ทุนทางสังคม กับ กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม : เครื่องมือในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย เคหะบาล สาขาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ทุนทางสังคม, กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม, ชุมชนท้องถิ่น, social capital, participatory public policy process, local communities

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ เสนอแนวทางในการนำแนวคิดทุนทางสังคมและกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมมาใช้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นผลการศึกษาพบว่า ทั้ง 2 แนวคิด มีเป้าหมายการพัฒนาร่วมกัน คือ “การจัดการตนเอง” หมายถึง มีความสามารถในการกำหนดทิศทางการพัฒนา และแก้ไขปัญหา ชุมชนด้วยตนเอง ได้อย่างยั่งยืน และแนวทางในการบูรณาการ ทั้ง 2 แนวคิด เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น มี 8 แนวทาง ได้แก่ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลทุนทางสังคมของพื้นที่แบบบูรณาการ มีการคัดเลือกประเด็นนโยบายบนฐานทุนทางสังคม มีกระบวนการจัดทำนโยบายที่สอดคล้องกับวิถีชุมชนท้องถิ่น จัดเวทีประชาคมแบบเป็นระบบและมีส่วนร่วม ผลักดันนโยบายสู่การปฏิบัติในหลายช่องทาง การสร้างการมีส่วนร่วมในการนำนโยบายไปปฏิบัติ มีการประเมินผลนโยบายที่เน้นการพัฒนาทุนทางสังคม และมีการสื่อสารสาธารณะโดยใช้สื่อท้องถิ่น

 

The objective of this article is to present the concept of social capital and participatory public policy processes in the development of the local community. The results showed that the two concepts have the goal to develop is “self-management” refers to have the ability to determine the direction of development and problems community self to sustainable. And guidelines for the integration of the two concepts to be tools in the development of local communities have 8 approaches include the development of social capital of the area integrated. Selection social policy issues based on social capital. Prepares policy is consistent with the local community. Organizer and communities are participation. These drives are deployed in a variety of channels.. Creating engaging in policy implementation. Policies Evaluate aimed at developing social capital. And public communication by the local media.

Downloads