนทรียะ โดยแสดงออกถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี อันเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ ของลาว ซึ่งเกี่ยวพันอยู่กับบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ในแต่ละยุคสมัยของประชาชนลาว

 

The research of the Refl ection on Society and Culture in Lao Contemporary Painting under the Context of New Economic Mechanism Period aimed to study the contemporary paintings in Laos that had a refl ection on the society and culture under the context of the New Economic Mechanism policy. The studies revealed that Lao contemporary painting was used as a cultural tool to manifest the historical stories, both social and cultural, during the time when the country changed it regime to become universal. Thus, Lao contemporary painting imparted 4 signifi cant social subjects, including awaking people’s political consciousness, indicating and warning about social issues, anti-war, and demanding society’s sympathy towards disabled people. Culturally Lao contemporary paintings refl ected the way of life and tradition received from the development of cultural heritage, and its exchange and acceptance from the neighboring countries’ culture, as well as the world cultural trend, until became their own Lao culture that consisted of 4 important cultural types, including cultural life or the way of life, conscious culture or social system, wisdom culture or thinking system, and art and culture or aesthetics system. Lao contemporary painting represented the national way of life and cultural tradition which are related to the contexts of politics, economy, society, culture and the livelihood of each period of time of Lao people.

Downloads