การปฏิบัติงานตามบทบาทของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • พระนพรัตน์ ยลละออ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

บทบาทหน้าที่ของเจ้าอาวาส, คณะสงฆ์, The Performance of the role, Sangha region

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนา และระดับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ พระภิกษุ กรรมการวัด และผู้ใหญ่บ้านในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้จากการคำนวณหากลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ยามาเน่ (Yamane. 1973 : 727) ได้จำนวน 401 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ .83 และแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อเสนอแนะของเจ้าอาวาส พระภิกษุ กรรมการวัดและผู้ใหญ่บ้าน เป็นคำถามแบบปลายเปิด สถิติวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. การปฏิบัติงานตามบทบาทของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวม อยู่ในระดับปานกลางและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง 6 ด้าน โดย เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านการสาธารณสงเคราะห์ ด้านการสาธารณูปการ ด้านการศาสนศึกษา ด้านการเผยแผ่ด้านการปกครอง และด้านการศึกษาสงเคราะห์

2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของเจ้าอาวาสเพื่อการนำไปใช้และเป็นแนวทางการพัฒนาดังนี้ ควรส่งเสริมให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการปกครอง เจ้าอาวาสควรลงโทษพระภิกษุสามเณรที่ไม่ปฏิบัติตามกฎของวัด ควรจัดมีการประชุมพระภิกษุสามเณรอยู่เสมอ และเจ้าอาวาสควรปกครองพระภิกษุสามเณรแบบกระจายอำนาจ พระสงฆ์ควรพัฒนาตนให้มีความรอบรู้ทั้งทางโลก และทางธรรม ให้รู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมเพื่อ ให้สามารถเผยแผ่ศาสนธรรมแก่ศาสนิกชนได้ ควรตั้งทีมเผยแผ่ธรรมะหลายๆ ทีมควรจัดการศาสนศึกษาให้ดี แล้วจะทำให้พระภิกษุสามเณรมีความสามารถในการเผยแผ่ธรรมะ วัดควรปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเข้าใจศาสนธรรมและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้และพระสงฆ์ควรมีส่วนร่วมในการเป็นวิทยากรอบรมธรรมะในสถานศึกษาภิกษุ สามเณรควรศึกษาหลักธรรมทั้งปริยัติและปฏิบัติให้ถ่องแท้ ควรปรับปรุงระบบการศึกษาของคณะสงฆ์ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน

 

This study aimed to determine The development and implementation of The role of the Abbot in the Archdiocese the Sangha in Mueang District, Kalasin Province.

Sample In this study, is the monks, temple committee, and the headman in Muang Kalasin District, Kalasin Province. Derived from the Yamane (Yamane. 1973: 727) has 401 samples.

The research found that : 1.) Abbot must operational six aspects of public housing, the public utility, the Religious Studies, the propagation, the dominance, and the welfare, with a moderate level of performance. 2.) Guidelines are developed such as : 1. Encourage participation in governance. 2. Abbot should punish monks who do not follow the rules of the temple. 3. Meeting more often for monks, novices. 4. Abbot must rule by decentralization with monks. 5. Sangha should have developed their knowledge, both of secular and religious teaching to be able to deliver the votary. 6.Should set the Dharma Propagation of many teams. 7. Should be managed religious education so well, so the monks were able to propagate the Dharma. 8. Should cultivate that people have to understand Buddha teaching in everyday life. 9. Monks should Dhamma Training to the academy. 10. Monks and novices should study the Dharma and practice Pariyat thorough. 11. Should improve the education system of the clergy to suit the current situation.

Downloads