เทวาลัยศิวะมหาเทพ ขอนแก่น : ภาชนะใบใหญ่ที่รองรับสิ่งของนานาชนิดไว้ในที่เดียวกัน

ผู้แต่ง

  • กิตติสันต์ ศรีรักษา สาขาวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

เทวาลัยศิวะมหาเทพ, ขอนแก่น, Shrine of Lord Shiva, KhonKaen

บทคัดย่อ

มีหลักฐานทางโบราณคดีที่ยืนยันได้ว่าพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่นเคยมีผู้คนนับถือและศรัทธาศาสนาพราหมณ์มาตั้งแต่อดีต เป็นช่วงเวลาเกือบพันปีล่วงมาแล้ว นับจากช่วงเวลานั้นเป็นต้นมา ศาสนสถานและพิธีกรรมหลายอย่างในศาสนาพราหมณ์ได้เลือนหายไปและคติความเชื่อบางอย่างถูกผนึกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาพุทธ ซึ่งพบเห็นได้ในสัญลักษณ์ของเทพเจ้าต่างๆ ที่คอยปกปักรักษาพุทธศาสนสถานตามส่วนประกอบต่างๆ ของอาคาร แม้ในยุคปัจจุบันศาสนาพุทธจะเป็นศาสนาที่มีผลต่อคติความผู้เชื่อของผู้คนมากที่สุดในจังหวัดขอนแก่น แต่ความเชื่อต่อศาสนาพราหมณ์ยังคงปรากฎให้เห็นบนสถานที่ที่เรียกว่า “เทวาลัยศิวะมหาเทพ” อันเป็นศาสนสถานของพราหมณ์ที่กำลังขยายแรงศรัทธาด้วยการยืดหยุ่น รวมทั้งผ่อนปรนต่อศรัทธาดั้งเดิมของคนในพื้นที่ ในขณะเดียวกันก็ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องผสมผสานกลมกลืนกับรสนิยมทางความเชื่อของผู้คนในแถบนี้ เปรียบได้ดั่งภาชนะใบใหญ่ที่รองรับสิ่งของต่างๆ ไว้รวมกัน จากการลงพื้นที่ศึกษาด้วยการสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในพิธีกรรมต่างๆ รวมทั้งการสัมภาษณ์พูดคุยกับผู้นำในการประกอบพิธีกรรม และศาสนิกชนที่เข้าร่วม พบว่าพิธีกรรมรวมทั้งสิ่งของหลายอย่างที่พบ ณ เทวาลัยศิวะมหาเทพ แห่งนี้มีความน่าสนใจ เนื่องจากปรากฏการณ์เหล่านั้นสะท้อนการผสมผสานกลมกลืนทางวัฒนธรรมนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของคติความเชื่อในเชิงลึก เป็นการเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อของชาวขอนแก่นที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องจวบจนถึงปัจจุบัน

 

There is a historical evidence that in the Khon Kaen area, over a thousand years ago, there had been a time when people believed and had faith in Brahminism. Ever since that time, many Brahminism religious places and ceremony had faded away. Some of their belief had been molded together with Buddhist belief, which can be symbolically seen as the gods protecting buddhist temples in different parts of the buildings. Today, even though Buddhism had gained more infl uence on the belief of the people in Khon Kaen, but the belief in Brahminism can still be seen at a place called “The Shrine of Lord Shiva”: A religious place for the Brahminism that is still spreading its faith with fl exibility to the existing religion of the people in the area. At the same time, the practice in Brahminism had been changed to be assimilated with the faith of the people in the area, like a big container that contains many different things together. From the observation in fi eld study both participating and not participating in ceremonies and the interviews with the host of the ceremonies and participants, it was found that many interesting things can be found in the Shrine of Lord Buddha. This refl ect the cultural merging that led to the changes in the deep structure of the belief, the continuous change in the belief amongst the people in Khon Kaen that has been on going until today.

Downloads