ศิลปกรรมรูปงูในยุคก่อนประวัติศาสตร์ลาว

ผู้แต่ง

  • กิตติสันต์ ศรีรักษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ศิลปกรรมรูปงู, ยุคก่อนประวัติศาสตร์ลาว, Naga, Prehistoric

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้เกิดจากความสนใจลักษณะของศิลปกรรมรูปงูของประเทศลาวที่เกิดขึ้นในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งภาพงูที่ปรากฏในรูปแบบงานศิลปกรรมนี้นักวิชาการหลายท่านกล่าวว่าเป็นจุดเริ่มต้นของศิลปกรรมรูปนาค หรือ “พญานาค” ในปัจจุบันผู้เขียนจึงทำการศึกษาและค้นคว้าทั้งในเชิงเอกสารและการลงพื้นที่หาหลักฐานเพื่อประกอบการอธิบายสิ่งที่ผู้เขียนสนใจใคร่รู้ดังกล่าว จากการศึกษาค้นคว้าทางเอกสารพบว่านักวิชาการลาวแบ่งช่วงเวลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ออกเป็น 2 ช่วง คือ ยุคโบราณคดีและยุคพัฒนาการชุมชนโบราณ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในประเทศลาวในช่วงเวลาทั้ง 2 ยุคนี้มีวิถีการดำรงชีวิตเฉกเช่นเดียวกับมนุษย์กลุ่มอื่นๆ โดยทั่วไปในภูมิภาคแถบนี้ อีกทั้งยังมีข้อมูลหลายอย่างที่สะท้อนสายสัมพันธ์จากมนุษย์กลุ่มอื่นๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่ด้วยนอกจากนั้น ในการศึกษาค้นคว้าภาคสนามยังพบหลักฐานทางโบราณวัตถุหลายอย่างในพิพิธภัณฑ์ ศาสนสถาน เพิงผา รวมทั้งในพื้นที่ชุมชนแบบดั้งเดิมหรือที่เรียกว่าชนเผ่าที่สามารถใช้เป็นหลักฐานยืนยันและสนับสนุนแนวคิด หรือสมมุติฐานเกี่ยวกับการใช้สัญลักษณ์รูปสัตว์ประเภทงูของคนลาวในยุคโบราณคดีว่ามีอยู่จริง และด้วยพื้นฐานความเชื่อที่มาจากสัตว์ประเภทงูนี้ เมื่อผนวกรวมเข้ากับความเชื่อทางศาสนาจากแถบชมพูทวีปที่แพร่กระจายเข้ามาในยุคต่อๆ มาจึงเกิดการต่อยอดและพัฒนาทั้งคติความเชื่อ และรูปแบบของศิลปกรรมรูปงูจนกลายศิลปกรรมรูปนาคที่พบเห็นในปัจจุบัน

 

This article arises from the nature of the art form interesting constellation of Laos, formed in prehistoric times. The snake images that appear in this art form, many scholars say is the beginning of a Naga art or “serpent” in the present. The author has studied and researched in both the document and the area for evidence to support what the authors describe as curious. The study found that the papers. Wanna share of the gala at the prehistoric era into two periods: ancient archaeological sites and the development community. Humans living in Laos during the second period of this way of living like a human being, among others. Generally in the region It also contains many echoes of human relationships, among others. On the mainland, in addition, the study also found evidence of the Field Museum of Antiquities in several places of worship and shelter in areas traditionally known as a tribe. Can be used as evidence and support concept. Or assumptions about the animal snake symbol of Laos in archeology exists. And with the fundamental belief that the animal is a snake. When integrated with the religious beliefs of the Indian subcontinent, which spread into the next era. So the further development and beliefs. And forms of art into a serpent Naga art style seen today.

Downloads