ระบบจักรวาลทัศน์ดั้งเดิมกับการประกอบสร้างพื้นที่เชิงนิเวศ แบบคู่ตรงข้ามในวรรณกรรมอีสานแนวมหัศจรรย์ ตามความหมายของ เมืองฟ้า - เมืองลุ่ม

ผู้แต่ง

  • อธิปัตย์ วงษ์ยิ้ม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

พื้นที่เชิงนิเวศ, วรรณกรรมอีสาน, การประกอบสร้าง, คู่ตรงข้าม, ระบบจักรวาลทัศน์ดั้งเดิม, Eco-space, the Northeastern Thai Literary, Construction, A pair of opposites, Traditional Static Universe Landscape

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เรื่อง “พื้นที่เชิงนิเวศในวรรณกรรมอีสาน : การประกอบสร้างและการสื่อความหมาย”(Eco-space in the Northeastern Thai Literary : The Construction and Signifi cation) มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการประกอบสร้างพื้นที่เชิงนิเวศในวรรณกรรมอีสานแนวมหัศจรรย์ว่ามีกระบวนการประกอบสร้างขึ้นมาอย่างไร

ผลการศึกษาพบว่า แนวความคิดจักรวาลทัศน์แบบดั้งเดิมในวรรณกรรมอีสานแนวมหัศจรรย์ปรากฏในสองเรื่อง คือ พญาคันคาก และ ผาแดง-นางไอ่ในวรรณกรรม เรื่อง “พญาคันคาก” นั้นจะมีการอธิบายเกี่ยวกับ เมืองฟ้า-เมืองลุ่ม แบบคู่ตรงข้ามเชิงระดับชั้นสูง-ตํ่าโดยกำหนดให้เมืองฟ้าอยู่เหนือเมืองลุ่มและมีลักษณะทางกายภาพของพื้นที่เชิงนิเวศที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน พื้นที่เชิงนิเวศในเมืองฟ้าหรือเมืองแถนนั้นจะถูกประกอบสร้างด้วยองค์ประกอบของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากระบบจินตนาการแตกต่างจากพื้นที่อย่างเมืองลุ่มที่ถูกประกอบสร้างด้วยองค์ประกอบธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่จริงบนโลก ส่วนในวรรณกรรม เรื่อง ผาแดง-นางไอ่ จะอธิบายเป็นต้นเค้าของเรื่องว่าในพื้นที่เชิงนิเวศของเมืองลุ่มเกิดหนองแสขึ้นมาได้อย่างไรโดยถูกเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับเมืองฟ้าเอาไว้ตามความเชื่อในระบบจักรวาลทัศน์แบบดั้งเดิม ทำให้เห็นว่าระบบจักรวาลทัศน์แบบดั้งเดิมนั้นไม่มีระดับชั้นที่ซับซ้อนเหมือนจักรวาลทัศน์แบบพุทธ

 

This article is a part of Eco-space in the Northeastern Thai Literary : the construction and Signifi cation Research. The purpose was to study how to Eco-space construction in the Northeastern Thai Fantastic Literary that “How to make the Construction Process?”

The result was as follow : the concept of Traditional Static Universe Landscape in the Northeastern Thai Fantastic Literary in two story were “Phayakankak” and “Phadang-Nang-aie”. Phayakankak explained about Muangfa– Muanglum that a pair of opposites high-low level ; the provision is Muangfa is over Muanglum and the physical of eco-space is different. Muangfa or Muangthan’s eco-space was construct by confi guration of nature and environment from imaging which different from Muanglum that construct by real nature and environment from. Phadang-Nang-aie literature explained about Muanglum area was begetting Nong-sang and correlation with Muangfa. That showed the Traditional Static Universe Landscape is not complicate as a Buddhist Universe Landscape.

Downloads