กระบวนการเรียนรู้จากภูมิปัญญาอาหารสมุนไพรพื้นบ้าน ตำบลยอดแกง อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • สายหยุด ภูปุย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

กระบวนการเรียนรู้, ภูมิปัญญาอาหารสมุนไพรพื้นบ้าน, Learning Process, Local Herbal Food Wisdom

บทคัดย่อ

การวิจัยกระบวนการเรียนรู้จากภูมิปัญญาอาหารสมุนไพรพื้นบ้าน ตำบลยอดแกง อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาอาหารสมุนไพรพื้นบ้านและศึกษากระบวนการเรียนรู้ภูมิปัญญาอาหารสมุนไพรพื้นบ้าน ใช้การวิจัยเชิงสำรวจโดยวางขอบเขตกระบวนการวิจัยไว้ 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ระยะที่ 2 ศึกษากระบวนการเรียนรู้ภูมิปัญญาอาหารสมุนไพรพื้นบ้าน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการประกอบอาหารด้วยพืชสมุนไพรพื้นบ้านหมู่ 1 และ หมู่ 2 บ้านยอดแกง ตำบลยอดแกง อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 50 คน เลือกแบบเจาะจง

ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนตำบลยอดแกงมีป่าสาธารณะที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “โคกดงโตงโต้น” มีอาหารป่าเกิดขึ้นมากมายชาวบ้านไปเก็บมาประกอบอาหารได้ตามฤดูกาล เช่น เห็ด ไข่มดแดง กิ้งก่า แย้ หนู แมลงต่างๆ สิ่งที่ชาวบ้านนิยมเก็บมาเป็นส่วนประกอบอาหารในครัวเรือนมากที่สุด ได้แก่ พืชที่เกิดขึ้นในป่าแห่งนี้ เช่น ใบส้มเสี้ยว ใบไส้ตัน หมากผ้าอ้อม กะทกรก หมากขิก อีลอก อีงอม เป็นต้น โดยจะเก็บพืชผักมาประกอบอาหารตามฤดูกาลเพราะผักแต่ละชนิดจะมีรสชาติที่แตกต่างกันในแต่ละฤดูกาลและชุมชนตำบลยอดแกงมีกระบวนการเรียนรู้ภูมิปัญญาโดยการถ่ายทอดเป็นไปตามธรรมชาติ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติที่เป็นกิจวัตรประจำวัน เช่น การเก็บพืชมาประกอบอาหารคนรุ่นลูกรุ่นหลานก็ต้องเรียนรู้จากผู้สูงอายุหรือจากผู้เป็นพ่อเป็นแม่โดยแนะนำบุตรหลานให้รู้จักลักษณะของพืชแต่ละชนิด สถานที่เกิดของพืชแต่ละชนิดและการเก็บส่วนต่างๆ ของพืชมาประกอบอาหาร ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ถูกหล่อหลอมด้วยวัฒนธรรมของการถ่ายทอด3 ประเด็นดังนี้ 1) อาหารสมุนไพรพื้นบ้านเป็น “องค์ความรู้ของท้องถิ่น” ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาในการสืบทอดผ่านรุ่นสู่รุ่น และเป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าของชุมชนมีลักษณะเฉพาะถิ่นเฉพาะกลุ่ม 2) เป็น “วัฒนธรรมทางความเชื่อ” อาหารแต่ละชนิดของชุมชนมีความเชื่อที่แฝงอยู่ ดังนั้นอาหารที่ปรุงไม่เฉพาะเป็นของกินเพื่อการดำรงอยู่ของชีวิตเท่านั้น แต่ยังมีความเชื่อในการกินเพื่อสุขภาพและป้องกันโรค 3) “บ่งบอกถึงตัวตนของชุมชน” การแสดงถึงตัวตนของชุมชนนั้นๆ ถึงวัฒนธรรมในการกิน เช่น คนในชุมชนนี้ชอบกินผักชนิดหนึ่ง ในขณะที่บางชุมชนไม่ชอบกินผักชนิดนั้น

 

The Learning Process from Local Herbal Food Wisdom Yodgang Sub-District Namon District Kalasin Province was aimed to Study the wisdom of local herbal food and study Learning Process from Local Herbal Food Wisdom. This was survey research Which include 2 steps : First study the basic information. Then study the learning process from local herbal food wisdom. The population were 50 target were so housewives group who experted in local herbal food cooking in Moo 1 and Moo 2 Yodgang village. by purposive Sampling.

The result of result showed that Yodgang Community has the public forest biodiversity which villager call “Kok Tong Ton”. There are many kind of forest food for villager such as Kai-mod-dang, lizards, wood lizards rats and insects. The famous plants of villager to cooking are natural forest plants such as Baisomsew, Baisaiton, Makpaoom ,Katokrok (stinking passion fl ower), Makkid and Eilokeingom. The villager will use them for seasonal status because they have different taste in each season. And Yodgang community has learning process from local herbal food wisdom of showed the process of participation learning by transfer the wisdom happen by natural in daily life such as using plant for cook. The new generation learned from old generation or parents. They adviced about kinds of plant to cook which cultivated by Yodgang Community cultural in 3 issues, 1) local herbal food is “local knowledge” which transfer this wisdom by generation identity community and it has value which local uniqueness 2) It’s “cultural belief” there are some belive in food. Cooking is not only for being life but it mean believe in heath and disease prevention also 3) It’s “community identify” show their eating culture such as what kind of plant in some community like but the other don’t like

Downloads