อโรคยศาล: ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ ในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สยาม กิ่งเมืองเก่า สาขาวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • หอมหวล บัวระภา สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

อโรคยศาล, ประเพณี, พิธีกรรม, ความเชื่อ, Arogyasala, Tradition, Ceremony, Beliefs

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประเพณี พิธีกรรมความเชื่อ ที่เกี่ยวกับ อโรคยศาล ของชุมชนจังหวัดขอนแก่นในปัจจุบัน วิธีดำเนินการวิจัยโดยศึกษาข้อมูลมาจากเอกสารและข้อมูลจากภาคสนาม ลงพื้นที่สำรวจ สังเกต สัมภาษณ์กลุ่มผู้รู้ในชุมชน ผู้ปฎิบัติและบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แนวคิดพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน และทฤษฎีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ พื้นที่ในการวิจัยคือ 1. กู่ประภาชัย บ้านนาคำน้อย ตำบลบัวใหญ่ อำเภอนํ้าพอง จังหวัดขอนแก่น 2. กู่แก้ว บ้านหัวสระ ตำบลดอนช้าง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น นำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่าอโรคยศาลทั้งสองแห่งนั้นเป็นพุทธศาสนสถานแบบมหายานได้ถูกสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เพื่อเป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีทางพุทธศาสนาและรักษาโรคให้กับคนในชุมชน โดยมีความเชื่อเกี่ยวกับพระไภสัชยคุรุซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าในคติความเชื่อของพุทธศาสนานิกายมหายาน คล้ายกับสถานพยาบาลในปัจจุบัน ภายหลังจากที่มีกลุ่มคนวัฒนธรรมไทย-ลาว เข้าไปตั้งชุมชนหมู่บ้านใหม่ ในพื้นที่บริเวณรอบ “อโรคยศาล” จึงถูกใช้เป็นศาสนสถานของพุทธแบบเถรวาท และเริ่มมีประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อต่างๆ เกิดขึ้น ทุกๆปี สำหรับกู่ประภาชัย ชาวบ้านนาคำน้อยและใกล้เคียง จะจัดงานประเพณีสรงกู่ ในเดือนเมษายนขึ้นในช่วงวันขึ้น 13 คํ่า ถึง 15 ค่ำ เดือน 5 โดยมีพิธีกรรมทำบุญบวงสรวงกู่ประกอบความเชื่อในผีและบรรพบุรุษซึ่งสำหรับกู่แก้ว บ้านหัวสระ ชุมชนบ้านดอนช้าง งานประเพณีบุญกู่ฮ่มข่อย ซึ่งจัดในวันที่ 6 เมษายน ของทุกปี แต่เป็นพิธีกรรม รำบวงสรวงผี ซึ่งจัดทำโดยกลุ่มองค์กรภาครัฐส่วนจังหวัดซึ่งถึงแม้ชาวบ้านจะมีความเชื่อในศาสนาพุทธเถรวาทปัจจุบันแต่ก็คงยังมีการนับถือผีแบบในอดีตโบราณควบคู่ไปด้วย

 

This qualitative thesis was study of Tradition, Ceremony and Beliefs in Arogyasala, Khonkaen Province in Present. The conduct the research was to study the documents and information from the fi eld. The survey noted and interviews with community groups, the practice and related by using the Bodhisattva in Mahayana Buddhism Cultural diffusion theory for descriptive analysis.The research areas were 1.Prapachai“KU” Ban Nakumnoi BuaYai district Nam Phong Khonkaen Province 2 Kaew“KU” Ban Huasra Don Chang district Muang Khonkaen Province

The results of the study found that both Arogyasala was Mahayana Buddhist monastery. Both was built in the17century by Jayavarman VII to be a place for religious ceremonies and healing people in the community which believing in Bhaisajayaguru Bodhisatva similar to the current hospital. But the Arogyasala in the past is currently hospitalized.. Arogyasala was constructed for Buddha image allowing people to worship. A psychological anchor After a group of Thai – Laos setting new village community in the surrounding area, Arogyasalas are used as a Theravada Buddhist places for worship.Thus began the ritual Beliefs arise Every year peopleare organizing tradition “songKu” during April this tradition is importance of community Ban Nakumnoi and neighborhood tradition“songKu” Will be held during the evening of 13 to15 months 2 and community Ban Don Chang kaew “KU” It’s a tradition “Bun Ku Homkoi” set on the 6th of April every year Formed by the provincial government organizations . Even if people are counting Buddhism today. But it also has veneration spirit in conjunction with the ancient past.

Downloads