บทละครพูด “หัวใจนักรบ” ในบริบทสร้างสำนึกความเป็นชาติ

ผู้แต่ง

  • แก้วตา จันทรานุสรณ์ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ, King Rama VI

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดวัตถุประสงค์เพื่อตอบคำถามว่าในหัวใจนักรบมีอะไรที่จับใจคนยุคสร้างสำนึกความเป็นชาติจนได้รับการยกย่องให้เป็นยอดของบทละครพูด โดยมีพื้นฐานความคิดว่าประสบการณ์แห่งยุคสมัยเป็นปัจจัยสำคัญในการเข้าถึงตัวบท จึงอาศัยแนววิเคราะห์ตัวบท (textual analysis) ร่วมกับการพิจารณาความสัมพันธ์ของตัวบทกับบริบท (context) ผลการศึกษาพบว่า ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นยุคแห่งการเผชิญหน้ากับอำนาจของประเทศเจ้าอาณานิคมและสงคราม พระองค์จึงทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดเรื่องหัวใจนักรบขึ้นด้วยความมุ่งหมายปลุกจิตสำนึกความรักชาติบ้านเมือง ดังนั้นแนวคิดสำคัญที่บรรจุในหัวใจนักรบคือ การพิสูจน์ศักดิ์ศรีความเป็นลูกผู้ชายด้วยการรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความเสียสละ กล้าหาญและความรักชาติบ้านเมืองที่สำคัญหัวใจของนักรบที่แท้จริงมิได้จำกัดอยู่ในเพศใด วัยใด แต่หมายถึงทุกคนที่มีหัวใจเสือหากผู้ใดมีความกล้าหาญที่จะเสียสละเพื่อรักษาชาติบ้านเมืองไว้ผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีหัวใจนักรบ

 

This article is intended to determine the impression of Plays in prose by King Rama VI : The Warrior’s Heart, which has been praised as a great of Plays in prose. The concept is experience of the ages are an important factor in reaching the chapter, so used textual analysis with the relationship with the chapter and the context.

The study found that in the reign of King Rama VI era of confrontation with the country’s colonial and war. The King Rama VI is writing the plays of pose The Warrior’s Heart with an aim raise awareness for patriotism country. The key idea is to proving a man with dignity, responsibility, sacrifi ce, courage and patriotism. The real focus of the story is not limited in any gender or any age, but refers to anyone with a stronger heart. If one has the courage to sacrifi ce to save the country, who will have the warrior heart.

Downloads