พุทธศาสนากับเศรษฐกิจ : กรณีศึกษาแนวคิดของพระครูบุญชยากร วัดไชยศรี ตำบลสาวะถี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พระมหาพงศ์ทราทิตย์ ก้องเสียง สาขาปรัชญาและศาสนาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • หอมหวล บัวระภา สาขาปรัชญาและศาสนาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

พุทธศาสนาเพื่อสังคม, พุทธศาสนา, เศรษฐกิจ, พระครูบุญชยากร, Engaged Buddhism, Buddhism, Economy, Phrakhubunchayakorn

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพุทธศาสนากับระบบเศรษฐกิจตามทัศนะของพระครูบุญชยากร วัดไชยศรี ตำบลสาวะถี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

พุทธศาสนากับระบบเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันในเชิงที่ระบบศีลธรรมเข้าไปสนับสนุนความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจ เพราะธุรกิจเป็นกิจกรรมหนึ่งของสังคม ภาพลักษณ์ที่ดีของธุรกิจเกิดขึ้นจากการมีศีลธรรมของผู้บริหารและการรับผิดชอบต่อสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจ ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุน ดังนั้น หลักธรรมทางพุทธศาสนาจึงเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะพุทธศาสนามีหลักธรรมที่เป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติตนเพื่อการดำเนินชีวิตในกิจกรรมทางสังคมทุกๆ ด้าน พระครูบุญชยากรมีรูปแบบการพัฒนาชุมชนโดยอาศัยต้นทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นเครื่องมือ ท่านได้นำเอาหลักธรรมทางพุทธศาสนาสอดแทรกเข้าไปในกิจกรรมตามประเพณีของชุมชนสาวะถี เพื่อปลูกฝังศีลธรรมแก่คนในชุมชนทำให้หลักธรรมทางพุทธศาสนาได้เข้าไปแทรกซึมในวิถีของชุมชน ส่งผลให้ชุมชนเกิดการพัฒนาในหลายๆ ด้าน รวมทั้งด้านเศรษฐกิจด้วย

 

This article is aimed To study the relationship of Buddhism to the economy as Viewed by Phrakhubunchayakorn Wat Chisri Savatthicommunity Muang Khon Kaen district Khon Kaen province.

Buddhism and the economy are primarily associated with the system in the moral support the success of the business. Because business is activities of the Society. A positive image of business arising out of a moral and social responsibility of executives who have been affected by their operations. As a result, consumers’ confi dence and to support so that principle of Buddhism is to be involved in economic development. Because Buddhism has principles to guide their practice to the lifestyle of every social event. Phrakhubunchayakorn He has a form of community development through local cultural capital as a tool. He has embraced the principles of Buddhism inserted into the tradition activities of Savatthicommunity to instill moral people in the community. Buddhism has made major infi ltration into community life. Contribute to community development in many areas, including the economy.

Downloads