ภูมิทัศน์วัฒนธรรมชนเผ่าอิ้วเมี่ยน บ้านห้วยนํ้าเย็น เมืองวังเวียง สปป.ลาว

ผู้แต่ง

  • มนันยา จามน้อยพรหม สาขาวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ภูมิทัศน์วัฒนธรรม, ชนเผ่าอิ้วเมี่ยน, cultural landscape, Iu-Mien tribe

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำเสนอองค์ประกอบและระบุของภูมิทัศน์วัฒนธรรมชนเผ่าอิ้วเมี่ยน บ้านห้วยนํ้าเย็น เมืองวังเวียง สปป.ลาว โดยใช้วิธีการศึกษาจากองค์ประกอบของภูมิทัศน์วัฒนธรรม โดยการศึกษาข้อมูลเพื่อสามารถระบุประเภทของภูมิทัศน์วัฒนธรรมของพื้นที่ศึกษา การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาในสองระดับคือ การเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ จาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการศึกษาในระดับพื้นที่โดยการสำรวจภาคสนามคือ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แนวทางการสัมภาษณ์ แนวทางการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อาวุโสผู้นำหมู่บ้าน ชาวบ้านทั่วไป และเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของภูมิทัศน์วัฒนธรรม ชนเผ่าอิ้วเมี่ยน บ้านห้วยนํ้าเย็น เมืองวังเวียง สปป.ลาว ประกอบด้วย การตั้งถิ่นฐาน รูปทรงของบ้าน ศาสนา การเกษตรกรรม การคมนาคม และภูมิทัศน์วัฒนธรรมชนเผ่าอิ้วเมี่ยน บ้านห้วยนํ้าเย็นจัดอยู่ในประเภท “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมแบบภูมิทัศน์นำวัฒนธรรม” นับตั้งแต่มีการตั้งถิ่นฐานจะมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและยังคงวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ปัจจุบันเมื่อมีการพัฒนา ย่อมมีการปรับเปลี่ยนให้ตอบสนองต่อความต้องการในการดำรงชีวิตมากขึ้น แต่ก็ยังดำเนินชีวิตใกล้กับสิ่งแวดล้อมและคงคุณค่าของเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าอิ้วเมี่ยนไว้อย่างดี

 

The aim of this article is to present the components and the types on the cultural landscape of the Iu-Mien tribe, HuayNaam Yen village, VangVieng , Laos PDR. This study was done by looking at the components of the cultural landscape by studying the information to identify the types of the cultural landscape of the target area. The study was done in 2 levels: the accumulation of information from the documents and the related research and the fi led study by collecting the information through interviews, participatory and non-participatory observations. The information was acquired through the interviews with elders, village leaders, general villagers, and the related government offi cers.

The result from the study shows that cultural landscape of the Iu-Mien tribe, Huay Naam Yen village, VangVieng, Laos PDR consist of the settlement, the architectures of the houses, religion, agriculture, transportation, and the cultural landscape of Iu-Mien tribe can be categorized as a “cultural led landscape”. Ever since the settlement, there always been adaptations to coexist with the natural environment and maintaining the traditional culture. Today, although development always come with the need to change to be more responsive to the needs of the livelihood, the Iu-Mien tribe still maintain their livelihood to be close to the environment and preserving the uniqueness in their culture.

Downloads