จารึกสมัยไท-ลาว : ภูมิทัศน์วัฒนธรรมและความหลากหลายทางวัฒนธรรมในจารึกอีสาน

ผู้แต่ง

  • วัชรวร วงศ์กัณหา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

จารึก, ไท-ลาว, ภูมิทัศน์วัฒนธรรม, ความหลากหลายทางวัฒนธรรม, อีสาน, Inscription, Tai – Lao, Cultural Landscape, Cultural Diversity, Isan

บทคัดย่อ

การศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมและความหลากหลายทางวัฒนธรรมในจารึกอีสาน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพทางวัฒนธรรม มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาใน 2 ประเด็นคือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน องค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิทัศน์วัฒนธรรมของจารึกสมัยไท-ลาวในภาคอีสาน 2) เพื่อศึกษาความหลากหลายทางวัฒนธรรมจากจารึกสมัยไท-ลาวในภาคอีสาน ทำการเก็บข้อมูลจากเอกสารประกอบข้อมูลภาคสนาม ด้วยวิธีสำรวจ สังเกตสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 54 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้ 10 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ 24 คน กลุ่มผู้เกี่ยวข้องทั่วไป 20 คน ในพื้นที่ 20 จังหวัดภาคอีสานของประเทศไทย จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในกรอบของความมุ่งหมายการวิจัย ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า

ข้อมูลพื้นฐานของจารึกสมัยไท-ลาวในภาคอีสาน ประกอบด้วยอักขระที่ใช้ในการจารึก 2 ชนิด คือ อักษรธรรม และอักษรไทยน้อย จากข้อมูลที่ค้นพบในปัจจุบันมีจารึกไทยลาวในภาคอีสานทั้งหมด 112 ชิ้น จำแนกได้เป็น อักษรธรรมทั้งหมด 47 ชิ้น อยู่ในเขตอีสานเหนือ 21 ชิ้น อีสานกลาง 13 ชิ้น อีสานใต้ 13 ชิ้น อักษรไทยน้อย 65 ชิ้น อยู่ในเขตอีสานเหนือ 28 ชิ้น อีสานกลาง 36 ชิ้น อีสานใต้ 1 ชิ้น

ภูมิทัศน์วัฒนธรรมจากจารึกสมัยไท-ลาวในภาคอีสาน พบว่า ภูมิทัศน์ทางภูมิศาสตร์ สามารถจำแนกเป็น 3 กลุ่ม คือ จารึกในเขตอีสานเหนือ จารึกในเขตอีสานกลางและจารึกในเขตอีสานใต้ โดยในกลุ่มนี้พบว่า จารึกสมัยไท-ลาวในเขตอีสานเหนือและอีสานกลางมีความหนาแน่นมากที่สุด สถานที่จัดเก็บจารึก สามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่จัดเก็บในวัดหรือศาสนสถาน กลุ่มที่จัดเก็บในสถานที่ของทางราชการ กลุ่มที่จัดเก็บในพื้นที่สาธารณะของชุมชน และกลุ่มที่จัดเก็บในสถานที่ทางธรรมชาติ โดยในกลุ่มนี้พบว่าจารึกที่จัดเก็บในวัดหรือศาสนสถานมีจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือจารึกที่จัดเก็บในพื้นที่ของทางราชการ และพื้นที่สาธารณะของชุมชนตามลำดับ บริบทการจัดวางจารึก สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มจากจารึกที่จัดวางภายในอาคาร และกลุ่มจารึกที่จัดวางไว้กลางแจ้ง ในกลุ่มนี้พบว่า มีการจัดวางจารึกในที่ร่มหรือภายในอาคารมากกว่าภายนอกอาคาร

ในด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรม พบว่า วัตถุที่ใช้จารึก มีการจารึกบนวัสดุที่หลากหลาย ประกอบด้วย จารึกบนแผ่นศิลา จารึกบนฐานพระพุทธรูป และจารึกบนวัสดุอื่น ทั้งนี้พบว่ามีการจารึกอักษรบนวัสดุประเภทศิลามากที่สุด รองลงมาได้แต่จารึกบนฐานพระ ความหลากหลายด้านอักษรที่ใช้จารึก พบมีการจารึกอักษรไท-ลาวทั้งสองรูปแบบโดยไม่ได้จำกัดรูปแบบตายตัวว่าอักษรชนิดใดจะใช้ในโอกาสอย่างไร ความหลากหลายด้านบุคคลที่จารึก สามารถกำหนดกลุ่มบุคคลที่สร้างจารึกได้ 4 กลุ่ม คือ ชนชั้นปกครอง พระ สงฆ์ สามัญชน และกลุ่มที่ไม่สามารถระบุผู้สร้างได้ โดยกลุ่มชนชั้นปกครอง เป็นกลุ่มที่มีจำนวนการสร้างจารึกมากที่สุด รองลงมาคือพระสงฆ์ ความหลากหลายด้านระยะเวลาที่จารึก สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ จารึกกลุ่มที่อยู่ในช่วงอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างและจารึกกลุ่มที่อยู่ในช่วงที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรสยาม คือหลัง พ.ศ. 2322 ในช่วงอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้าง การกระจายตัวของจารึกจะหนาแน่นอยู่บริเวณอีสานเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้ชิดกับศูนย์กลางของอิทธิพลล้านช้าง ในขณะที่หลังจากอยู่ภายใต้อิทธิพลของสยามการกระจายตัวของจารึกจะหนาแน่นในเขตอีสานใต้และอีสานกลางอันเป็นพื้นที่กำเนิดใหม่ของบ้านเมืองบนดินแดนภาคอีสาน ความหลากหลายด้านเนื้อหาที่จารึก พบว่า เนื้อหาของจารึกมุ่งเน้นไปในทางพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ

โดยสรุปผลการวิจัยครั้งนี้สามารถแสดงภาพภูมิทัศน์วัฒนธรรมและความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่แสดงผ่านจารึกสมัยไท-ลาวในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งสามารถนำองค์ความรู้ที่ค้นพบไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งในเชิงการศึกษา การอนุรักษ์และสืบทอดมรดกวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดจนถึงการนำไปใช้ในกระบวนการต่อยอดทางวัฒนธรรม ทั้งแง่มุมทางประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และและเป็นฐานข้อมูลทางวัฒนธรรมของชาติต่อไปได้

 

The inscriptions are a historical of culture. The study of cultural landscape and cultural diversity of Tai-Lao inscriptions in Isan (North- Eastern Thailand) is a qualitative research, a vast research areas in twenty provinces. These inscriptions can be found in every provinces and record ancient written information. The twenty-fi rst to the twenty-fourth centuries encompass the era of the Tai-Lao letter system, for which there are two distinct types of alphabet are Dharma Alphabet and Tai Noi Alphabet. There were 47 fragments for Dharma and 65 fragments for Tai Noi. They spreading out settled in Isan area form north to south. They were collected in three place; Buddha temple, civil service and community are, written on three materials; stone Buddha’s stand and other thing, built by three person; the king or leader, monk and general people. These were built on the period of Lanxang Kingdom and Siam Kingdom, before and behind 2322 B.E. The content of those were related with Buddhism mainly.

Downloads