เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (EWEC) : การพัฒนาที่ไม่สม่ำเสมอผ่านทัศนะของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผู้แต่ง

  • วณิชชา จิตธรรมมา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยี ภาคใต้

คำสำคัญ:

การพัฒนาที่ไม่สม่ำเสมอ, เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก, กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, Uneven development, East-West Economic Corridor (EWEC), Stakeholders

บทคัดย่อ

ลักษณะหนึ่งของลัทธิทุนนิยมคือปรากฏการณ์การพัฒนาที่ไม่สม่ำเสมอการพัฒนาที่ไม่สม่ำเสมอนี้คือ การดำรงอยู่ของความแตกต่างในระดับและอัตราของการพัฒนาทางเศรษฐกิจของภาคส่วนต่างๆ อย่างไรก็ตาม หลายๆ ทฤษฎีทางเศรษฐกิจอ้างว่าผลจากการแข่งขันโดยเสรีอาศัยกลไกการตลาดภายใต้ลัทธิของทุนนิยม สามารถจะลบล้างการพัฒนาที่ไม่สม่ำเสมอได้ บทความวิชาการฉบับนี้เชื่อมโยงการศึกษาเชิงประจักษ์กับทฤษฎีการพัฒนาที่ไม่สม่ำเสมอ โดยใช้กรณีศึกษาเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการพัฒนาที่มีต่อกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยผู้ศึกษาใช้กรณีศึกษาของเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (EWEC) ซึ่งเป็นโครงการถนนที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ศึกษาได้รวบรวมทัศนคติที่หลากหลายของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการทบทวนวรรณกรรมและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผู้ศึกษาพบว่าแต่ละกลุ่มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีทัศนะต่อโครงการถนนแห่งนี้ว่ามีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไปในด้านการพัฒนาทางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่าโครงการพัฒนาจะดำเนินการภายใต้ลัทธิทุนนิยม แต่การพัฒนาที่ไม่สม่ำเสมอยังปรากฏท่ามกลางกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคมไทย จากบทความนี้ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะว่าการทำความเข้าใจทัศนะที่หลากหลายของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อโครงการพัฒนาต่างๆ นั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพราะทัศนะที่หลากหลายเหล่านี้จะนำไปสู่ความร่วมมือของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการจัดสรรผลประโยชน์ที่เท่าเทียมกัน และเพื่อลดผลเสียจากการพัฒนาที่ไม่สม่ำเสมอ สุดท้ายนี้เพื่อจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

 

One of the characteristics of capitalist development is the phenomenon of uneven development, defi ned as the persistence of different levels and rates of economic development between various sectors of the economy. However, many existing economic theories predict that free, competitive market forces are able to wash out the observed features of differentiation. This paper seeks to link the gap between empirical study and uneven development theory using the case study of the East-West Economic Corridor (EWEC), the longest road in Mainland Southeast Asia, with the aim of better understanding impacts of mega-project developments on various groups of stakeholders. I discuss how different groups of stakeholders in Thailand perceive the value of the EWEC and its effects on economics, society, and the environments through a review of the current literature. I conclude that despite differing perceptions of the costs and benefi ts of the EWEC and uneven development among stakeholders, the project has progressed under the process of capitalist development. I emphasize that it is crucial to understand debates among different stakeholders because it can provide alternative approaches which lead to cooperation among stakeholders. Ultimately, this can optimize benefi ts and minimize uneven development, and help create sustainable developments which are benefi cial for those involved in the EWEC.

Downloads