ภูมิปัญญาของเสวียนที่เก็บข้าวเปลือกในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สุคนธรจ นาดี สาขาวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

เสวียน, ศิลปะพื้นบ้าน, นครราชสีมา, Pot-Rest, Folk Art, Nakhon Ratchasima

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาภูมิปัญญาของเสวียนที่เก็บข้าวเปลือกในจังหวีดนครราชสีมาโดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและการลงภาคสนาม โดยการสังเกต สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม จากกลุ่มตัวอย่างในชุมชนบ้านตูม บ้านท่าอ่าง บ้านละลมใหม่พัฒนา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 33 คนแบ่งออกเป็น กลุ่มผู้รู้ 5 คน กลุ่มผู้ปฎิบัติ 8 คนและกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง 20 คน จากการศึกษาพบว่า มีการใช้เสวียนเพื่อเก็บข้าวเปลือกจำนวนลดน้อยลงช่างที่ทำก็มีจำนวนน้อยมากและไม่มีผู้สืบต่อ ชาวบ้านยังใช้เสวียนเพื่อเก็บข้าวเปลือกถึงแม้ว่าบ้านหลังใดไม่ได้ใช้แล้วก็จะเก็บรักษาเอาไว้ไม่มีการทำลาย ภูมิปัญญาสำคัญได้แก่ การใช้วัสดุจากธรรมชาติที่มีอยู่ใกล้ตัวมาใช้โดยการนำไม้ไผ่มาสานขัดกันขึ้นรูปเป็นทรงกลมขนาดใหญ่และนำดินปลวกผสมกับขี้วัวแกลบทาอุดรอยกันข้าวเปลือกรั่วไหลออก และเพื่อป้องกันแมลงต่างๆไม่ให้เข้าไปทำลายข้าวได้ซึ่งเป็นตัวภูมิปัญญาแบบดั้งเดิมของการสร้างเสวียน

 

This qualitative research aimed to study the local wisdom of the pot rest in Nakhonratchasima province. This research was studying the data from the documents and the fi eld work with observation, interview and group conversation from the population in Ban Toum, Ban Ta Ang, Ban Lalommai Pattana community for 33 persons namely 5 knowledgeable people group, 8 operating and the concerned group that was the consumer group or 20 general populations. The study found that are used pot rest to store grain fewer craft men and there was no inherit. Which was an original wisdom found that was a close to home natural material to be used by bringing the bamboo to weave to a form of a large cylinder and applies the ant hill soil mixed with cow waste hull ash to prevent the rice leakage and insects not to destroy the paddies which was an original wisdom of pot rest.

Downloads