พระธาตุล้านช้าง : สังเคราะห์ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปกรรมของท้องถิ่นอีสาน

ผู้แต่ง

  • วัชรวร วงศ์กัณหา สาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

พระธาตุล้านช้าง, ความหลากหลายทางวัฒนธรรม, ประวัติศาสตร์, โบราณคดี, ศิลปกรรม, อีสาน, Stupa, Lan-Xang, synthesis of cultural diversity, local history, archeology, art, Northeast Thailand

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง พระธาตุล้านช้าง : สังเคราะห์ความหลากหลายทางวัฒนธรรมด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปกรรมของท้องถิ่นอีสาน ผู้วิจัยกำหนดความมุ่งหมายของการวิจัยทั้งหมด 2 ข้อ คือ 1) เพื่อสังเคราะห์ความหลากหลายทางวัฒนธรรมด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของพระธาตุล้านช้างในอีสาน 2) เพื่อสังเคราะห์ความหลากหลายทางวัฒนธรรมด้านศิลปกรรมของพระธาตุล้านช้างในอีสาน ทำการเก็บข้อมูลจากเอกสารประกอบข้อมูลภาคสนาม ด้วยวิธีสำรวจ สังเกต สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม เลือกกลุ่มเป้าหมายโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 80 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้ 13 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ 39 คน กลุ่มผู้เกี่ยวข้องทั่วไป 28 คน ในพื้นที่ 20 จังหวัดภาคอีสานของประเทศไทย จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในกรอบของความมุ่งหมายการวิจัย ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้าวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า

ความหลากหลายทางวัฒนธรรมด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของพระธาตุล้านช้างในอีสาน พบว่า พระธาตุ มีความหมายอย่างเดียวกันกับคำว่าเจดีย์ หมายถึง สิ่งก่อสร้างหรือสิ่งของที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่เคารพบูชาระลึกถึง ถือกันว่ามีบุคคลที่ควรบรรจุอัฐิธาตุไว้ในสถูปหรือพระธาตุเพื่อเป็นที่สักการะของมหาชนอยู่เพียง 4 พวก ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก และพระเจ้าจักรพรรดิ เจดีย์ที่สร้างขึ้นมาในพระพุทธศาสนา สามารถแบ่งได้ 4 ประเภท คือ ธาตุเจดีย์ ธรรมเจดีย์ บริโภคเจดีย์ อุเทสิกเจดีย์ พระธาตุในภาคอีสานส่วนใหญ่ความเป็นมาไม่ชัดเจนว่าเป็นพระธาตุเจดีย์ประเภทใด เพราะมีเพียงตำนาน หรือเรื่องราวปรัมปรารองรับเท่านั้น ไม่อาจจำแนกวัตถุประสงค์ในการสร้าง หรือสิ่งที่บรรจุอยู่ภายในองค์พระธาตุได้ การจำแนกพระธาตุในภาคอีสานให้สอดคล้องกับบริบทด้านประวัติศาสตร์เชิงตำนาน สามารถจำแนกเป็น 4 หมวด ได้แก่ พระธาตุที่เกี่ยวข้องกับตำนานอุรังคนิทาน พระธาตุที่เกี่ยวข้องกับตำนานท้องถิ่น พระธาตุที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่ทำการก่อสร้าง พระธาตุที่ไม่ปรากฏตำนานแต่เกี่ยวข้องกับข้อสันนิษฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี

ความหลากหลายทางวัฒนธรรมด้านศิลปกรรมของพระธาตุล้านช้างในอีสานพบว่า แม้ว่าจะได้รับอิทธิพลจากค่านิยมของอาณาจักรใกล้เคียง แต่ก็สามารถมาพัฒนาให้เป็นรูปแบบเฉพาะตัวมีลักษณะโดดเด่นด้านศิลปกรรม และสถาปัตยกรรม สามารถจัดกลุ่มออกเป็น 5 แบบ คือ แบบสี่เหลี่ยมทรงสูง แบบสี่เหลี่ยมทรงเตี้ย แบบย่อมุม แบบแปดเหลี่ยม และแบบเบ็ดเตล็ดที่ได้รับอิทธิพลภายนอกในสมัยหลัง

 

Study of Lan-Xang Stupas: Synthesis of cultural diversity to local history, archeology and art in Northeast Thailand. A researcher determined the aim of the research 2 questions, 1) to synthesize diverse of cultural, historical and archaeological Lan-Xang Stupas in the Northeast, 1) to synthesize diverse cultural of art Lan-Xang Stupas in the Northeast.

“Phra That” or “Stupa” means a building or object of worship was built to commemorate. In the history and archeology Stupa in the northeast, the majority of the history is not clear what kind of a pagoda, because there is only a myth or story only but cannot discern the purpose of creation. In the arts of pagoda in the Northeast. Although it has been infl uenced by the values of the neighboring kingdom, but it can be used to develop a model that distinguished the arts and architecture.

Downloads